ไขข้อสงสัย ดำเนินคดีอาญากับ คนบ้า หรือ คนป่วยจิตเวช ได้หรือไม่?
เปิดกฎหมาย คลายข้อสงสัย? ดำเนินคดีอาญากับ "คนบ้า" หรือ "คนป่วยจิตเวช" ได้หรือไม่ ตามกฎหมายรอดคุกได้จริงหรือ?
สำนักงานกิจการยุติธรรม เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับคนบ้า ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ติดคุกหรือได้รับโทษอย่างไร รวมไปถึงขั้นตอนในการพิสูจน์ว่าบุคลลักษณะใดเข้าข่ายคำนิยาม "คนบ้า"
โดย เฟซบุ๊กเพจ สำนักงานกิจการยุติธรรม โพสต์ข้อความระบุว่า กฎหมายน่ารู้ ดำเนินคดีอาญากับคนบ้าได้หรือไม่?
"อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา" เป็นคำกล่าวที่เตือนสติ เราทุกคนควรระมัดระวังบุคคลที่มีอาการสุ่มเสี่ยง สติฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ไม่ใช่เพราะสิ่งที่คนทั่วไปเขาคิดกันว่า “คนบ้าฆ่าคนไม่ผิด” และไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา เหมือนคนปกติ แต่เราห่วงใยในความปลอดภัยของทุกท่าน
ความรู้ เรื่อง การดำเนินคดีอาญากับ "ผู้ป่วยจิต" ที่ต้องผ่านกระบวนการตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวช เพื่อดำเนินคดีอาญา "คนบ้า" หรือ "ป่วยจิต"
ลักษณะแบบไหนที่กฎหมายถือว่า "บ้า"
"คนบ้า"
- คนที่ไม่รู้ผิดชอบชั่ว-ดี
- คนที่บังคับการกระทำและจิตใจตัวเองไม่ได้
- สติฟั่นเฟือน ป่วยจิต "คนบ้าบางเวลา"
- รู้ผิดชอบชั่ว-ดีอยู่บ้าง
- บังคับการกระทำและจิตใจตัวเองได้บ้าง
- สติไม่ฟั่นเฟือน
ผู้กระทำความผิดต้องตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวชว่า “บ้าจริง” หรือ “แกล้งบ้า” ทั้งก่อนและหลังการพิจารณาลงโทษ
- ถ้ามีเหตุเชื่อว่า “บ้า” ตำรวจ อัยการ และศาลนำตัวผู้กระทำความผิดไปตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวช
- ผลตรวจพิสูจน์ทางนิติจิตเวชระบุว่า “บ้าจริง” ศาลประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี
- คนบ้าที่ “ต่อสู้คดีได้” จะนำตัวไปรักษาอาการทางจิตที่โรงพยาบาล
- ขณะที่ “รักษาอาการทางจิตอยู่” ให้ประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี (ซ้ำอีกรอบ)
- หากคนบ้า “ต่อสู้คดีได้” นำตัวกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและลงโทษตามกฎหมาย
ความรับผิดทางอาญาของ "คนบ้า"
1.️กระทำความผิดขณะ "บ้า" + "เป็นคนบ้าจริง" = ไม่ต้องรับโทษ และนำตัวไปรักษาอาการทางจิต
2.️กระทำความผิดขณะ "บ้า" + "เป็นคนบ้าบางเวลา" = รับโทษ แต่ศาลจะลดโทษให้ก็ได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก : สำนักงานกิจการยุติธรรม