วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน น้ำผุด ขั้นตอนรับมือน้ำท่วมทั้งใน และนอกบ้าน
เตรียมพร้อม! เปิดวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน น้ำท่วม น้ำผุด ขั้นตอนรับมือทั้งใน และนอกที่พักอาศัย ช่วยลดความเสียหายของทรัพย์สิน อัปเดตวิธีการ และอุปกรณ์ล่าสุดประจำปี 2567
เตรียมพร้อมรับมือ "น้ำท่วม 2567" จากสาเหตุฝนตกหนัก น้ำหนุน หรือน้ำล้นตลิ่ง เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ป้องกันน้ำเข้าบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ เผยวิธีการ อุปกรณ์ และนวัตกรรมล่าสุด ดังนี้
สาเหตุของน้ำเข้าบ้าน
- พื้นบ้านต่ำกว่าถนน - หากที่พักอาศัยของคุณมีน้ำขังแทบทุกปีนี่คือปัญหาที่ต้องแก้ไขเพื่อไม่ให้ลุกลามคาราคาซัง นี่คือการรีโนเวทบ้านเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาวที่ควรทำทันที สามารถเลือกวิธีการได้ อาทิ ยกระดับพื้นบ้านใหม่, ติดตั้งระบบระบายน้ำ หรือปั๊มน้ำ , สร้างแนวป้องกันน้ำรอบบ้าน เป็นต้น
- ท่อระบายน้ำอุดตัน - นอกจากจะทำให้น้ำท่วมในบ้าน ยังก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ขั้นตอนแก้ไขเบื้องต้นคือการ ตรวจสอบคุณภาพของท่อเป็นประจำ หรือติดตั้งกรองท่อเพื่อป้องกันสิ่งของใหญ่ๆตกลงไปอุดในท่อ หรือหากท่อตันไปแล้วให้ใช้เบกกิ้งโซดา หรือสารเคมีทำความสะอาดท่อแก้ไขไปก่อน แต่หากยังไม่หายควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมแซมให้เรียบร้อย
- น้ำท่วม หรือน้ำผุด - ปัจจัยจากเหตุการณ์ธรรมชาตินี่แหละป้องกันให้ยากที่สุด การรับมือคือต้องเตรียมความพร้อมอยู่ตลอด โดยเฉพาะเหตุภัยพิบัติที่มวลน้ำมหาศาลจะโจมตีที่พักอาศัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหัวข้อนี้แหละที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้
วิธีการป้องกันน้ำเข้าบ้านจาก "ภายนอก"
อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมแนะนำ
กระสอบทราย
ใช้กระสอบทรายที่มีขนาดประมาณ 14-18 นิ้ว (35-45 ซม.) และมีน้ำหนักประมาณ 25-50 ปอนด์ (11-23 กก.) ขึ้นอยู่กับความต้องการ
เตรียมทราย :
ใช้ทรายที่มีความละเอียดปานกลางถึงหยาบ (ไม่ควรใช้ทรายละเอียดเกินไปหรือทรายเปียกเกินไป)
เครื่องมือที่ต้องใช้ :
จอบหรือพลั่วสำหรับบรรจุกระสอบทราย
วิธีการวางพื้นฐาน :
เริ่มโดยการวางกระสอบทรายในตำแหน่งที่ต้องการป้องกันน้ำ โดยให้แน่ใจว่าพื้นที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด
วางกระสอบทราย:
วางกระสอบทรายในแนวเรียงซ้อน โดยให้แน่ใจว่ากระสอบทรายวางแนบสนิทกัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านช่องว่าง
วางกระสอบทรายหลายชั้น :
หากต้องการความสูงมากขึ้น สามารถวางกระสอบทรายเป็นชั้นซ้อนกัน โดยเริ่มจากชั้นล่างสุดที่มีการจัดเรียงให้ดีและมั่นคง ก่อนที่จะวางกระสอบทรายชั้นถัดไป
ทำการอัดกระสอบทราย :
ให้แน่ใจว่ากระสอบทรายอัดแน่นพอสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้กระสอบหลุดออกจากกัน
ตรวจสอบและซ่อมแซม:
หลังจากวางกระสอบทรายแล้ว คอยตรวจสอบความแน่นและความมั่นคงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ากำแพงกระสอบทรายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดี : ราคาถูก , หาซื้อง่าย
ข้อเสีย : ประสิทธิภาพรับมวนน้ำได้ไม่มาก , มีโอาสรั่วสูง
กำแพง/ผนังกั้นน้ำ
นวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาให้สะดวกในการติดตั้ง ผลิตจากพลาสติก ABS เชื่อมต่อแน่นหนา ไอเดียเพื่อป้องกันน้ำท่วมโดยเฉพาะ "กำแพงกันน้ำ" สามารถนำไปติดตั้งบนพื้นที่มีน้ำท่วมที่ไหลบ่า ส่วนปลายขอบท่อจะกดแนวพื้นให้น้ำไม่ล้นออกไปจากส่วนกำแพงจนสร้างความเสียหายให้แก่ที่พักอาศัย
นอกจากนี้ยังมีกำแพงกั้นน้ำจากบานเหล็ก อิฐ คอนกรีต ให้เลือกติดตั้งตามความเหมาะสมของตัวบ้าน ซึ่งหลักๆแล้ววิธีป้องกันน้ำท่วมบ้านแบบนี้จะเน้นไม่ให้เกิดรอยรั่ว หรือน้ำซึมจากภายนอกนั่นเอง
ข้อดี : แข็งแรง ทนทาน ป้องกันน้ำเข้าบ้านได้ดีเยี่ยม
ข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายสูง , อาจกระทบโครงการรอบบ้าน, ใช้เวลาติดตั้งระยะหนึ่ง
วิธีการป้องกันน้ำเข้าบ้านจาก "ภายใน"
รูต่างๆ ช่องประตู รอยต่อขอบหน้าต่าง
สามารถใช้อุปกรณ์ง่ายๆอย่าง "ดินน้ำมัน" ไล่อุดรอย ช่องโหว่ แต่จะใช้ยาแนว หรือกาวร้อนก็ได้ตามความถนัดของคุณ เพียงแต่ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความละเอียดอย่างมาก
วิธีการป้องกันน้ำผุดจาก "ภายใน"
น้ำผุดจากท่อในบ้านคือสาเหตุหลักในภาวะน้ำท่วมเลย เพราะหากป้องกันไม่ดีจะทำให้ตัวบ้านเสียหายเป็นวงกว้าง การรับมือต้องเตรียมตัวไว้ก่อน มีวิธี ดังนี้
- อุดท่อระบายน้ำในห้องน้ำด้วยการวางกระสอบทรายทับ หรือหาผ้าหนาๆมายัดไม่ให้น้ำเอ่อล้นขึ้นมา วิธีนี้ใช้ช่วงฝนตก น้ำขัง หรือท่วมเล็กน้อยเท่านั้น
- ติดตั้งท่อพีวีซีขึ้นจากท่อให้สูงขึ้น วิธีนี้ใช้กับเหตุการณ์น้ำท่วมสูง แรงดันน้ำมีมาก ติดตั้งด้วยการฉาบปูน หรือแผ่นยางปิดรอยต่อรอบท่อให้หมด ซึ่งจะมีปกป้องจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีแรก
- ติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อดูดน้ำบริเวณบ้านออกไป ไอเดียนี้ใช้ร่วมกับการป้องกันน้ำท่วมจากภายนอก น้ำผุดภายใน และน้ำเข้าบ้าน เพื่อสูบน้ำในบ้านออกไปนอกบ้าน การเลือกซื้อต้องคำนึงถึงกำลังของเครื่องที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการดูดน้ำออกได้อย่างทันท่วงที