เจาะ 'แร่ลิเทียม' ขุมทรัพย์ ใหญ่ หลัง ไทย เจอเป็นอันดับ 3 ของโลก
รู้จัก 'แร่ลิเทียม' ขุมทรัพย์ ใหญ่ หลัง ไทย เจอเป็นอันดับ 3 ของโลก หวังเจาะอุตสาหกรรม 'รถยนต์ไฟฟ้า EV' ฐานผลิตหลักของภูมิภาค
การค้นพบ “แร่ลิเทียม” กว่า 14,800,000 ล้านตัน ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศ ที่ค้นพบแร่ดังกล่าว มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา แถมล่าสุด ยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียมในพื้นที่ภาคอีสาน ปริมาณสำรองอีกจำนวนมาก จึงนับเป็นข่าวดีประเทศไทย เพราะแร่ทั้งสองชนิด ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญ ที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV 100% ขุมทรัพย์ ใหญ่ของไทย
แร่ลิเทียม คืออะไร
ลิเทียม คือธาตุที่ 3 ที่ถูกค้นพบต่อจากไฮโดรเจน และฮีเลียม โดยลิเทียม เป็นโลหะที่มีความอ่อนนุ่ม และน้ำหนักเบาที่สุดในธาตุทั้งหมด มีสีขาวเงินปนประกอบกัน ติดไฟได้ง่าย และไม่สามารถดับได้ด้วยน้ำ
ถึงแม้ลิเทียมจะมีลักษณะเบา และเปราะบาง แต่เป็นหนึ่งในกลุ่มโลหะอัลคาไล ที่สามารถช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในยานอวกาศ และเรือดำน้ำได้ ซึ่งลิเทียมเป็นโลหะไม่กี่ชนิด ที่สามารถรับ และปล่อยพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง ซึ่งนิยมนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน รวมทั้งในสิ่งของต่างๆ ตั้งแต่เซรามิกไปจนถึงอาวุธนิวเคลียร์
แหล่งแร่ลิเทียมในไทย
การพบแร่ลิเทียม มาจากความสำเร็จของการศึกษา-สำรวจ อย่างเข้มข้น ของกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อนพบแหล่งแร่ลิเทียม ที่มีศักยภาพ 2 แหล่งด้วยกัน ได้แก่
- แหล่งเรืองเกียรติ จ.พังงา
- แหล่งบางอีตุ้ม จ.พังงา
แร่ลิเทียม ราคา
แร่ลิเทียม 1 ตัน มูลค่า = 30,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 1 ล้านบาท ดังนั้น แร่ลิเทียม กว่า 14,800,000 ล้านตัน ที่พบ นั่นหมายความว่า มีมูลค่ามากมายมหาศาล
ดังนั้น การค้นพบแร่ศักยภาพลิเธียม-โซเดียม จึงถือเป็นทั้งข่าวดี และเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองแร่ลิเธียมมากที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ที่มีศักยภาพเข้ามาตั้งโรงงาน เพื่อให้ไทยมุ่งสู่การเป็นฐานผลิตหลักของภูมิภาค
ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า ความต้องการแร่ลิเทียมทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ภายในปี 2568 และจะต้องการมากกว่า 2 ล้านตัน ภายในปี 2573