ไลฟ์สไตล์

'Smiling Depression' ยิ้มสุดใจ ภายในสุดพัง ซ่อน ภาวะซึมเศร้า เช็กสัญญาณเตือน

'Smiling Depression' ยิ้มสุดใจ ภายในสุดพัง ซ่อน ภาวะซึมเศร้า เช็กสัญญาณเตือน

21 พ.ย. 2566

รู้จัก 'Smiling Depression' ยิ้มสุดใจ ภายในสุดพัง ปิดบัง 'ภาวะซึมเศร้า' สุดอันตราย เช็ก 3 กลุ่มเสี่ยง และ สัญญาณเตือน

การเสียชีวิตของ “ดีเจโก กรีนเวฟ” เกิดคำถามขึ้นมากมายในสังคม เพราะอะไร ใบหน้าที่มีแต่รอยยิ้ม และสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้คน กลับไม่มีสัญญาณบ่งบอก ถึงความบอบช้ำจากจิตใจที่อยู่ข้างใน จนเกิดอาการที่เรียกว่า smiling depression หรือ ภาวะซึมเศร้าแบบรอยยิ้ม เพื่อปฏิเสธความอ่อนแอทางจิตใจ ซึ่งปัจจุบันคนเศร้าจำนวนมาก เลยเลือกที่จะปิดบังความเจ็บปวดทางใจของตัวเองเอาไว้ ไม่ให้ใครเห็น

      ภาวะซึมเศร้าแบบรอยยิ้ม

Smiling depression เป็นศัพท์อย่างไม่เป็นทางการ และไม่ใช่อาการที่สามารถวินิจฉัยอย่างเป็นทางการตาม official manual ทางจิตวิทยา แต่คำนี้ก็มีการใช้กันแพร่หลาย โดยเฉพาะในนักจิตบำบัด หรือ psychotherapists ครอบคลุมทั้ง depression อ่อนๆ ไปจนถึง depression อย่างหนัก ซึ่งเป็นคำอธิบายอาการ ที่คนพยายามซ่อนภาวะซึมเศร้าไว้ในใจ โดยการเสแสร้งว่า ตัวเองโคตรมีความสุขกับชีวิต

 

 

แต่ลึกลงไปแล้วในใจของคนที่เป็น smiling depression คือความว่างเปล่า ไร้ความหมาย และความทุกข์ใจ ที่แผ่ขยายอยู่ตลอดเวลา จนสามารถสรุปได้ว่า เป็นชีวิตที่ไม่มีความสุข ไปจนถึงไม่มีความสุขเอาเลย

 

 

ดร.แพม ปรมา มุทิตาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา เคยกล่าวไว้ว่า คนที่เป็น smiling depression เค้าจะรู้สึกอยู่ข้างใน แต่เค้าคิดว่า เดี๋ยวมันก็หายไปเอง และด้วยความที่เป็นๆ หายๆ มันเลยทำให้เค้าไม่รู้ว่า “มันคืออาการของโรค” หรือต่อให้เค้ารู้ เค้าก็จะไม่แสดงออกมา”

ภาวะซึมเศร้ารอยยิ้ม

“She's so lucky, she's a star

But she cry, cry, cries in her lonely heart, thinking

If there's nothing missing in my life

Then why do these tears come at night”

 

 

ผู้ใช้พันทิปรายหนึ่ง ยกเพลงดังอย่าง “Lucky” ของ Britney Spears ในปี 2000 ที่เล่าถึงเรื่องของ ดาราสมมติ ชื่อว่า Lucky ที่ประสบความสำเร็จในทุกอย่างที่ต้องการ ภายนอกดูดีเป็น superstar แต่ระทมทุกข์อยู่ภายใน ซึ่งเรื่องของ Lucky ดูไปพ้องกับชีวิตจริงของดาราและนักร้องหลายคน

 

 

คนที่เป็น smiling depression มักมีชีวิตที่ดูดีไม่ต่างจากคนทั่วไป หรืออาจจะดูดีมากกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ ด้วยรอยยิ้ม และ life style ที่แม้กระทั่งคนทั่วไปอาจอิจฉา ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกีฬา ไปยิมออกกำลังกาย ฟังเพลง เล่นดนตรี หรือร่วมในกิจกรรมท้าทายและการออกสังคมมากมาย หลายคนมีการงานที่ดี มีการศึกษาดี และมีความสามารถหลายอย่าง รวมทั้งชีวิตคู่ หรือครอบครัวที่ดูดี

 

 

และนั่นเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้คนภายนอกมองเห็นชีวิตเขาเหล่านี้ว่า เต็มไปด้วยกิจกรรมน่าสนใจ และตีความว่าชีวิตคนเหล่านี้ต้องมีความสุขเป็นแน่ แต่ตรงกันข้ามกับสภาพจิตใจอย่างแรง ที่มองไปทางไหนก็ดูไม่มีความหมาย ที่ยิ้ม หัวเราะ และทำโน่นนี่มากมาย ก็เพียงเพื่อจะได้ลืมเรื่องแย่ๆ เท่านั้น

   ภาวะซึมเศร้าแบบรอยยิ้ม

 

ทำไมถึงเกิด Smiling depression ได้?

 

 

ใครจะตกอยู่ในสภาพ depression นั้น เป็นเรื่องที่คนภายนอกไม่สามารถไปตัดสินได้ว่า ควรหรือไม่ควรเป็น ด้วยเหตุผลที่ว่า ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่คนอื่นไม่มีทางล่วงรู้ ไม่ว่าจะเป็น trauma หรือปัญหาบาดเจ็บทางจิตใจที่ฝังใจ, ความรู้สึกผิด guilty, ความรู้สึกผิดหวังตนเอง, ไปจนถึงปัญหาเรื่อง nuero หรือที่เรียกกันว่า chemical imbalance ในระบบประสาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้เลย

 

 

กลุ่มคนที่เสี่ยงกับการเป็น smiling depression

 

 

  1. คนที่เป็น introvert มากๆ ไม่สามารถแสดงออกอารมณ์ได้ ไม่กล้าที่จะระบาย หรือสื่อสารให้ใครๆ ได้เข้าใจ ทำให้เก็บเรื่องแย่ๆไว้กับตัวแต่ผู้เดียว
  2. คนที่เป็น perfectionnist คือ อะไรก็ต้องเนี๊ยบ เป็นไปตามมาตราฐานสูงที่ตนเองตั้งไว้ โดยเฉพาะการคาดคั้นเอากับตนเองว่า ต้องทำให้ดีให้ได้ เมื่อไม่ได้ ก็ลงโทษตนเองด้วยความรู้สึกที่แย่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรู้สึกผิดมากนัก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกทั้งหมดดีขึ้นอยู่ดี
  3. คนที่มีความรับผิดชอบสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัว ไปจนถึงการงาน หรือสังคม

 

 

จิตแพทย์เจ้าของคลินิกใน Beverly Hills มีความเห็นว่า smiling depression อาจอันตรายกว่า depression ธรรมดาเสียอีก เพราะไม่มีใครรู้ว่ากำลังเป็น รวมถึงเจ้าตัวด้วย ทำให้ไม่ได้รับการบำบัด และสะสมจนถึงจุดอันตราย อีกทั้ง คนที่เป็น smiling depression ยังมีพลังพอที่จะหันมาทำร้ายตนเองอย่างการวางแผนฆ่าตัวตายได้ ในขณะที่คนเป็น depression แบบออกอาการซึมเศร้าให้เห็น มักจะไร้ความพยายามใดๆ

     ภาวะซึมเศร้ารอยยิ้ม

 

อาการเตือน smiling depression

 

 

นักจิตวิทยาให้เช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับอาการน่าสงสัย คือ นอนไม่หลับ, เหนื่อยง่าย, กระวนกระวายใจง่าย และบ่อย, กังวลไปเกือบทุกเรื่อง, ตัดสินใจยาก, โมโหง่าย/รำคาญง่าย/ น้อยใจง่าย (แต่ไม่แสดงออก) หากมีอาการแบบนี้ ในเบื้องหลังรอยยิ้มแล้วละก็ ให้ระวังไว้ ทางออกเบื้องต้นคือ หาคนที่รู้ใจ ที่เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ใช่ขาเมาท์ หรือขา gossip แล้วระบายความอึดอัดให้ฟังอย่างได้ใจความ ก็จะช่วยบรรเทาได้

 

 

ดังนั้น คนที่เป็น Smiling Depression มักเจอความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น เพราะไม่มีใครรับรู้อาการ และพาไปรับการรักษาที่ถูกต้องได้ เมื่อคนเหล่านี้ ต้องเผชิญหน้ากับอาการซึมเศร้าเพียงลำพัง โอกาสในการหายจากอาการซึมเศร้าก็น้อยลง และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าปกติ