ไลฟ์สไตล์

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง  "เห็บลม"  ตัวเล็กแต่พิษร้าย อันตรายกว่าที่คิด

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง "เห็บลม" ตัวเล็กแต่พิษร้าย อันตรายกว่าที่คิด

21 มิ.ย. 2567

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง "เห็บลม" อันตรายกว่าที่คิด ตัวเล็กแต่พิษร้าย พร้อมเปิดอาการเมื่อถูกกัดเห็บกัด วิธีการรักษาต้องทำอย่างไร?

จากกรณีที่นักท่องเที่ยวบางกลุ่ม ไม่สนใจป้ายเตือนห้ามเดินลงโป่ง  เดินรุกล้ำเข้าไปในบริเวณพื้นที่โป่ง บริเวณทุ่งหญ้า ทางเข้าหอดูสัตว์หนองผักชี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นครราชสีมา เพื่อเข้าไปถ่ายรูปกับทุ่งหญ้าคา  ซึ่งโป่งเป็นแหล่งแร่ธาตุเสริมสำหรับสัตว์ป่า ซึ่งเปรียบเสมือนห้องครัวที่มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของสัตว์ป่า 

 

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง  \"เห็บลม\"  ตัวเล็กแต่พิษร้าย อันตรายกว่าที่คิด

แต่รู้ไหมว่าพื้นที่โป่ง หรือ บริเวณใกล้เคียง ยังมีสัตว์ตัวๆเล็กอีกหลายชนิดที่ฝังตัวอยู่ตรงนั้น รวมถึงเจ้า เห็บลม หรือแมงแดง เป็นเห็บขนาดเล็กที่มีขนาดตัวเท่าปลายเข็มและอาจปลิวไปตามลมได้ เห็บชนิดนี้ปรสิตที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ป่า โดยทั่วไปแล้วพบได้ในฤดูแล้งในเขตป่า ในเขตอุทยานแห่งชาติ เห็บลมเป็นสัตว์ที่กินเลือดสัตว์อื่นเช่น กวาง เก้ง  ผู้ที่นิยมท่องเที่ยวในป่าจึงอาจถูกเห็บลมกัดได้บ่อยครั้ง

อาการเมื่อถูกกัดเห็บลมจะเกาะติดอยู่ที่ผิวหนังโดยเราไม่รู้ตัว เป็น 3-4 วัน จะทำให้เกิดตุ่มแดงขึ้นเป็นหย่อม ๆ บนผิวหนัง บางคนที่มีอาการแพ้อาจเป็นไข้ทุกวัน รอบๆบริเวณที่ถูกกัดเป็นผื่นแดงเจ็บคัน เราควรสำรวจร่างกายทุกครั้งเมื่อกลับออกจากป่า หรือสวนสัตว์เปิด  ผู้ที่นิยมเดินป่าสามารถป้องกันเห็บลมกัดได้ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดเมื่อเข้าป่า หากถูกเห็บลมกัดแล้วเกิดการติดเชื้อหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอโดยเร็ว

 

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง  \"เห็บลม\"  ตัวเล็กแต่พิษร้าย อันตรายกว่าที่คิด

เห็บลม มีลักษณะอย่างไร

เห็บลม (Chigger) เป็นปรสิตสีแดงขนาดเล็ก อยู่ในตระกูลเดียวกับแมงมุมและเห็บ (Tick) เห็บลมมักเกาะอยู่ตามหญ้าแห้งหรือขอนไม้ในป่าและตามลำธาร หากมีเหยื่อเดินผ่าน เห็บลมจะใช้กรงเล็บขนาดเล็กยึดเกาะผิวหนังของเหยื่อ จากนั้นจึงเจาะผิวหนังและพ่นน้ำลายที่มีน้ำย่อยเพื่อละลายเซลล์ผิว และกัดกินเซลล์ผิวหนังซึ่งให้โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่อไป เห็บลมจะเกาะบนผิวหนังของเหยื่อเป็นเวลาหลายวัน ก่อนจะหลุดออกจากผิวของผู้ที่ถูกกัด และทิ้งรอยแดงเอาไว้

 

 

วิธีบรรเทาอาการเมื่อโดนเห็บลมกัด อาจทำได้ดังนี้

หากสังเกตเห็นรอยแดงขึ้นเป็นตุ่มๆ ในบริเวณที่ถูกกัด ให้ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นด้วยน้ำสบู่และน้ำเปล่า เพื่อกำจัดเห็บลมที่อาจยังเกาะอยู่บนผิวหนัง จากนั้นจึงทายาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังที่ถูกกัดหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาแผล เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามได้ ทายาแก้คันที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น โลชั่นคาลาไมน์  ครีมทาสเตียรอยด์ และอาจใช้น้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการคัน หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนจัด เพราะอาจทำให้ผิวแห้งและอาการคันรุนแรงขึ้นได้

 

วิธีป้องกันไม่ให้ถูกเห็บลมกัด

เห็บลมเป็นปรสิตที่รอเหยื่ออยู่ในพงหญ้าในป่าหรือตามแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงควรเดินป่าตามเส้นทางโล่งที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ให้ หลีกเลี่ยงการออกนอกเส้นทางและไม่เข้าไปใกล้ต้นไม้ใบหญ้าตามพื้นดินที่อาจมีเห็บลมเกาะอยู่ นอกจากนี้ ควรสวมเสื้อผ้าที่ปิดมิดชิด โดยเฉพาะบริเวณหัวเท้า คอเสื้อ แขนเสื้อ และขอบเอว เลือกสวมเสื้อแขนยาวที่สามารถสอดชายเสื้อเข้าไปในกางเกงได้และสวมกางเกงขายาวที่สามารถสอดชายกางเกงเข้าไปในถุงเท้าหรือรองเท้าได้  เพื่อป้องกันไม่ให้เห็บลมเข้าไปใกล้ผิวหนัง และหลังจากกลับเข้าที่พักแล้วควรซักเสื้อผ้าให้สะอาดด้วยน้ำร้อนเพื่อฆ่าเห็บลมหรือปรสิตอื่น ๆ ที่อาจติดเสื้อผ้ามาจากในป่า

 

 

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง  \"เห็บลม\"  ตัวเล็กแต่พิษร้าย อันตรายกว่าที่คิด

 

 

เดินป่า อยู่ใกล้โป่ง ต้องระวัง  \"เห็บลม\"  ตัวเล็กแต่พิษร้าย อันตรายกว่าที่คิด