ไลฟ์สไตล์

เปิดขั้นตอน 'ขึ้นทะเบียน อย.' ง่ายๆ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง

เปิดขั้นตอน 'ขึ้นทะเบียน อย.' ง่ายๆ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง

15 เม.ย. 2566

เปิดขั้นตอน 'ขึ้นทะเบียน อย.' แบบง่ายๆ สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ด้าน อย.ลดขั้นตอนให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

 

การขอ "ขึ้นทะเบียนอย." เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อปกป้อง และคุ้มครองผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะต้องมีความปลอดภัย และได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ ซึ่งตามกฎหมาย พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ได้มีกำหนดคำว่า เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมความงามไว้ว่า

 

 

 

ครื่องสำอาง หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับการใช้ทา นวด โรย พ่น หยอดใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่น กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์  และให้รวมถึงการใช้กับฟัน เยื่อบุ ในช่องทาง โดยมีวัตถุงประสงค์เพื่อทำความสะอาด ความสวยงาม หรือ เปลี่ยนแผลงลักษณะที่ปรากฎ หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นต่าง ๆ สำหรับผิว แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแแต่งตัว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมผลิต เครื่องสำอาง โดยเฉพาะ  หรือวัตถุผประสงค์อื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็น เครื่องสำอาง

 

มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิต เครื่องสำอาง ต้องจดแจ้งรายละเอียดของ เครื่องสำอาง ต่อผู้รับจ้าง (อย.) และเมื่อผู้รับแจ้งออกใบรับแจ้งให้แล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้า เครื่องสำอาง นั้นได้

 

สำหรับเจ้าของเครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้องการ "ขึ้นทะเบียน อย." จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการขึ้นทะเบียน ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ (2 ชุด)
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ (2 ชุด)
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล(เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคลล) (2 ชุด)
  • สำเนา ภพ.20(เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล)
  • สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือบริษัท(กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ)
  • แผนที่ตั้งของร้าน หรือบริษัท
  • แผนผังภายในร้าน หรือบริษัท ระบุสถานที่ผลิต, บรรจุ, เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
  • สินค้าตัวอย่าง พร้อม ฉลากทุกด้านของผลิตภัณฑ์ เพื่อยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเครื่องสำอางค์ 2 ชุด
  • เอกสารสนับสนุนข้อความที่เป็นความเชื่อหรือสรรพคุณ เช่น ผลวิเคราะห์ SPF ,ปริญญาบัตร / ใบอนุญาตสถานพยาบาล

 

 

ดังนั้น จึงสามารถสรุป 4 ขั้นตอนการขอ "ขึ้นทะเบียน อย." . โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการ ดังนี้

  • จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ( GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE )
  • จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
  • ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่
  •  
  • สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่

 

 

อย่างไรก็ตามเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและลดขั้นตอนในการขอ "ขึ้นทะเบียน อย." ทางอย.ได้มีการออกแนวทางภายใต้ 3 S Strategies ได้แก่

 

  • Speed ลดขั้นตอนการให้บริการ นำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับกระบวนงานอนุมัติ/อนุญาต
  • Safety สร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ  สร้างระบบการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • บังคับใช้กฎหมาย
  • Satisfaction ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง บริการแบบมือาชีพ โปร่งใส ตรวจสอบได้