ไลฟ์สไตล์

กินแตงโมแช่ตู้เย็นนาน หมดสติ-โคม่า หามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต

กินแตงโมแช่ตู้เย็นนาน หมดสติ-โคม่า หามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต

29 ส.ค. 2567

จากกรณีมีหญิงชาวจีน กินแตงโมที่แช่ตู้เย็นไว้นานทำเธอ หมดสติ-โคม่า ต้องหามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต แพทย์ชี้สาเหตุจากแบคทีเรีย "นักฆ่าในตู้เย็น" ที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิต่ำถึง -20 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 1 ปี

เรื่องใกล้ตัวแต่ทำอันตรายถึงชีวิต จากการรายงานของเว็บไซต์ ETtoday เปิดเผยว่า หญิงจีนวัย 60 กว่า ได้กิน "แตงโมแช่เย็น" ที่เก็บไว้หลายวัน ทำให้มีไข้สูงและอาการแย่ลงจนหมดสติ มีไข้สูง มีอาการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ ใบหน้าอัมพาต ครอบครัวรีบนำส่งโรงพยาบาลและเข้าห้อง ICU  โดยทางแพทย์ตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียลิสเทอเรีย ได้เข้าสู่สมองของนางทำให้เกิดฝีในสมอง เป็นที่เข้าใจว่าอาการรุนแรงของเธอ เกิดจากการกินแตงโมที่เก็บไว้หลายวันก่อนหน้านี้  

 

กินแตงโมแช่ตู้เย็นนาน หมดสติ-โคม่า หามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต

ดร.ไช่ เสี่ยวเฟิง แพทย์ของโรงพยาบาลได้วิเคราะห์ว่า หลังจากที่แตงโมเข้าสู่กระเพาะ เชื้อลิสเทอเรียจะผ่านเยื่อเมือกในระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง แล้วกระจายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางทางกระแสเลือด  เชื้อลิสเทอเรียมักแพร่เชื้อผ่านทางอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ สัตว์ปีก อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม และผักต่าง ๆ ล้วนเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ อาการจะปรากฏภายใน 3 ถึง 7 วันหลังจากติดเชื้อ 

 

กินแตงโมแช่ตู้เย็นนาน หมดสติ-โคม่า หามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต

 

แม้ว่าการเก็บอาหารในตู้เย็นจะเป็นวิธีการถนอมอาหารที่สะดวก และได้ผลดี แต่ไม่ใช่ว่าอาหารทุกชนิดจะสามารถรักษาคุณภาพของอาหารด้วยการแช่ในตู้เย็นได้ เพราะความเย็นอาจทำให้คุณภาพของอาหารบางอย่างเสื่อมลง และอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ไม่ควรแช่ตู้เย็น คือแตงโม เพราะผลไม้ชนิดนี้มีน้ำเยอะ โมเลกุลของน้ำเมื่อโดนความเย็นจะมีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้เนื้อแตงโมมีอาการฉ่ำน้ำ ชุ่มน้ำ รสชาติแย่ลง เปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่าอาการสะท้านหนาว (Chilling Injury) ของการผลไม้ไปแช่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยแตงโมจะเกิดอาการสะท้านหนาวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 7 องศาฯ


 

กินแตงโมแช่ตู้เย็นนาน หมดสติ-โคม่า หามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต

 

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทดลองเก็บแตงโมในอุณหภูมิที่ต่างกัน ที่ 5, 13 และ 21 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 14 วัน พบว่าสารพฤกษเคมีกลุ่มแคโรทีนอยด์ทั้งไลโคปีน และเบต้าแคโรทีน ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง จะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งไลโคปีนที่เพิ่มขึ้นราว 11-40% ซึ่งไลโคปีนมีประโยชน์เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ในส่วนของเบต้าแคโรทีนจะเพิ่มขึ้นราว 50-139% มีประโยชน์ในเสริมสร้างภูมิคุมกันของร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ และดูแลหลอดเลือด ในทางตรงกันข้าม หากเก็บแตงโมไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียส ปริมาณสารเคมีเหล่านี้ก็จะมีปริมาณลดลง

 

วิธีเก็บรักษาแตงโม 

ข้อแนะนำในการเก็บรักษาแตงโมควรเก็บในอุณหภูมิห้อง แต่หากใครอยากกินแตงโมที่เนื้อเย็นๆ ก็สามารถนำไปแช่ตู้เย็นระยะเวลา 2 – 3 ชม. ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ความเย็นสดชื่น  

 

กินแตงโมแช่ตู้เย็นนาน หมดสติ-โคม่า หามส่ง ICU ภัยเงียบเสี่ยงชีวิต