เผยโฉม 'แสตมป์แพงที่สุดในโลก' ราคาราว 300 ล้านบาท เหลือดวงเดียวในโลก
ไปรษณีย์ไทย เปิดสตอรี่ 'แสตมป์แพงที่สุดในโลก' จนได้รับฉายา โมนาลิซาแห่งวงการแสตมป์ ด้วยสถิติราคาราว 300 ล้านบาท และที่สำคัญคือเหลือเพียงดวงเดียวในโลก
หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาพที่แพงจนไม่อาจประเมินมูลค่าได้ และเป็นภาพที่มวลมนุษยชาติใฝ่ฝันที่จะชมมากที่สุดก็คือ ผลงานโมนาลิซา : Mona Lisa ภาพปริศนาที่รังสรรค์โดย ลีโอนาโด ดา วินชี เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะโมนาลิซาเป็นภาพที่ได้รับการยกย่องว่าแฝงไปด้วยเทคนิคที่แพรวพราว และเป็นภาพวาดบุคคลที่ดีที่สุดภาพหนึ่งของโลก และรู้หรือไม่ว่าในวงการศิลปะอย่าง แสตมป์ ก็มีผลงานที่เปรียบได้กับผลงานโมนาลิซาด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งแสตมป์ชิ้นนั้นก็คือ The British Guiana 1c magenta หรือถ้าเรียกในชื่อไทยก็คือ แสตมป์สีม่วงแดง 1 เซ็นต์ บริติชกีอานา
The British Guiana 1c magenta หรือถ้าเรียกในชื่อไทยก็คือ แสตมป์สีม่วงแดง 1 เซ็นต์ บริติชกีอานา เป็น แสตมป์แพงที่สุดในโลก ด้วยสถิติราคา 8,307,000 USD หรือราว 300 ล้านบาท และที่สำคัญคือมีเหลือเพียงดวงเดียวในโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าดีใจและตื่นเต้นอย่างมากที่ แสตมป์ ดวงนี้ กำลังจะถูกนำมาจัดแสดงที่งานแสดงตราไปรษณียากรโลก 2566 ที่ไปรษณีย์ไทย โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เฉลิมฉลองครบรอบ 140 ปี เพื่อทำให้คนไทยได้เห็นสิ่งที่หาชมยากของโลก และเป็นไกด์ไลน์ให้ทุกคนได้มีโอกาสสะสมแสตมป์ที่แน่นอนว่าในอนาคตจะมีมูลค่าหรืออาจจะประเมินค่าไม่ได้
สำหรับแสตมป์สีม่วงแดง 1 เซ็นต์ บริติชกีอานา เป็น แสตมป์แพงที่สุดในโลก ที่นักสะสมทั่วโลกให้การยอมรับ โดยแสตมป์ดวงนี้กำเนิดขึ้นที่บริติชกายานา ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และในปัจจุบันก็คือประเทศกายานานั่นเอง โดยแสตมป์ดวงนี้ถูกพิมพ์ที่สำนักงาน ราชกิจจานุเบกษาในจอร์จ ทาวน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมในยุคนั้น ถูกพิมพ์ออกมาแบบหยาบๆ ด้วยวิธีการพิมพ์แบบง่ายๆ ทำให้ในยุคนั้นจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันการปลอมแปลงด้วยการให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เซ็นชื่อแบบย่อลงบนดวงแสตมป์ก่อนที่จะนำออกมาใช้งานในอัตราค่าฝากส่งสำหรับ 1 เซ็นต์ ซึ่งเป็นอัตราค่าฝากส่งสำหรับหนังสือพิมพ์ที่ฝากส่งภายในเมืองเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่ว่ากันว่าสิ่งทำให้แสตมป์ดวงนี้มีความหายาก และเหลืออยู่เพียงดวงเดียวเพราะว่าในยุคนั้นไม่มีใครคิดเก็บแสตมป์ที่ติดอยู่บนหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่อ่านแล้วก็จะถูกทิ้งหรือถูกทำลายไปตามกาลเวลานั่นเอง
แสตมป์ชิ้นนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1873 โดยเด็กชายชาวสก็อตที่อายุแค่ เพียงแค่ 12 ปีแล้วจากนั้นก็ถูกเด็กชายคนเดียวกันขายออกไปด้วยราคา 6 ชิลลิ่ง เพราะเขามีความเชื่อว่าน่าจะหาดวงใหม่ที่มีสภาพที่ดีกว่านี้ได้อีก อย่างไรก็ตามแสตมป์ดวงนี้ยังมีประวัติการถูกขายต่อๆ กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนถึง 12 ครั้ง และราคาครั้งสุดท้ายถูกซื้อโดยบริษัท สแตนลีย์ กิบบอนส์ จำกัด ประเทศอังกฤษ ไปในราคา 8,307,000 USD เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2021
ในมิติทางศิลปะ แสตมป์ดวงนี้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ถูกตัดที่มุมทั้งสี่ออกจึงมีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยม ไม่ปรุรูพิมพ์ด้วยหมึกดำลงบนกระดาษสีม่วงแดง หรือสี Magenta และประกอบด้วยภาพเรือใบ มีคำขวัญภาษาละตินของอาณานิคมที่ว่า “Damus Petimus Que Vicissim” เราให้และจะหวังผลตอบแทน อยู่ตรงกลางภายในกรอบสี่เหลียม บริเวณขอบบนล่างพิมพ์ชื่อประเทศ BRITISH GUIANA และขอบซ้ายขวาพิมพ์ชนิดราคา ONE CENTมีลายเซ็นอยู่ด้านซ้ายพร้อมอักษรย่อ EDW และประทับตราไปรษณีย์ “DEMERARA AP 4 1856”
อีกความน่าสนใจก็คือแสตมป์ชิ้นนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1873 โดยเด็กชายชาวสก็อตที่อายุแค่ เพียงแค่ 12 ปีเท่านั้น แล้วสมบัติชิ้นนี้ก็ถูกเด็กชายคนเดียวกันขายออกไปด้วยราคา 6 ชิลลิ่ง เพราะเขามีความเชื่อว่าน่าจะหาดวงใหม่ที่มีสภาพที่ดีกว่านี้ได้อีก อย่างไรก็ตามแสตมป์ดวงนี้ยังมีประวัติการถูกขายต่อ ๆ กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนถึง 12 ครั้ง และราคาครั้งสุดท้ายถูกซื้อโดยบริษัท สแตนลีย์ กิบบอนส์ จำกัด ประเทศอังกฤษ ไปในราคา 8,307,000 USD เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2021 ซึ่งแสตมป์
The British Guiana 1c magenta หรือ แสตมป์สีม่วงแดง 1 เซ็นต์ บริติชกีอานา ไม่ได้เป็นเพียงแสตมป์ที่มีมูลค่าในทางศิลปะ และเป็นสมบัติชิ้นเอกของโลกเท่านั้น แต่แสตมป์ชิ้นนี้ยังซ่อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซ่อนเส้นทางการสื่อสาร และสะท้อนวิวัฒนาการการเชื่อมให้คนถึงกันในอดีตอีกด้วย
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถมาพบกับแสตมป์ The British Guiana 1c magenta ได้ที่งาน “POSTiverse” 140 ปี ไปรษณีย์ไทย และงานแสดงตราไปรณียากรโลก 2566 ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2566 ณ ไปรษณีย์กลาง บางรัก ซึ่งภายในงานยังมีแสตมป์ที่จะถูกรวบรวมจากทั่วทุกมุมโลกมาจัดแสดงให้สายอาร์ต สายประวัติศาสตร์ สายสะสม หรือจะสายฮอปเปอร์สามารถมาท่องจักรวาลแห่งแสตมป์ และใครที่อยากเรียนรู้วิธีสะสมแสตมป์ให้มีมูลค่าก็สามารถมาเรียนรู้ได้ที่งานนี้เช่นเดียวกัน