ไลฟ์สไตล์

30 เม.ย. "วันชานมไข่มุกแห่งชาติ" เปิดที่มา เริ่มมาจากอะไร ชาไข่มุก มีกี่ชนิด

30 เม.ย. "วันชานมไข่มุกแห่งชาติ" เปิดที่มา เริ่มมาจากอะไร ชาไข่มุก มีกี่ชนิด

30 เม.ย. 2567

30 เมษายน "วันชานมไข่มุกแห่งชาติ" เปิดข้อมูลมีที่มาอย่างไร ประกาศเป็นทางการครั้งแรกเมื่อไหร่ ชาไข่มุก มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

"วันชานมไข่มุกแห่งชาติ" ตรงกับวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี โดยเริ่มมาจากที่ ร้านชากังฟู (Kung Fu Tea) ซึ่งเป็นร้านชานมไข่มุกเจ้าดังมีหลายสาขาทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นผู้จุดประกายไอเดีย กำหนดให้วันที่ 30 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันชานมไข่มุกแห่งชาติ" มีการยอมรับและประกาศลงหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี 2562

 

 

"ชาไข่มุก" พบครั้งแรกในประเทศไต้หวัน ช่วงยุค 1980

 

ร้านชาชุน ฉุ่ยถังในเมืองไถจง น่าจะเป็นร้านแรกที่คิดค้นเมนูชาไข่มุกขึ้นมา เมื่อปี 1988 ขณะที่กำลังประชุมอยู่นั้น คุณหลินชิ่วฮุย (ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์) ได้เทขนมหวานชิ้นเล็กๆ ลงไปในชา ทุกคนในห้องประชุมเห็นว่าน่าสนใจ จึงทำออกมาขาย ปรากฏว่า ยอดขายดีมาก ทำลายสถิติเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ บ้างก็ว่า ชาไข่มุกน่าจะมีที่มาจากร้านชาหานหลิน ที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน ของนายถัวซ่งเหอ เขาใส่เม็ดสาคูสีขาวลงไปในชา ทำให้มันเหมือนไข่มุก เป็นที่มาของคำว่า "ชาไข่มุก" หลังจากนั้นไม่นาน หานหลินเปลี่ยนสีสาคูจากสีขาวเป็นสีดำแบบที่นิยมกันในปัจจุบัน ช่วงปี 1990 เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2012 ร้านแมคคาเฟ่ของแมคโดนัลด์ สาขาในประเทศเยอรมันและออสเตรียเริ่มจำหน่าย ชาไข่มุก มีให้เลือกหลากหลายทั้งชาแดง ชาเขียว และชาขาว, เลือกได้ทั้งแบบผสมและไม่ผสมนม รวมถึงน้ำเชื่อมผลไม้รสต่างๆ สามารถสรรสร้างเมนูใหม่ๆ ได้มากกว่า 250 แบบ

 

 

ชานมไข่มุก

 

ชนิดของ ชาไข่มุก

 

  • "ชาแดงโฟม" แปลตรงตัวตามภาษาจีนก็คือ ชาที่มีฟอง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ชาโฟม แต่ชื่อนี้ไม่เป็นที่นิยมในเอเชียเท่าไหร่นัก ในหลายๆ ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นหลัก จะเรียกว่า "ชาบับเบิล" เครื่องดื่มชนิดนี้ไม่ได้ใส่เม็ดสาคูลงไป คำว่า ฟอง/ไข่มุก ได้มาจากการผสมชาร้อนๆ หรือชาอุ่นๆ (ใช้ชาแดง) กับน้ำเชื่อมหรือน้ำตาล เทน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ลงไปรวมกันในกระบอกเชคเกอร์ อาจจะเขย่าด้วยเครื่องหรือเขย่าด้วยมือก็ได้ ทำให้เกิดโฟมฟองขึ้นที่ผิวบนของชา ส่งผลให้ได้รสชาติที่นุ่มลิ้น
  • "ชานมโฟม" ชาชนิดนี้ก่อนเสิร์ฟต้องเขย่า วิธีการเหมือน "ชาแดงมีฟอง"
  • "ชานมเพิร์ล" มักเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า ชานมบับเบิล คำว่า "เพิร์ล/ไข่มุก" หมายถึง เม็ดสาคูเล็กๆ ขนาด 1/12 นิ้วที่ใส่ในเครื่องดื่ม ถึงแม้จะมีบางเมนูเปลี่ยนมาใช้เม็ดสาคูที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1/4 นิ้ว แต่ก็ยังใช้ชื่อ "ชานมเพิร์ล"เหมือนเดิม
  • "ชานมบับเบิล" หรือที่เรียกกันว่า ชานมปัวป้า ชื่อนี้สื่อถึงขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ ซึ่งก็คือ เม็ดสาคูขนาดใหญ่ 1/4นิ้ว
  • "ชานมแบล็กเพิร์ล" ตั้งแต่มีการทำเม็ดสาคูขนาดใหญ่ 1/4นิ้วขึ้นมา มีการแยกเฉพาะเม็ดสาคูมาวางจำหน่ายในชื่อ "แบล็กเพิร์ล" ซึ่งเป็นที่นิยมมาก มีอีกชื่อหนึ่งคือ "ปัวป้า" แต่ไม่ค่อยใช้กันเท่าไหร่นัก
  • "ชา (นม) เพิร์ล" (ไม่นิยมใช้ชื่อนี้)
  • "ชาบับเบิล" ใช้กันในประเทศสิงคโปร์

 

 

ชานมไข่มุก

 

 

ด้านสุขภาพ

 

เมื่อก่อน เคยมีการรายงานว่า เม็ดสาคู, นมผง และน้ำเชื่อมรสผลไม้ มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งต้องห้าม ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011 ฟู้ดสแกนดอล ในไต้หวันตีแผ่เรื่องราวของ DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) (สารเคมีพลาสติไซเซอร์ที่มีสารก่อมะเร็ง) ที่พบในสารกันบูดในเครื่องดื่มและน้ำเชื่อมรสผลไม้ต่างๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกนอกประเทศ และใช้ในร้านชาไข่มุกทั่วโลก DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) นี้มีผลกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2011 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมาเลเซีย นายเลียว เทียงไหล ประกาศให้บริษัทที่จำหน่าย "น้ำเชื่อมรสสตอเบอร์รี่" (หนึ่งในส่วนผสมที่ใช้ในชาไข่มุกบางเมนู) หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากทดสอบแล้วพบว่า มีสารก่อมะเร็งดังกล่าวปะปนอยู่

 

ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2012 นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอาเคิน (RWTH) ในประเทศเยอรมันได้ทำการวิเคราะห์ส่วนผสมของชาไข่มุกเพื่อหาสารอาจที่ก่อให้เกิดการแพ้ ผลการตรวจสอบ พบว่า มีส่วนผสมของ สไตรีน, อะซีโตฟีโนน และ สารที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน หนังสือพิมพ์ในประเทศเยอรมัน Rheinische Post ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ดังกล่าว ส่งผลให้ตัวแทนในประเทศเยอรมันของทางไต้หวันต้องออกมาแถลงการณ์ กล่าวว่า จะมีการตรวจสอบอาหารทุกประเภทในไต้หวันอย่างละเอียด ต่อมา ในเดือนกันยายน องค์การอาหารและยาของไต้หวันได้ออกมาแจ้งผลการวิเคราะห์รอบสองซึ่งผ่านการควบคุมโดยองค์กรประเทศเยอรมัน พบว่า ชาไข่มุกของไต้หวันปลอดจากสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่พบส่วนผสมของโลหะหนัก หรือสารอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด

 

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 องค์การอาหารและยาของไต้หวันออกแถลงการณ์เรื่อง การตรวจพบกรดมาเลอิก (สารปรุงแต่งอาหารที่ยังไม่ผ่านการรับรอง) ในอาหารบางประเภทรวมถึงเม็ดไข่มุกสาคู ทั้งนี้ หน่วยงานตรวจสอบอาหารของประเทศสิงคโปร์ได้ทำการทดสอบ และตรวจพบเจอสารดังกล่าวในเม็ดไข่มุกสาคูของบางร้านค้า และในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย