เฉลยชัด 'ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีวันที่ 30' ตำนาน กุมภาพันธ์ ที่ไม่มีใครรู้
ชัดเจน 'ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีวันที่ 30' เปิดตำนาน เดือน 'กุมภาพันธ์' ที่ไม่มีใครรู้ และ ประเทศไทย เริ่มใช้ปีไหน
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเดือน “กุมภาพันธ์” ถึงมีทั้ง 28 วัน และต้องรอ 4 ปี มี 29 วัน ในขณะที่เดือนอื่นๆ หากลงท้ายด้วย “ยน” มี 30 วัน ส่วนเดือนที่ลงท้ายด้วย “คม” มี 31 วัน ตำนานนี้มีที่มาอย่างไร “ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีวันที่ 30” มาไขข้อข้องใจไปพร้อมๆ กับการทำความรู้จัก ความเป็นมาของ “เดือนกุมภาพันธ์” ให้มากขึ้น
ทำไมเดือนกุมภาพันธ์มี 28-29 วัน
ย้อนกลับไปเมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์ ได้สร้างปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการนับเดือนใหม่ มกราคม และ กุมภาพันธ์ เป็นครั้งแรก เพราะในปฏิทินโรมัน มีการนับเดือนเพียง 10 เดือนเท่านั้น คือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบเป็นเดือน มีนาคม- ธันวาคม
โดย จูเลียน ให้เหตุผลว่า ปฏิทินโรมันมีการนับข้างขึ้น-ข้างแรมไม่เหมาะสม พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis เป็น July ตามชื่อของตัวเอง ซึ่งปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ในแต่ละเดือนจะมีจำนวน 30-31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีเพียง 29 วัน และจะมี 30 วันได้ต่อเมื่อเข้าสู่ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ที่มี 366 วัน นั่นเอง
ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีวันที่ 30
ต่อมา จูเลียส ซีซาร์ ได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปี มี 12 เดือน และปฏิทินจูเลียนได้กำหนดไว้ว่า เดือนคี่มี 31 วัน เดือนคู่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ในปีปกติสุรทิน และ 29 วันในปีอธิกสุรทิน
ส่วนประเทศไทย เริ่มใช้ชื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน
29 กุมภาพันธ์ ทำไมถึง 4 ปีมีครั้ง
29 กุมภาพันธ์ ในปีอธิกสุรทิน (Leap Year) เกิดขึ้นจากการอ้างอิงการนับวันตามระบบสุริยคติ หรือตำแหน่งดวงอาทิตย์ จะพบว่า โลก ใช้เวลาทั้งหมด 365.24224 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อครบ 4 ปี จะทำให้เศษเกินมา 1 วัน จึงให้นับเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์นั่นเอง
เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2567 มี กี่ วัน
หลักการคำนวณง่ายๆ ว่า ปีไหนเดือนกุมภาพันธ์จะมี 28 หรือ 29 วัน ให้ใช้ตัวเลขปีคริสตศักราชตั้ง แล้วหารด้วย 4 หากหารลงตัว ก็แสดงว่าปีนั้นเป็นอธิกสุรทิน มี 366 วัน ในปีนั้นก็จะได้เห็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ โผล่ขึ้นมา
ยกตัวอย่างเช่น ปี ค.ศ. 2024 ให้นำ 2024÷4 = 506 ลงตัวพอดีไม่เหลือเศษ แสดงว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2024 (2567) มี 29 วัน
ที่มา : วิกิพีเดีย,