ไลฟ์สไตล์

"หักข้อนิ้ว" ดังกร๊อบ เสียง นั้น เกิดจากอะไร ทำ ข้อนิ้วมือ ใหญ่ จริงหรือไม่

"หักข้อนิ้ว" ดังกร๊อบ เสียง นั้น เกิดจากอะไร ทำ ข้อนิ้วมือ ใหญ่ จริงหรือไม่

15 ก.ย. 2565

เคยสังเกตกันบ้างหรือเปล่าว่า เวลาที่เราเล่น "หักข้อนิ้ว" หรือ หักนิ้ว จนเสียงดังกร๊อบ สรุปแล้วเกิดจากอะไร แล้วทำให้ ข้อนิ้วมือ ใหญ่ จนได้รับ อันตราย จริงหรือไม่

"หักข้อนิ้ว"หรือ ดึงข้อนิ้วมือ จนเกิดเสียงดัง กร๊อบ เชื่อว่าหลายคน น่าจะชอบทำจนเกิดความเคยชิน ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่รู้สึกเมื่อยล้าจากการใช้งานนิ้วมือติดต่อกันเป็นเวลานาน ช่วงเวลาที่ต้องใช้ความคิดมาก ๆ หรือช่วงที่รู้สึกเครียด เพราะทำแล้วรู้สึกสบาย เลยทำบ่อย ๆ แต่คนที่ไม่เคยหักข้อนิ้วมาก่อน ก็กลัวว่ากระดูกนิ้วจะหัก หรือบางคนก็เชื่อว่า การหักนิ้วบ่อย ๆ จะทำให้ข้อนิ้วมือใหญ่ แล้วความเชื่อดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ มาไขคำตอบกัน

เสียงดังจากการ "หักข้อนิ้ว" เกิดจากอะไร


ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลว่า เสียงดัง กร๊อบ หรือเสียงดัง เป๊าะๆ ที่ได้ยิน เกิดจากการเสียดสีกันของเยื่อบุข้อต่อ ที่ขบกัน และทำให้มีเสียง ถ้าเทียบกับ เวลาเรานั่งรถยนต์ที่โช๊คอัพ ไม่ค่อยดี เวลารถวิ่งผ่านลูกระนาดตามถนน ขึ้นและลง เราจะได้ยินเสียง เอี๊ยด ๆ อย่างไรอย่างนั้น ข้อต่อของร่างกายเราทุกข้อ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จะมีเยื่อบุข้อ ที่เรียกว่า Synovial membrane ซึ่งภายในช่องว่างระหว่างเยื่อบุข้อจะมีน้ำหล่อลื่นอยู่ ซึ่งทั้งเยื่อบุข้อต่อ และ น้ำหล่อลื่น ทำให้เราเวลาขยับข้อต่าง ๆ เพื่อเคลื่อนไหว จะง่ายและสะดวก ไม่เจ็บ

 

 

เวลาที่ข้อต่อเริ่มเสื่อม จะเกิดปรากฏการณ์ 2 อย่าง คือ เยื่อบุข้อต่อ ยืดออก หย่อน และ น้ำในข้อน้อยลง (เราได้ยินหมอพูดบ่อย ๆ เกี่ยวกับข้อเข่า คือ น้ำในข้อน้อยลง) เมื่อไหร่ก็ตามที่เยื่อบุข้อต่อ(Synovial membrane) หย่อน ถึงแม้น้ำในข้อจะเท่าเดิม การรองรับการเคลื่อนไหวก็ทำได้น้อยลง เหมือนเอาน้ำปริมาณเท่าเดิมใส่ในขวดน้ำที่ใหญ่ขึ้น (เนื่องจากปริมาตรในข้อต่อเป็นบริเวณที่ปิด ถ้าผนังยืดออก ปริมาตรก็จะเพิ่มขึ้น จุน้ำได้เยอะขึ้นเหมือนขวดน้ำที่ใหญ่ขึ้น) เมื่อน้ำเท่าเดิมในบริเวณที่กว้างขึ้นใหญ่ขึ้น เวลา ขยับ ก็จะมีเสียงเหมือนน้ำกระฉอก เกิดเสียงดัง เวลา หักข้อนิ้วมือ

หักข้อนิ้ว

หักข้อนิ้วบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่

 

ทางการแพทย์ยังไม่พบหลักฐานว่า การหักนิ้ว สามารถส่งให้ข้อกระดูกใหญ่ขึ้น หรือเกิดการอักเสบได้ รวมถึงยังมีงานวิจัยพบว่า การหักนิ้วบ่อย ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจไม่เกี่ยวข้อง หรือส่งผลให้ข้อนิ้วเกิดการอักเสบ หรือมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บางกรณีพบว่า การหักข้อนิ้ว หรือดึงนิ้วอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้กระดูกหลุดจากข้อต่อ หรืออาจส่งผลให้เส้นเอ็นบริเวณข้อนิ้วเกิดการบาดเจ็บได้ รวมถึงยังมีงานวิจัยเก่า ๆ พบว่า ผู้ที่หักข้อนิ้วเป็นประจำ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการมือบวม และแรงบีบมืออ่อนแรงลง แต่พบได้น้อยราย

 

 

แม้การหักข้อนิ้วอาจไม่ส่งผลให้ข้อนิ้วใหญ่ขึ้น หรือเกิดการอักเสบ แต่การหลีกเลี่ยงการหักนิ้วก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ใครที่ติดนิสัยชอบหักนิ้วเป็นประจำ อาจลองใช้วิธีกำลูกบอลยางบ่อย ๆ เพื่อให้มือไม่ว่างหรือพยายามเตือนตัวเองบ่อย ๆ เมื่อกำลังจะหักนิ้ว นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการบ่อย ๆ หากพบอาการปวดมือ หรือปวดตามข้อนิ้วมือ มือบวม หรือข้อนิ้วเริ่มมีลักษณะผิดรูป ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของโรคหรือภาวะผิดปกติบางอย่างได้

หักข้อนิ้ว

ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ ย้ำว่า การสะบัดคอ หรือ หักข้อนิ้ว แล้วมีเสียง จึงไม่ใช่เรื่องดี แสดงว่า ข้อนั้นเริ่มมีการเสื่อม หรือ หลวม และการที่ยิ่งไปสะบัดแรง ๆ หรือ หักข้อนิ้ว จึงทำให้เยื่อบุข้อต่อได้รับอันตราย และ หลวมยิ่งขึ้นไปอีก ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก ไม่ควรทำ แม้การได้ยินเสียง เราอาจจะคิดว่ารู้สึกดี แต่ที่จริง กลับเป็นอันตราย

 

ข้อแนะนำ

วิธีการที่ถูก คือ การบริหารกล้ามเนื้อ ที่ดูแลการเคลื่อนไหวของนิ้ว ให้แข็งแรงขึ้น เพื่อที่เวลาเคลื่อนไหว จะได้มีตัวช่วยรองรับน้ำหนัก หรือ จัดให้การเคลื่อนที่ของข้อต่อไม่ออกนอกทิศทาง การบาดเจ็บ หรือ การเสื่อมของข้อ ก็จะลดลง ดังนั้น การหักข้อนิ้ว นอกจากไม่ช่วยให้อะไร ๆ ให้ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นอันตรายกับเยื่อบุข้อต่อด้วย

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote 

https://www.komchadluek.net/entertainment/524524