Lifestyle

5 มิ.ย. "วันสิ่งแวดล้อมโลก" ก่อตั้งขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร

5 มิถุนายน "วันสิ่งแวดล้อมโลก" ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร ประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับอะไรบ้าง

"วันสิ่งแวดล้อมโลก" (World Environment Day) เป็นวันที่ได้รับการประกาศจาก องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี ในปีนี้มาในแนวคิด "Our land. Our future. We are #GenerationRestoration." "พลิกฟื้นผืนดิน สู้วิกฤตภัยแล้ง" สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์ จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ระดับโลกขึ้นที่ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน ในช่วงวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศสวีเดนเป็นประธานในการประชุมในครั้งนั้น

 

 

"วันสิ่งแวดล้อมโลก" นั้นก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" หรือ "UN Conference on the Human Environment" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,300 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่

 

ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีว่าเป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก"

 

 

วันสิ่งแวดล้อมโลก ภาพ freepik

 

การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนานาประการ ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเรื่อง อากาศ, การลดลงของประชากรสัตว์ป่า, การทำลายป่า, การชะล้างพังทลายของดิน, การขาดแคลนน้ำ และปัญหาขยะ ตามข้อมูลบ่งชี้ใน พ.ศ. 2547 ค่าใช้จ่ายด้าน มลพิษทางอากาศ และน้ำของประเทศมีขนาดเพิ่มขึ้นไปจนถึงที่ประมาณ 1.6–2.6 เปอร์เซนต์ของจีดีพีต่อปี การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผู้คนและ สิ่งแวดล้อม ดังที่ปรากฏ

 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ของประเทศไทยเตือนว่า "ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศกำลังเสื่อมโทรม และกลายเป็นจุดอ่อนในการรักษาพื้นฐานของการผลิต, บริการ และการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน มีการใช้ต้นตอทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากเพื่อการพัฒนา ส่งผลให้เกิดการกร่อนสลายอย่างต่อเนื่อง ป่าได้หมดลง และความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ในขณะที่แสดงความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคต การจัดหาน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ได้ ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดจากการจัดสรรของการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำให้กลายเป็นเมือง ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเพิ่มความเสียหายทางเศรษฐกิจมากขึ้น"

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ