"อันตรายจากสารเคมี" ก่อ มะเร็ง เช็ควิธี ป้องกัน หลัง สารเคมีรั่วนครปฐม
เช็คความรุนแรง "อันตรายจากสารเคมี" วิธีป้องกัน และ ปฐมพยาบาล หลัง "สารเคมีรั่วนครปฐม" หนักสุด ทำ ทารก พิการ ได้
จากกรณีเกิดเหตุ สารเคมีรั่วนครปฐม ภายในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ที่เกี่ยวกับพลาสติกและสารตั้งต้น ซึ่งสารเคมีดังกล่าว ส่งกลิ่นฉุน อาการเหม็นเปรี้ยว แสบตา ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นพบว่า สารเคมีรั่วไหล เป็นสารกลุ่มอะโรเมติกเบนซีน ซึ่งหากพูดถึงอันตรายจากสารเคมี ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม มักเป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดอันตรายในหลายด้าน ทั้งอันตรายทางกายภาพ เช่น การระเบิด การติดไฟ อันตรายต่อสุขภาพ เช่น การระคายเคือง แสบ คัน ก่อโรคต่าง ๆ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทำลายระบบนิเวศน์ สะสมในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
อันตรายจากสารเคมี
- สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน แสบ ร้อน พุพอง เช่น กรด ต่างๆ ก๊าซคลอรีน แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- สารที่ทำให้หมดสติได้ สารเคมีนี้ไปแทนที่ออกซิเจน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไซยาไนด์
- สารเสพติด เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท เช่น สารที่ระเหยได้ง่าย ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซินอะซิโตน อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ทำให้ปวดศีรษะ เวียน มึนงง
- สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการสร้างโลหิต เช่น ตะกั่วจะไปกดไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติเกิดโลหิตจาง
- สารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก ทำให้กระดูกเสียรูปร่าง หรือทำให้กระดูกเปราะ ฟอสฟอรัส แคลเซียม
- สารที่ทำอันตรายต่อระบบการหายใจ เช่น ปอด ทำให้เกิดเยื่อพังผืด ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับออกซิเจนได ความจุอากาศในปอดจะน้อยลงทำให้หอบง่าย เช่น ฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน
- สารก่อกลายพันธ์ ทำอันตรายต่อโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติจะปรากฏให้เห็นในลูกหรือ ชั้นหลาน เช่น
- สารกัมมันตภาพรังสี สารฆ่าแมลง โลหะบางชนิด ยาบางชนิด
- สารก่อมะเร็ง ทำให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดที่ไม่จำเป็น เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารหนู แอสแบสตอสนิเกิ้ล เวนิลคลอไรด์ เบนซิน
- สารเคมีที่ทำให้ทารกเกิดความพิการ คลอดออกมามีอวัยวะไม่ครบ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ แขนด้วน ขาด้วน ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาธาลิโดไมด์ สารตัวทำละลายบางชนิด ยาปราบศัตรูพืชบางชนิด
วิธีที่สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกาย
- การหายใจ : การหายใจเป็นการเข้าสู่ร่างกายที่สำคัญของสารเคมีที่อยู่ในรูปของไอระเหย ก๊าซ ละออง หรือ อนุภาค เมื่อสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำลายระบบทางเดินหายใจ หรือเข้าสู่ปอด กระแสเลือดแล้วทำลายอวัยวะภายใน
- ดูดซึมผ่านผิวหนัง (หรือตา) :โดยการสัมผัสหรือจับกันสารพิษ อาจมีผลกระทบที่ค่อนข้างน้อย เช่น เป็นผื่นแดง หรือรุนแรงมากขึ้น เช่น ทำลายโครงสร้างของผิว หรือทำให้อ่อนเพลียหรืออาจซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำลายอวัยวะหรือระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายขั้นรุนแรง และอาจตายได้
- การกินเข้าไป : หาสารที่กินเข้าไปมีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารสารที่ไม่ละลายในของเหลวในทางเดินอาหารจะถูกขับออกทางอุจจาระ ส่วนสารที่ละลายได้จากถูกดูดซึมผ่านผนังของทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะภายใน ความเป็นพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารเคมีที่กินเข้าไป
- การฉีดเข้าไป : สารอาจเข้าสู่ร่างการได้ถ้าผิวหนังถูกแทงหรือทำให้ฉีกขาดด้วยวัตถุที่ปนเปื้อน ผลกระทบเกิดขึ้นเมื่อสารนั้นเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมในอวัยวะเป้าหมาย
งานที่ได้รับอันตรายจากสารเคมี
- งานพ่นสีอันตรายหลัก คือ ละอองงานพ่นสี และกลิ่นของไอระเหย โดยปกติแล้วไอระเหยจะมีผลต่อระบบประสาท และกระแสเลือด เช่น ทินเนอร์ และตัวละลายต่าง ๆ ส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- งานเชื่อม อันตรายหลักในงานเชื่อม คือ โฟมและก๊าซ เกิดจากโลหะถูกเผาไหม้ และจากก๊าซเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ และด้วยความร้อนที่ร้อนมาก ทำให้เกิดไอระเหยของโลหะอยู่ในอากาศ ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายต่อปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง
- งานทำความสะอาด อันตรายหลักคือ คลอรีนเข้มข้นมีผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ระยะสั้น จะรู้สึกระคายเคืองจมูก ดวงตา หรือลำคอ ปอดและหลอดลมเกิดความเสียหาย ในระยะยาว ส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สูญเสียความจำ พบได้ในสารเคมีที่อยู่ใน น้ำยาทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน
วิธีป้องกัน
ใช้อุปกรณ์ป้องกันเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หน้ากากกรองก๊าซไอระเหย ที่ทำหน้าที่กรองก๊าซ และไอระเหย ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ ส่วนประกอบที่สำคัญของหน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย
1.ส่วนหน้ากาก มีหลายขนาด เช่น ขนาด ¼ หน้า ขนาด ½ หน้า หรือขนาดเต็มหน้า
2.ส่วนกรองอากาศ เป็นตลับ หรือกระป๋องบรรจุสารเคมี ซึ่งเป็นตัวจับมลพิษโดยการดูดซับ หรือทำปฏิกิริยากับมลพิษ ทำให้อากาศที่ผ่านตลับกรองสะอาด ปราศจากมลพิษ ส่วนกรองอากาศนี้สามารถใช้ได้เฉพาะสำหรับก๊าซ หรือไอระเหย แต่ละประเภทตามที่ระบุไว้เท่านั้น เช่น ส่วนกรองอากาศที่ใช้กรองก๊าซแอมโมเนีย จะสามารถป้องกันเฉพาะก๊าซแอมโมเนียเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันมลพิษชนิดอื่นได้ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่จะใช้หน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย ควรเลือกซื้อ และหรือเลือกใช้ให้เหมาะสม กับชนิดของมลพิษที่จะป้องกัน ตามที่ American National Standard ได้กำหนดมาตรฐาน (ANSI K 13.1-1973)
วิธีปฐมพยาบาล
- หากสัมผัสผิวหนัง ให้ล้างบริเวณที่ถูกสารเคมีด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด เพื่อเจือจางสารพิษ กรณีสารเคมีถูกเสื้อผ้าให้ถอดเสื้อผ้าออก
- หากเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้น ให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
- หากสูดดมควันพิษเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ หรือมีอากาศถ่ายเท และทำการประเมินระดับความรู้สึกตัวการหายใจ
- หากผู้ป่วยหมดสติร่วมกับไม่หายใจ หายใจเฮือก หรือไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้โทร 1669 และทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
ขอบคุณที่มา : skilltech,รพ.จุฬาลงกรณ์,thai-safetywiki
เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote