ไลฟ์สไตล์

ชมความน่ารักของ "ลูกค่างแว่นถิ่นใต้"  ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

ชมความน่ารักของ "ลูกค่างแว่นถิ่นใต้" ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

10 ก.ค. 2567

ชมความน่ารักของ "ลูกค่างแว่นถิ่นใต้" ที่พบเจอในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง  โดยเป็นภาพของ แม่และลูกค่างแว่นถิ่นใต้อาศัยอยู่ในธรรมชาติ พร้อมเปิดข้อปฏิบัติเมื่อพบเจอค่างแว่นถิ่นใต้ เพื่อการป้องกันอันตรายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิเวศวิทยาของสัตว์ป่า

เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ได้แชร์ความน่ารักของ ลูกค่างแว่นถิ่นใต้  ที่พบเจอในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง  โดยเป็นภาพของ แม่และลูกค่างแว่นถิ่นใต้อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งเจ้าค่างแว่น เป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับมนุษย์มากนัก ขี้อาย และจะหลบหนีเมื่อพบกับมนุษย์ ในขณะที่ออกหากินเป็นฝูง จะมีอยู่ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เฝ้าคอยระวังภัยโดยนั่งดูเหตุการณ์บนต้นไม้เงียบๆ 

 

ชมความน่ารักของ \"ลูกค่างแว่นถิ่นใต้\"  ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

ซึ่งปกติแล้วค่างแว่นถิ่นใต้จะใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 140-150 วัน ช่วงระยะเวลาออกลูกประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถพบเห็นลูกค่างแว่นสีเหลืองทองได้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนี้ (มี.ค.ถึง ส.ค.) ก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะค่อยๆเปลี่ยนขนเป็นสีดำพร้อมๆกับความซุกซนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นก็ต้องรอเจอค่างแว่นตัวน้อยรุ่นใหม่อีกครั้งในปีถัดไป

 

ชมความน่ารักของ \"ลูกค่างแว่นถิ่นใต้\"  ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

ค่างแว่นถิ่นใต้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus obscurus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกค่าง ลักษณะทั่วไปคล้ายค่างแว่นถิ่นเหนือ (T. phayrei) คือ มีวงกลมสีขาวรอบตาเหมือนกับใส่แว่นอันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดของลำตัวยาว 45-57 เซนติเมตร หางยาว 66-78 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 6-9 กิโลกรัม ค่างโตเต็มวัยมีขนบริเวณด้านหลังสีเทาเข้มเกือบดำ ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าบริเวณปลายมือและปลายเท้ามีสีเทาเข้ม โคนขาและโคนแขนด้านนอกเป็นสีเทาจาง ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกค่างชนิดนี้ คือสีขนหางสีดำ ลูกที่เกิดใหม่สีขนจะเป็นสีทอง

 

ชมความน่ารักของ \"ลูกค่างแว่นถิ่นใต้\"  ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

 

ข้อปฏิบัติเมื่อพบเจอค่างแว่นถิ่นใต้ เพื่อการป้องกันอันตรายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ทั้งนี้ เพื่อให้แม่และลูกค่างแว่นได้อยู่อาศัยในธรรมชาติที่ปลอดภัย ไม่ถูกรบกวน เนื่องจากค่างแว่นเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับมนุษย์มากนัก ขี้อาย และจะหลบหนีเมื่อพบกับมนุษย์ ในขณะที่ออกหากินเป็นฝูง จะมีอยู่ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เฝ้าคอยระวังภัยโดยนั่งดูเหตุการณ์บนต้นไม้เงียบๆ

 

ชมความน่ารักของ \"ลูกค่างแว่นถิ่นใต้\"  ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

 

-ห้ามส่งเสียงดังและเว้นระยะห่าง ประมาณ 10-15 เมตร การเข้าใกล้จะรบกวนวิถีชีวิตสัตว์ป่า


-ห้ามให้อาหารทุกชนิดหรือแสดงพฤติกรรมในการหยิบยื่น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์ป่า


-เก็บอาหาร น้ำดื่ม ผลไม้และขนมขบเคี้ยว ไว้ในกระเป๋าอย่างมิดชิด ในขณะเดินศึกษาธรรมชาติไม่ให้สัตว์ป่ามองเห็นหรือได้กลิ่นที่จูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามธรรมชาติ