ไลฟ์สไตล์

'สภาพัฒน์' ดันไทยศูนย์กลางสุขภาพ เพิ่มมูลค่าการแพทย์ สุขภาพ เพิ่ม GDP 1.7%

'สภาพัฒน์' ดันไทยศูนย์กลางสุขภาพ เพิ่มมูลค่าการแพทย์ สุขภาพ เพิ่ม GDP 1.7%

11 เม.ย. 2566

'สภาพัฒน์' พลิกวงการสุขภาพ ปักหมุดหมายดันไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ สุขภาพ ตั้งเป้าเพิ่ม GDP 1.7% งัดกลยุทธ์เสริมแกร่งให้ธุรกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (สศช.)  หรือ "สภาพัฒน์" โดยแผนพัฒนาฉบับดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อ เพื่อเปลี่ยนโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน ผ่านเป้าหมายหลักทั้งหมด 13 หมุดหมาย

 

 

เพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนโครงสร้าง และการผลิตนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะกลาวพัฒนาและพลิกโฉมประเทศไทยให้มีศักยภาพในด้านการแพทย์ และเป็นหมุดหมายของต่างชาติ ภายในแนวทางการดำเนินการตาม

โดย "สภาพัฒน์" ได้กำหนดแนวทางและรายละเอียดของ หมุดหมายที่ 4 คือแนวทางการพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง โดยสภาพัฒน์มีเป้าหมายการขับเคลื่อนระบบทางการแพทย์ สุขภาพ และเร่งเติมเต็มธุรกิจความในประเทศไทยให้หลาบเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ผ่านการสร้างมูลค่าจากสินค้าและบริการด้านสุขภาพ

 

 

โดยมีการตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม GDP เป็น 1.7% สร้างองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุข สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และพัฒนาบริหารภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพให้มีความพร้อม

นอกจากนี้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 13 ยังได้มีการนำเสนอกลยุทธ์สำคัญที่จะพาไปก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ  โดยการเพิ่มศักยภาพของการบริการทางการแพทย์ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ  สร้างความสามารถในการเป็นศูนย์กลางของบริการส่งเสริมสุขภาพระดับโลก  สร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ

 

 

รวมไปถึงกลยุทธ์การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพที่สมดุล ทั้งทางเศรษฐกิจและสุขภาพของคนไทย พร้อมกับยกระดับศักยภาพระบบบริการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

 

 

ด้านข้อมูลงานวิจัยตลอดความงามในประเทศไทย เผยแพร่ข้อมูล มูลค่าของตลาดความไทยโดยระบุว่า ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมความงามในประเทศไทยเติบโตขึ้น 5% มูลค่าสูงกว่า 1.4 แสนล้านบาท โดยพบว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์ผม สบู่และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย ผลิตภัณฑ์สำหรับช่องปากและฟัน และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตกแต่ง

 

 

ทั้งนี้ข้อยังระบุด้วยว่า แบรนด์ของแพทย์ผิวหนังมีความต้องการอย่างมากในกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม เนื่องจากแบรนด์เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการผลิต เป็นกลุ่มสินค้าคุณภาพดีในราคาที่จับต้องได้

 

 

อย่างไรก็ตามีการคาดการร์ว่า อนาคตประเทศไทยมีศักยภาพมากพอในการ เป็นศูนย์กลางด้านความงามของอาเซียน เพราะตลาดมีการเติบโต การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประเภทครื่องสำอางมากที่สุดในกลุ่มอาเซียนอย่างไรก็ตาม 2570 คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1.6 แสนล้านบาท

 

 

ที่มา: nscr.nesdc.go.th ,www.tnpoem.com