ไลฟ์สไตล์

เตือน 4 สารพิษอันตราย ฤทธิ์แรงกว่าไซยาไนด์ ตายได้แม้เพียงปลายเล็บ

เตือนไว้ให้ระวัง สารพิษอันตราย ฤทธิ์แรงกว่า "ไซยาไนด์" ตายได้แม้เพียงปลายเล็บ เผยวิธีสังเกตอาการ และช่วยเหลือเบื้องต้นหากถูกวางยาพิษ

จากเหตุสะเทือนขวัญ วางยาพิษ ฆาตกรรมชาวเวียดนาม 6 ศพ ดับสลดในห้องพักโรงแรมดังราชประสงค์ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 16 ก.ค. 2567 เวลาประมาณ 19.30 น.

 

สำหรับยาพิษที่ใช้ก่อเหตุ รายงานจากชุดสืบสวนนครบาล ระบุว่า ผลตรวจชันสูตรศพเบื้องต้น ผู้เสียชีวิต หมู่ใน โรงแรม หรูกลางกรุง ออกมาแล้ว 2 ศพแรก พบสาร ไซยาไนด์ (Cyanide) ในร่างกาย คาดเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต

 

โดยที่ผ่านมาเราได้ยินข่าว เกี่ยวกับการก่อเหตุฆาตกรรม วางยาพิษด้วยสาร ไซยาไนด์ (Cyanide) บ่อยครั้ง แต่มีสารพิษที่มีฤทธิ์แรงยิ่งกว่า ไซยาไนด์ (Cyanide) ที่ต้องเตือนให้ระวัง และวิธีสังเกตุเมื่อโดนพิษเข้าไป และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

ไซยาไนด์ (Cyanide)

ข้อมูลจาก medparkhospita สารเคมีที่มีพิษร้ายแรง ออกฤทธิ์ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับสารเข้าไป เสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ และความเข้มข้นของสารที่ร่างกายได้รับเข้าไป

 

สารพิษชนิดนี้จะไปทำปฏิกิริยายับยั้งเซลล์ในร่างกาย ไม่ให้สามารถใช้ออกซิเจนได้ ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถผลิตสาร ATP ที่ให้พลังงานได้เพียงพอ และเสียชีวิตในที่สุดสารพิษชนิดนี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งการสูดดม ผิวหนัง และรับประทาน

 

อาการเมื่อโดนพิษไซยาไนด์ (Cyanide)  

ระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง บวมน้ำ รู้สึกมึนงง เวียนศีรษะ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ ลมชัก หมดสติ อาเจียน ไตล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ หัวใจหยุดเต้น

 

วิธีการปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยโดนพิษไซยาไนด์ (Cyanide)  

  • หากไซยาไนด์สัมผัสกับผิวหนัง ให้รีบล้างออกทันทีด้วยสบู่และน้ำ โดยให้น้ำไหลผ่านผิวหนัง อย่างน้อย 15 นาที ผู้ที่ทำการช่วยเหลือควรป้องกันตนเองโดยการสวมชุดและหน้ากากป้องกัน และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • หากไซยาไนด์หกรดลงบนเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกโดยเร็ว หรือใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าส่วนนั้นออกเพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง
  • หากเข้าตาให้ล้างตาด้วยการเปิดน้ำสะอาด โดยให้ไหลผ่านดวงตาอย่างน้อย 15-20 นาที สำคัญที่สุดคือห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
  • หากรับประทาน ให้รีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ จากนั้นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศถ่ายเท โดยห้ามให้น้ำหรืออาหารกับผู้ป่วยเด็ดขาด หากผู้ป่วยหมดสติสามารถ CPR ช่วยเหลือได้ แต่ต้องระวังเรื่องการภายปอด และต้องติดต่อข้อมูลกับทีมแพทย์ตลอดเวลา

 

สารหนู (Arsenic)

เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายร้ายแรง และมีรายงานว่าสารพิษชนิดนี้ ถูกใช้วางยาพิษมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 โดยการบริโภคอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษชนิดนี้ในปริมาณมาก รวมถึงการสูดดมหรือสัมผัสกับผิวหนัง อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรืออันตรายถึงตายได้ สารพิษชนิดนี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งการสูดดม ผิวหนัง และรับประทาน

 

ปริมาณสารหนูที่ถือว่าอันตรายสำหรับร่างกายคนเราคือปริมาณ 1.5-500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่หากได้รับในปริมาณ 130 มิลลิกรัมก็ทำลายระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ลำไส้ และตับได้ หรือหากได้รับในปริมาณเล็กน้อยติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี อาจทำให้เกิดโรคพิษสารหนูเรื้อรังที่ส่งผลร้ายต่อผิวหนังและก่อให้เกิดมะเร็งได้

 

อาการเมื่อโดนพิษสารหนู (Arsenic)

ปวดท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นตะคริว คลื่นไส้ และอาเจียน ท้องเสีย เป็นเหน็บตามมือและเท้า เกิดรอยฟกช้ำเนื่องจากหลอดเลือดเสียหาย หมดสติ

 

วิธีการปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยโดนพิษสารหนู (Arsenic)

  • หากโดนพิษสารหนูผ่านการสูดดม ควรพาผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อให้หายใจนำอากาศที่ดีเข้าร่างกายมากขึ้น ทั้งนี้ ในบางกรณีอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วยและรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
  • หากโดนพิษสารหนูสัมผัสกับผิวหนัง ให้รีบถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่โดยสารหนู จากนั้นรีบล้างออกทันทีด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยให้น้ำไหลผ่านผิวหนัง อย่างน้อย 15 นาที
  • หากสารหนูเข้าตา เช่นกับโดนพิษไซยาไนด์ ให้ล้างตาด้วยการเปิดน้ำสะอาด โดยให้ไหลผ่านดวงตาอย่างน้อย 15-20 นาที สำคัญที่สุดคือห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
  • หากโดนพิษสารหนูผ่านการรับประทานอาหาร ให้รีบอาเจียนออกโดยทันที และอาเจียนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ดื่มน้ำในปริมาณมากๆ เพื่อเข้าไปช่วยเจือจางพิษที่อยู่ข้างใน และรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

สตริกนิน strychnine

ย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษที่ 16 ชาวเยอรมันได้ใช้ strychnine เพื่อฆ่าหนู สำหรับในประเทศไทย strychnine รู้จักกันในนามของยาเบื่อสุนัข และเคยมีผู้ป่วยที่ถูกลอบวางยา strychnine

 

สาร strychnine เป็นสารกลุ่ม alkaloid สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งทางระบบทางเดินอาหาร, เยื่อบุจมูก หรือ บริเวณที่ฉีดเข้าไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกระจายไปตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

 

 

อาการเมื่อโดนพิษสตริกนิน strychnine

ผู้ป่วยที่ได้รับ strychnine มักเกิดขึ้น ใน 10-20 นาทีหลังรับประทาน ผู้ป่วยอาจมีอาการกระตุกเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วไป จนถึงมีอาการชักได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการเกร็งจนตัวแอ่น โดยผู้ป่วยจะทรมาณเจ็บปวดขณะมีอาการเกร็งหรือกระตุกได้

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมาก ของการเกร็งตัวชนิดนี้คือ ทำให้เกิดการหายใจล้มเหลวและอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายตัว (rhabdomyolysis) จนเกิดไตวายตามมา และที่สำคัญ ไม่มียาแก้พิษสารพิษตัวนี้ หากโดนพิษสารชนิดนี้ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน 

 

 

สารปรอท (mercury)

สารพิษที่พบได้ในอุตสาหกรรมเป็นหลัก เช่น การทำสวิตช์กระแสไฟฟ้า การเผาไหม้อุตสาหกรรมถ่านหิน แบตเตอรี่ต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ อาทิ ปรอทวัดอุณหภูมิ นอกจากนี้ อาจพบสารปรอทปะปนอยู่ในอาหารได้ด้วย เช่น ในอาหารทะเล

 

สารปรอทเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการรับประทานหรือสูดดม เพราะมีคุณสมบัติเป็นของเหลวที่ระเหยเป็นไอน้ำได้ นอกจากนี้ ยาบางชนิดใช้สารปรอทเป็นส่วนประกอบ เช่น ยารักษาโรคซิฟิลิส ที่

 

 

อาการเมื่อโดนพิษจากสารปรอท

อาเจียน ปากพองแดงไหม้ อักเสบและเนื้อเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ มีอาการเลือดอออก ปวดท้องอย่างรุนแรง จากการถูกสารชนิดนี้กัดระบบทางเดินอาหาร อาการท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด เป็นลมหมดสติ และเมื่อสารเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ก็จะไปทำลายไต จนปัสสาวะไม่ออก หรือไม่ก็ปัสสาวะเป็นเลือด และเสียชีวิต หากสงสัยว่าตนเองเผลอกลืน สูดดม สัมผัสกับสารปรอท หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ หลังได้รับสารปรอทแล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยเร็ว 

 

 

 

ข้อมูลจาก : medparkhospital,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,nationtv

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม