ไลฟ์สไตล์

ชวนดู "ดาวหางแอตลัส" ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและใกล้โลกที่สุด

ชวนดู "ดาวหางแอตลัส" ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและใกล้โลกที่สุด

13 ม.ค. 2568

ชวนดู "ดาวหางแอตลัส" ที่จะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 13 มกราคม และเป็นวันที่ใกล้โลกที่สุด สามารถเห็นได้ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 15 มกราคม 2568

 

ดาวหางแอตลัส  จะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 13 มกราคม 2568 ประมาณ 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย (และเป็นวันที่ใกล้โลกที่สุด) เบื้องต้นคาดว่าช่วงที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอาจมีโชติมาตรประมาณ -5 หรือใกล้เคียงดาวศุกร์ แต่ขณะนั้นดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ห่างดวงอาทิตย์เพียง 5° เท่านั้น ขึ้นและตกลับขอบฟ้าพร้อมกับดวงอาทิตย์ จึงไม่สามารถสังเกตได้ภายใต้ฟ้ามืด สิ่งที่ต้องตระหนักอยู่เสมอคือการพยากรณ์ความสว่างของดาวหางมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้สูง โดยเฉพาะกับดาวหางคาบยาวหรือดาวหางไม่มีคาบอย่างดาวหางแอตลัส หากนิวเคลียสของดาวหางมีขนาดเล็ก ก็มีโอกาสที่ดาวหางจะแตกและสว่างน้อยกว่าที่คาดไว้

 

 

ชวนดู \"ดาวหางแอตลัส\" ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและใกล้โลกที่สุด

 

 

ช่วงวันที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวหางมีเส้นทางปรากฏในภาพถ่ายคอโรนากราฟของหอสังเกตการณ์โซโฮ จากการคำนวณผู้เขียนคาดว่าดาวหางจะเริ่มปรากฏในภาพของกล้อง LASCO C3 ในวันที่ 11 มกราคม 2568 (เวลาประมาณ 6 น. ตามเวลาสากล หรือ 13 น. ตามเวลาประเทศไทย) และเห็นได้ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 15 มกราคม

 

 

ชวนดู \"ดาวหางแอตลัส\" ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและใกล้โลกที่สุด

 

การสังเกตดาวหางแอตลัสบนท้องฟ้าประเทศไทยเป็นไปได้ยาก ทั้งก่อนและหลังจากที่ดาวหางผ่านใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด เนื่องจากดาวหางมีตำแหน่งอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก ดาวหางขึ้นเหนือขอบฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น จึงมีแสงอรุณรุ่งรบกวน ข้อจำกัดนี้ทำให้ต้องหาสถานที่ซึ่งขอบฟ้าด้านที่ดาวหางปรากฏไม่มีสิ่งใดบดบัง อาจต้องอยู่บนที่สูงหรือใกล้ชายฝั่งทะเลที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แต่บรรยากาศโลกที่หนาแน่นในบริเวณใกล้ขอบฟ้าจะลดทอนความสว่างของดาวหางลงมาก รวมไปถึงท้องฟ้าฉากหลังที่ไม่มืด ทำให้สังเกตดาวหางด้วยตาเปล่าได้ยาก แนะนำให้สังเกตด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

 

ชวนดู \"ดาวหางแอตลัส\" ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและใกล้โลกที่สุด

ที่มา: สมาคมดาราศาสตร์ไทย