ไลฟ์สไตล์

'บล็อกเชน' คืออะไร ทำความรู้จัก ก่อนใช้ 'เงินดิจิทัล 10,000'

'บล็อกเชน' คืออะไร ทำความรู้จัก ก่อนใช้ 'เงินดิจิทัล 10,000'

07 ก.ย. 2566

ไขข้อข้องใจ 'บล็อกเชน' คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำความรู้จัก ก่อนใช้ 'เงินดิจิทัล 10,000' ผ่าน กระเป๋าเงินดิจิทัล

ค่อนข้างเป็นที่ชัดเจนแล้ว สำหรับ “เงินดิจิทัล 10,000” นโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย ที่นายกฯ “เศรษฐา” ยืนยันแล้วว่า จะสามารถเริ่มใช้ได้ภายในวันที่ 1 ก.พ. 2567 แต่ก่อนหน้านี้ยังมีความสับสนในเรื่องของช่องทางการจ่ายเงิน ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า เป็นการใช้บล็อกเชน (Blockchain) อย่างแน่นอน แล้ว “บล็อกเชน” คืออะไร ทำงานแบบไหน มีประโยชน์อย่างไร มีคำตอบมาให้แล้ว

เทคโนโลยีบล็อกเชน

บล็อกเชนคืออะไร

 

 

บล็อกเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ที่บันทึกธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer ทั้งหมด ผู้เข้าร่วมยืนยันธุรกรรมได้โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ทำให้การทำธุรกรรมง่ายขึ้น ไม่ว่าจะโอนเงิน ยืนยันการซื้อขาย ลงมติ และจัดการปัญหาต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ประกอบไปด้วย 3 อย่าง ได้แก่ ข้อมูล, Hash และ Hash ของบล็อกก่อนหน้านั้นในเชน

 

 

แฮช หรือ Hash คือ รหัสความปลอดภัยที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลใหม่ เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยแฮชจะเก็บบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นใน “บล็อกเชน” เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลาง แต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมาก

ภาพประกอบบล็อกเชน

ทั้งนี้ บล็อกเชน เปรียบเหมือนกับสื่อกลางที่เอาไว้ใช้ดำเนินธุรกรรมทุกอย่างในโลก Cryptocurrency โดยเริ่มต้นจากการสร้างชุดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า (Block) แล้วส่งไปเรียงต่อกันเรื่อยๆ ในลักษณะคล้ายโซ่คล้องกัน เรียกว่า (Chain) ต่อมาข้อมูลจะได้รับการเข้ารหัสพร้อมระบุว่า ถูกจัดเก็บเมื่อใด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไหม จากนั้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายบล็อกเชนทุกเครื่อง

 

 

ความปลอดภัย “เงินดิจิทัล 10,000” ผ่านบล็อกเชน

 

 

สกุลเงินดิจิทัล เป็นสกุลเงินที่ถูกออกแบบมาโดยไม่มีตัวกลาง และออกแบบโดยระบบบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อการถูกแฮกข้อมูลได้ยาก และเพราะสกุลเงินดิจิทัล ไม่มีตัวกลาง ทำให้การชำระเงิน รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น โอนเงินออนไลน์ หรือการซื้อสินค้าออนไลน์ ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วแบบ 24 ชั่วโมง ในอัตราค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้งระบบบล็อกเชน ยังเป็นระบบที่มีความปลอดภัย และมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

ทำธุรกรรมการเงิน

 

ดังนั้น การใช้งาน “เงินดิจิทัล 10,000” ที่ออกแบบโดยธนาคารกลางด้วยระบบบล็อกเชน จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงนับเป็นการพัฒนาสำคัญ ที่ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้สกุลเงินดิจิทัล แม้ว่าในโลกจะมีสกุลเงินดิจิทัลที่นิยมใช้มากอยู่ อย่างบิตคอยน์ แต่ถ้าหาก “กระเป๋าเงินดิจิทัล” สามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกแบบเอง ก็จะทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ ภายในประเทศเป็นแบบที่ไร้ขีดจำกัดมากขึ้น

 

 

ไม่มีโทรศัพท์ใช้ “เงินดิจิทัล 10,000” อย่างไร

 

สำหรับประชาชนที่มีบัตรประชาชน และหมายเลขบัตร 13 หลัก แต่ไม่มีโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ก็สามารถได้รับ “เงินดิจิทัล 10,000” ผ่าน QR Code ที่ผูกไว้กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ วันที่ 1 ก.พ. 2567