เปิดประโยชน์ "ด้วงสาคู" สัตว์เศรษฐกิจภาคใต้ อร่อย โปรตีนสูง
รู้จัก "ด้วงสาคู" สัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเพาะเลี้ยงในภาคใต้ โดย "ตัวหนอน" ของด้วงงวงชนิดนี้ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจโปรตีนสูงที่เป็นอาหารของคน และสัตว์
เจ้าตัวเล็กดูนุ่มนิ่มสีเหลืองปนน้ำตาล (ในภาพ) คือตัวอ่อนของ "ด้วงงวงมะพร้าว" พวกมันถูกจัดเป็น "ศัตรูพืช" โดยเฉพาะ "มะพร้าว" โดยตัวอ่อนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ส่วนตัวที่โตเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรงจนเป็นสาเหตุให้มะพร้าวยืนต้นตายได้
อย่างไรก็ตามคุณค่าของ "ด้วงสาคู" ในเชิงเศรษฐกิจนั้นมีมาก โดยเฉพาะภาคใต้ที่นิยมเลี้ยงเชิงพาณิชย์ การดูแลก็ง่ายเพียงใช้กากมะพร้าวขูดเป็นอาหาร ใช้เวลาเลี้ยงดูประมาณ 1-2 เดือน ก็สามารถนำตัวอ่อนไปจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท สามารถสร้างรายได้อย่างงดงามสำหรับผู้ประกอบธุรกิจนี้
ประโยนช์ของ "ด้วงสาคู" และวิธีรับประทาน สรุปกินได้ไหม?
ถือเป็นแหล่งโปรตีนขั้นดีที่ประกอบด้วยสารอาหารหลายอย่าง อาทิ แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฯลฯ เป็นที่นิยมบริโภคของคนไทย และต่างชาติ สามารถนำไปลวกน้ำร้อนและนำมาประกอบอาหารทั้งผัด ทอด หรือส่งออกแปรรูปเพิ่มมูลค่าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
Cr. เกษตรกรรม.com, Wikipedia , สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์