ไลฟ์สไตล์

ค่าน้ำนม เพลงวันแม่ เนื้อเพลงซึ้งใจ ลูกป่วยเรื้อน แต่งให้แม่ผู้เป็นที่รัก

12 ส.ค. 2567

ค่าน้ำนม เพลงวันแม่ เนื้อเพลงซึ้งใจ ลูกป่วยเรื้อน แต่งให้แม่ผู้เป็นที่รัก ค่าน้ำนม เพลงวันแม่ เนื้อเพลงซึ้งใจ ลูกป่วยเรื้อน แต่งให้แม่ผู้เป็นที่รัก

“ค่าน้ำนม” เพลงสุดคลาสิกตลอดกาลสำหรับเทศกาลวันแม่แห่งชาติ ท่อนเปิดสุดซึ่งตั้งแต่คำแรกที่เปิดขึ้นมา “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง…” เพียงเท่านี้ก็ทำเอาหลายคนรู้สึกตื้นตันใจจนอยากระบายความรักที่อัดอึ้นอยู่ในใจออกมาเป็นน้ำตาแทนคำพูดที่ไม่อาจเอื้อนเอ่ยออกมาเพื่อบอกแทนความรู้สึก “รักแม่ได้ทั้งหมด

 

เนื้อหาของเพลง “ค่าน้ำนม” ที่ซึ่งกินใจมาตลอดกาล หลายคนรู้ถึงเนื้อเพลงทั้งหมด แต่น้อยคนจะรู้ถึงเรื่องราวเบื้อหลังของเนื้อเพลงแต่ละถ้อยคำที่แต่งออกมาจากความรักของ “ไพบูลย์ บุตรขัน” แต่มารดาผู้เลี้ยงดูเขามาอย่างดี และไม่รังเกียจเขาแม่แต่น้อยถึงเขาจะเป็น “โรคเรื้อน”

 

ค่าน้ำนม เพลงวันแม่ เนื้อเพลงซึ้งใจ ลูกป่วยเรื้อน แต่งให้แม่ผู้เป็นที่รัก

 

ประวัตเพลง ค่าน้ำนม 

 

ไพบูลย์ บุตรขัน ผู้ประพันธ์เพลง “ค่าน้ำนม” แต่งเพลงนี้ให้กับ นางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดา ที่ดูแลครูไพบูลย์อย่างใกล้ชิดมาตลอด ถึงแม้ครูไพบูลย์จะป่วยเป็นโรคเรื้อนซึ่งได้รับความรังเกียจจากบุคคลทั่วไป แต่ผู้เป็นแม่กลับไม่เคยรังเกียจ เขาเลยแม้แต่น้อย 

 

เพลงค่าน้ำนม เป็นหนึ่งในเพลงจำนวน 5-6 เพลง ที่ลูกชายคนนี้แต่งให้แม่ของเขา เพื่อเชิดชูความรักที่แม่มีต่อลูกอย่างมากมายมหาศาลและไม่มีเงื่อนไขใดๆ

 

เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงแรกที่ ชาญ เย็นแข ได้รับการบันทึกเสียง โดยในครั้งแรกครูไพบูลย์ตั้งใจจะให้บุญช่วย หิรัญสุนทรเป็นผู้ขับร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีศิวารมย์ของครูสง่า อารัมภีร แต่บุญช่วย หิรัญสุนทรเกิดป่วยไม่สามารถมาร้องได้ ครูสง่าจึงเสนอให้ชาญ เย็นแขซึ่งเป็นลูกศิษย์ มาขับร้องแทน

 

ในการขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรก ครูสง่า อารัมภีร เป็นผู้เล่นเปียโน บันทึกเสียงเพียงไม่กี่ครั้งก็ใช้งานได้ เรียบเรียงเสียงประสานโดย สง่า อารัมภีร และ ประกิจ วาทยกร (บุตรชายของพระเจนดุริยางค์) วางจำหน่ายเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2492 หลังจากแผ่นเสียงเพลงนี้ออกจำหน่าย ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 

 

ไพบูลย์ บุตรขัน ผู้ประพันธ์เพลง “ค่าน้ำนม”

เนื้อเพลง ค่าน้ำนม 

 

แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลัง
เมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่
กล่อมลูกน้อยนอนเปล
ไม่ห่างหันเหไปจนไกล

 

แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่
นี้แหละหนาอะไร
มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

 

ควรคิดพินิจให้ดี
ค่าน้ำนมแม่นี้
จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า
ลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสม
กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน

 

ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน
ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย

 

ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน
ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย

 

ประวัติ ครูไพบูลย์ บุตรขัน อัจฉริยะนักแต่งเพลง 

 

ไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อม ประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน

 

 

อ้างอิง 

wiki/ค่าน้ำนม

 

ไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา

 

อาการป่วย

 

ตั้งแต่วัยหนุ่ม ครูไพบูลย์ บุตรขัน ป่วยเป็นโรคเรื้อนและไม่มีเงินรักษาอย่างจริงจัง ครูไพบูลย์เก็บตัวเงียบไม่ออกสังคม โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดาจนนางพร้อมเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2508 แต่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง พาไปรักษาจนหายดี แต่ก็ยังมีร่างกายพิการ ต่อมาได้กลับมาเป็นโรคร้ายอีกครั้ง และใช้ยาเสพติดเพื่อบรรเทาอาการ และเข้าบำบัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกจนหายขาดในปี พ.ศ. 2502

 

ครูไพบูลย์ บุตรขัน สมรสกับ ดวงเดือน บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ร่วมงานกันและแต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 แต่ครูไพบูลย์ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ อาเจียนเป็นเลือด หลังจากนั้นไม่นาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (อายุ 56 ปี) มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2516