ไลฟ์สไตล์

รู้จัก "ออฟฟิศซินโดรม" โรคยอดฮิตของคนออฟฟิศ ต้องป้องกันยังไงถึงจะไม่เป็น

รู้จัก "ออฟฟิศซินโดรม" โรคยอดฮิตของคนออฟฟิศ ต้องป้องกันยังไงถึงจะไม่เป็น

23 ก.ย. 2565

รู้จัก "ออฟฟิศซินโดรม" โรคยอดฮิตของคนออฟฟิศ ต้องป้องกันยังไง นั่งทำงานแบบไหนถึงจะไม่เป็น พร้อมวิธีรักษาเพื่อลดอาการปวด

"ออฟฟิศซินโดรม" หรือกลุ่มอาการ ปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับ คอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับ อาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด "ออฟฟิศซินโดรม" ได้

 

อาการของ "ออฟฟิศซินโดรม"

 

1. ปวดกล้ามเนื้อ บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีน้อยไปหามากซึ่งมักจะทำให้เกิดความรำคานต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน

 

2. อาการทาง ระบบประสาท ที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

 

การป้องกันเพื่อลดปัญหา "ออฟฟิศซินโดรม"

 

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" ประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหา "ออฟฟิศซินโดรม"

 

1. การปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

2. ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที

3. ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน

4. เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การ ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก, การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

อาการปวดหลัง

 

การรักษาอาการ "ออฟฟิศซินโดรม"

 

ปัจจุบันการรักษาอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" มีอย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะทำการรักษาเพื่อลดอาการปวดอักเสบ หรือลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ เนื่องจากมักพบผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาเป็นระยะปวดเรื้อรัง ดังนั้นการวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีในการรักษาคือ

 

การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการ กระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อ และกระดูก ประมาณ 10 เซนติเมตร คลื่นไฟฟ้าดังกล่าวจะกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด และช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น 

 

โดยสามารถบำบัดได้ทั้งบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง ไหล่ ขา เข่า หรือแม้กระทั่งข้อเท้า หรือแม้แต่กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกไขข้อ ล้วนแล้วแต่สามารถบำบัดได้ด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ และรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่ทำการรักษา โดยไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด เห็นผลทันทีหลังการรักษา และยังสามารถบำบัดอาการที่ปวดจาก ระบบเส้นประสาท และไม่ใช่ เส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อ และกระดูก

 

ข้อดีของการรักษา

 

1. ขณะทำการรักษาผู้ป่วยอาจพบอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ แต่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด และสามารถทำเป็นครั้งๆ โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล

2. เห็นผลการบำบัดทันทีหลังการรักษา

3. ใช้เวลาในการรักษาน้อยมาก ประมาณ 5 – 10 นาที ต่อ 1 จุดในการรักษา

4. รักษาได้ผลทั้งในระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง

 

ข้อควรระวัง

 

เครื่อง กระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความปลอดภัยมากและผลข้างเคียงต่ำ แต่ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วย

 

1. มีอาการชักมาก่อน

2. มีโลหะฝังอยู่ที่บริเวณสมอง เช่น คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น

3. ฝังอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ เช่นเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

โรคออฟฟิศซินโดรม

คำแนะนำหลังการรักษา

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับความแรงที่เกิดขึ้นนอกจากตะคริวแล้ว กล้ามเนื้อที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน ซึ่งแต่เดิมไม่เคยได้ออกแรงหรือใช้งาน ในวันรุ่งขึ้นบางรายอาจเกิดการระบมเหมือนออกกำลังกายมากเกินไป เนื่องจากเกิดการระบมในตำแหน่งที่ทำการรักษาซึ่งไม่มีผลเสียอะไร พอได้พักผ่อนหลังจากเข้ารับการรักษาประมาณ 2-3 วันแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติ

 

นอกจากการรักษา โรคออฟฟิศซินโดรม ด้วยเครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)  แล้ว ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูยังมีหลากหลายเครื่องมือ หรือการรักษาเพื่อช่วยในการรักษาอาการปวดเรื้อรังจากโรคออฟฟิศซินโดรมให้คุณมีคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น อาทิ

 

1. การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) 

2. การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อมีการซ่อมแซมในบริเวณที่มีการบาดเจ็บ Shock Wave Therapy ทั้งชนิด Focus และ Radial

3. การรักษาเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการใช้ High Laser Therapy

4. การยืดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด ซึ่งมีประโยชน์ทั้งการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้

5. การฝังเข็มโดยแพทย์ผู้เชียวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

6. การรับประทานยา

ออฟฟิศซินโดรม

 

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลสุขุมวิท

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w


เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote ได้ที่นี่


(https://awards.komchadluek.net/#)