ไลฟ์สไตล์

เช็ก 4 "เครื่องใช้ไฟฟ้า" ห้ามใช้ "ปลั๊กพ่วง" เสี่ยง อันตราย

เช็ก 4 "เครื่องใช้ไฟฟ้า" ห้ามใช้ "ปลั๊กพ่วง" เสี่ยง อันตราย

26 เม.ย. 2567
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดรายชื่อ "เครื่องใช้ไฟฟ้า" ห้ามใช้ "ปลั๊กพ่วง" เสี่ยง อันตราย เจอ ไฟไหม้ พร้อมแนะนำ ใช้ปลั๊กพ่วง ให้ถูกวิธี

KEY

POINTS

 

 

 

 

 

 

ที่มา : ais, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA

เชื่อว่าหลายคนคงหลงเข้าใจผิดกันมาตั้งนานว่า “ปลั๊กพ่วง” สามารถรองรับการใช้งานกับ “เครื่องใช้ไฟฟ้า” ในบ้านได้ทุกชนิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ไม่ควรที่จะเสียบกับปลั๊กพ่วงทิ้งไว้นานๆ นอกจากนั้น ยังไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมๆ กันด้วย โดยเฉพาะหากสายไฟจากปลั๊กพ่วงมีขนาดเล็ก หรือไม่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้สูง อาจเสี่ยงให้สายไฟเกิดความร้อน จนเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและไฟไหม้บ้านได้

ปลั๊กพ่วง

โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA มีคำแนะนำ “เครื่องใช้ไฟฟ้า” ต้องห้ามสำหรับ “ปลั๊กพ่วง” มีอะไรบ้าง และบอกวิธีใช้งานปลั๊กพ่วงที่ถูกต้องและปลอดภัย

 

 

  1. ไม่ควรใช้ปลั๊กพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงเป็นเวลานานๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น ตู้แช่เครื่องดื่ม ไมโครเวฟ
  2. ปลั๊กพ่วงแต่ละอัน รองรับกำลังไฟได้แตกต่างกัน และปลั๊กพ่วงที่ดีจะต้องระบุไฟสูงสุดที่รองรับได้ เช่น 2,300 วัตต์ 2,500 วัตต์ ฯลฯ
  3. ปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน ต้องมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ตัดกระแสไฟฟ้าเกินได้ทันที
  4. ปลั๊กพ่วงเหมาะสำหรับใช้งานเพียงชั่วคราว และไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าคาทิ้งไว้กับปลั๊กพ่วงแบบถาวร เพราะอาจทำให้ปลั๊กเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้
  5. ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันมากเกินไป และไม่ควรเสียบพ่วงกันหลายต่อ อาจทำให้เกิดความร้อนสะสม และไฟไหม้ได้
  6. สายไฟของปลั๊กพ่วง ยิ่งมีขนาดใหญ่ จะยิ่งรองรับกระแสไฟได้ดีกว่าสายไฟขนาดเล็ก โดยทั่วไป ขนาดสายไฟไม่ควรต่ำกว่า 0.824 ตารางมิลลิเมตร หรือสายเบอร์ 18 (AWG) ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูง (หากจำต้องต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างในเวลาเดียวกัน)
  7. หากปลั๊กพ่วงชำรุด ด้วยอาการใดอาการหนึ่ง เช่น สายไฟขาด เสียบเต้ารับแล้วสปาร์ก ควรซื้อใหม่ ไม่ควรนำไปซ่อมแล้วนำกลับมาใช้งานอีก

     การใช้งานปลั๊กพ่วง

  • “ปลั๊กพ่วง” มีกี่แบบ
  •  

 

  1. ปลั๊กสามตา หรือปลั๊กพ่วง 2 ขา ชื่อนี้ถูกเรียกกันมานานแสนนาน ที่เรียกว่าปลั๊กสามตาก็เพราะเกิดจากปลั๊กพ่วงในสมัยก่อน จะมีรูปลั๊กให้มา 3 รูเสียบ ชาวบ้านก็เลยเรียกติดปากกันว่าปลั๊กสามตา ใช้งานได้ทั่วไป เช่น เสียบปลั๊กพัดลม ชาร์จโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต
  2. ปลั๊กโรลสายไฟ ตัวปลั๊กจะเป็นโรลไว้ใช้สำหรับม้วนเก็บ และดึงสายปลั๊กไฟออกมาใช้งานได้ในตัวเดียว มักใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องพร้อมกันในพื้นที่กว้าง เช่น เสียบปลั๊กพัดลมหลายตัวในงานเลี้ยงบริเวณบ้าน
  3. ปลั๊กบ็อกยางสนาม วัสดุเป็นยางเพื่อลดแรงกระแทก พกพาง่าย ใช้งานได้นาน รูปทรงเรียบง่ายครับ ส่วนใหญ่ใช้กับงานช่าง เช่น งานเลื่อยไม้ งานอ๊อกเหล็ก
  4. ปลั๊กกรองไฟ เป็นปลั๊กที่มีราคาสูง มีเต้าเสียบรองรับปลั๊กได้มากถึง 8 เต้าเสียบ มีฟังก์ชันช่วยกรองสัญญาณภาพและเสียง ทำให้ไม่มีคลื่นรบกวน แถมยังกันไฟกระชากได้เป็นอย่างดีอีกด้วย มักใช้ในโฮมออฟฟิศ หรือมินิฮอลล์ ที่จัดงานรื่นเริง เช่น เสียบปลั๊กจอ LED เครื่องเล่นเพลง เครื่องเสียง
  5. ปลั๊กกันไฟกระชาก เป็นปลั๊กที่มีฟีเจอร์กันไฟกระชากจากฟ้าผ่า หม้อแปลงระเบิด โดยจะใส่วงจรกันไฟกระชากมาด้วย ใครที่คิดจะใช้ปลั๊กไฟตัวนี้ ควรติดตั้งสายดินเพื่อความปลอดภัยด้วย มักใช้ในบ้านกับงานทั่วไป เช่น เสียบปลั๊กทีวี ตู้เย็น

ปลั๊กพ่วง

 

 

 

 

 

ที่มา : ais, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA