ไลฟ์สไตล์

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

19 ต.ค. 2565

"พญาสัตบรรณ" ส่งกลิ่นโชยมาแต่ไกล บ่งบอกถึงสัญญาณของลมหนาว แต่อาจจะทำหลายคนเหม็นจนเวียนหัว แต่รู้หรือไม่ว่า ภายใต้กลิ่นรุนแรงแต่แฝงไปด้วยสรรพคุณทางยามากมาย

เมื่อเริ่มเข้าหน้าหนาว นอกจากอากาศเย็นที่เราสัมผัสได้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่จะบ่งบอกได้ว่า เข้าฤดูหนาวแล้ว นั่นคือกลิ่นของต้น พญาสัตบรรณ หรือ ที่เรียกกันอีกชื่อ ดอกตีนเป็ด หลายคนได้กลิ่นจะรู้สึกว่ากลิ่นหอม แต่ในขณะเดียวกัน หลายคนจะรู้สึกเหม็นจนทนไม่ได้

 

แต่คุณหรือไม่ว่า ต้นพญาสัตบรรณ นั้นมีประโยชน์มากมาย แม้กระทั่งดอก ที่ส่งกลิ่นฉุนจนเป็นที่รังเกียจกันนั้น แท้จริงแล้วเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคได้สารพัด  

 

พญาสัตบรรณ  หรือ ต้นตีนเป็ด  ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูง ตั้งแต่ 10 - 20 เมตร ได้ มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย และยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด สมุทรสาคร อีกด้วย 

 

 

 

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

 

 

ต้นพญาสัตบรรณ หรือ ต้นตีนเป็ด ลำต้นมีเปลือกหนา แต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดลำต้นจะมียางสีขาวลำต้นตรง มีกิ่งก้านสาขามาก โดยจะมีลักษณะเป็นชั้น ๆ  ใบมีลักษณะเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่ง มีใบประมาณ 5 - 7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบทรงรี ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นฉุนแรง หากสูดดมเล็กน้อยจะรู้สึกหอม แต่ถ้าสูดกลิ่นแรง ๆ มากๆ จะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ จะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม  ถึงเดือนธันวาคม 

 

สำหรับผลของต้นพญาสัตบรรณ จะเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็ก ๆ ติดอยู่กับขุยนั้น

 

 

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

 

 

ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ  จะออกดอกเพียงปีละครั้งในช่วงปลายฝนต้นหนาว และด้วยความที่มีกลิ่นที่บางคนแพ้ ถึงขั้นปวดหัว เวียนหัว อาเจียน หรืออาจถึงขนาดปวดไมเกรนได้เลย แต่รู้หรือไม่ว่า พญาสัตบรรณ นั้น มีประโยชน์ มีสรรพคุณทางยามากมาย 

 


ด้วยความที่ ต้นพญาสัตบรรณ นั้นมีความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดมา ที่ผสมปนกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ เจ้าสารที่ว่านี้เป็นสารในกลุ่ม linalool จะกระตุ้นระบบประสาทในสมองให้ทำงานหนักมากขึ้น และจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหัว กระตุ้นความอยากอาเจียน ของผู้ที่แพ้กลิ่นสารจำพวกนี้อีกด้วย 
 

 

 

 

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

 

 

สำหรับต้นพญาสัตบรรณ หรือต้นตีนเป็ด มีสรรพคุณ มากมาย  ดังนี้ 

- เปลือก 

มีรสขม ใช้เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน และยังใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ นำเปลือกมาต้มน้ำดื่ม ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย  ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ  ใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้  บำรุงกระเพาะช่วยขับพยาธิไส้เดือน  ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย  ช่วยขับระดูของสตรี ช่วยขับน้ำนม  ใช้ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน


- น้ำยาง

ใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ , ใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ ใช้รักษาแผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทำให้แผล

 

- ใบอ่อน  
ใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้  ช่วย แก้ไข้  รักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้   ใช้พอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้


- ดอก 
ช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน ,แก้โลหิตพิการ

 

-กระพี้ 
ช่วยบับผายลม 

 

นอกจากนี้ ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบและยางสีขาว ในการนำมาใช้รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ

 

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

 


นอกจากนี้ พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี   สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า  ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลำต้น ก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้  เนื้อไม้ สามารถนำไปทำทุ่นของแหและอวนได้

 

และที่สำคัญ ต้นพญาสัตบรรณ จัดไม้มงคลนาม ปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล

คำว่า พญา มีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ ที่ควรยกย่อง และเคารพนับถือ

ส่วนคำว่า สัต หมายถึงสิ่งดีงาม ความมีคุณธรรม  

ดังนั้น ตามความเชื่อ จะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณ ไว้ทางทิศเหนือ

และวันที่เป็นมงคลในการปลูก คือวันเสาร์ นั่นเอง

 

 

 

สัญญาณลมหนาว "พญาสัตบรรณ" ภายใต้กลิ่นฉุนที่หลายคนเมิน แต่แฝงด้วยประโยชน์

 

 

 

ที่มา วิกิพีเดีย / เพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว 

 

 

 

 


ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057