ทำความรู้จัก เจ้าสัตว์ทะเลหน้าตาแปลก สิ่งมีชีวิตที่พบได้ยากในประเทศไทย
ตามลำตัวไม่มีหนามแหลมตัวกลมๆ สีดำมัน คล้ายกระเบื้องมุงหลังคาบ้าน สิ่งนี้คือตัวอะไร? มาทำความรู้จักเจ้าสัตว์ทะเลตัวนี้กัน สิ่งมีชีวิตที่พบได้ยากในประเทศไทย
สิ่งนี้มันคือตัวอะไร?
มันคือ "เม่นหมวกกันน็อค" ที่มีรูปร่างหน้าตาที่แปลกไปไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่นๆที่เห็นตามชายฝั่ง และยังจัดเป็นสัตว์ทะเลหายากในประเทศไทย ตามลำตัวไม่มีหนามแหลมเหมือนเม่นทะเลทั่วๆ ไป ลักษณะเป็นแผ่นหรือเกล็ดคลุมลำตัว คล้ายกระเบื้องมุงหลังคาบ้าน
เม่นหมวกกันน็อค เป็นหอยทะเลหรือเม่นทะเล ?
เม่นหมวกกันน็อค หรือ เม่นหมวกเหล็ก (Colobocentrotus atratus) พวกมันไม่ใช่ “หอย” แต่เป็น “เม่นทะเล” ซึ่งจัดเป็น ซึ่งจัดเป็นสัตว์ในกลุ่มผิวลำตัวเป็นหนาม (Echinoderm) เช่นเดียวกับ ดาวทะเล ดาวขนนก ดาวเปราะ
มีแรงยึดเกาะที่ดี
สืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค Santos & Flammang (2007) โดยพบว่า เม่นหมวกกันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพความเร็ว 27.5 เมตรต่อวินาที คือเป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น
ถึ่นที่อยู่อาศัย
หอยเม่นหมวกกันน็อค พบได้ทั่วไปตามโขดหินตามชายหาดที่มีคลื่นซัดถึง ในแถบ Indo-West Pacific และฮาวาย สามารถพบได้ทั่วไปในเขต อินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยจะพบได้ยากมาก โดยมีรายงานการพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และครั้งที่สองในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ นักวิชาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งทั้งสองครั้งพบที่เกาะราชา จ.ภูเก็ต
ที่มา ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช