ไขข้อข้องใจ 'กฎหมายแรงงานเปลี่ยนตําแหน่ง' ลูกจ้างไม่สมัครใจฟ้องได้ไหม
ลูกจ้างสิ้นสงสัย ไขข้อข้องใจ 'กฎหมายแรงงานเปลี่ยนตําแหน่ง' โดยที่ลูกจ้างไม่สมัครใจฟ้องได้หรือไม่ แล้วนายจ้างสามารถ ปรับลดตำแหน่งได้ไหม
นายจ้างสามารถย้ายเราไปทำงานในตำแหน่งที่ไม่ถนัด ได้หรือไม่ วิธีการดังกล่าวถือว่าเป็นการบีบให้ลาออกหรือไม่ สำหรับคำถามดังกล่าว เว็บไซต์ คลินิกกฎหมายแรงงาน ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ "กฎหมายแรงงานเปลี่ยนตําแหน่ง" เอาไว้ว่า การย้าย การสับเปลี่ยนตำแหน่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม เว้นแต่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นประโยชน์กับลูกจ้าง นายจ้างจึงจะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมหลักเกณฑ์การย้ายหรือการ เปลี่ยนตำแหน่งนั้น จะต้องไม่ลดตำแหน่ง ไม่ลดเงินเดือน และไม่ลดสวัสดิการต่างๆ
ทั้งนี้ "กฎหมายแรงงานเปลี่ยนตําแหน่ง" ระบุ เอาไว้ว่า หากการย้ายตำแหน่งนั้น หากเงินเดือน สวัสดิการ หรืออำนาจการบังบัญชาของลูกจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม ยังไม่ถือเป็นการบีบบังคับให้ลาออก อันเป็นการเลิกจ้าง ซึ่งหากไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงบัญญัติไว้ว่าห้ามเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ก็ย่อมไม่ผูกมัดนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งเดิมตลอดไป
แล้วนายจ้างสามารถ ปรับตำแหน่งลงได้ไหม การโยกย้ายงาน หมายถึงการที่บริษัท สั่งให้พนักงาน เปลี่ยนตำแหน่ง หน้าที่ การทำงาน หรือ เปลี่ยนสถานที่ทำงาน บริษัท หรือ นายจ้าง เขามีสิทธิในการสั่งให้พนักงานโยกย้ายงาน โดยปกติ คำสั่งก็มาจากผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายบุคคล หรือ หัวหน้างาน ซึ่งเรื่องของการโยกย้าย ถือเป็นดุลพินิจของบริษัท หรือ นายจ้าง สามารถกำหนด หรือ สั่งโยกย้ายเมื่อไหร่ก็ได้ หรือ ด้วยเหตุผลอะไรก็ตามโดนสั่งย้าย ถึงแม้ว่าจะเป็นอำนาจของนายจ้าง แต่ก็ต้องให้ความยุติธรรมต่อลูกจ้างด้วย เพราะหลายๆ ครั้ง พบว่า พนักงาน โดนสั่งย้ายด้วยความไม่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเกิดการถกเถียงในโลกออนไลน์อย่างมาเกี่ยวกับ "กฎหมายแรงงานเปลี่ยนตําแหน่ง" โดยมีข้อความระบุว่า "กฎหมายแรงงานเปลี่ยนตําแหน่ง" ถูกย้ายตำแหน่งโดยไม่ถามความสมัครใจนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย" หลังจากนั้นก็พบว่ามีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก หลายคนต่างบอกว่า ฟ้องได้แต่อยู่ต่อไม่ได้ หรือ ฟ้องได้แต่อาจจะอยู่ต่อลำบาก
ที่มา: เว็บไซต์ legalclinic