เช็คลิสต์ อาหาร ต้าน "อนุมูลอิสระ" เลือกทานให้ดีลดโรค ชะลอวัย
เช็คลิสต์ อาหาร ต้าน "อนุมูลอิสระ" เลือกรับประทานให้ถูกช่วยลดโรค ชะลอวัย รู้ทันปัจจัยทำให้สารอนุมูลอิสระในร่างกายที่มากเกินไป
หลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยพูดกันบ่อย ๆ สำหรับคำว่า "อนุมูลอิสระ" แต่เรารู้จริง ๆ หรือไม่ว่า "อนุมูลอิสระ" ไม่ได้ทำให้เราดูแก่ไวขึ้นเท่านั้น แต่ สารอนุมูลอิสระ ยังทำให้ร่างกายต้องเผชิญกับภาวะเจ็บป่วย หรือ โรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Bluzone ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กด้านสุขภาพ และความงาม ระบุว่า "อนุมูลอิสระ" คือ อะตอมหรือโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนที่ไม่เป็นคู่อย่างน้อยหนึ่งตัวโคจรรอบวงนอกสุด โดยปกติในร่างกายของคนเราจะมีโมเลกุลหรืออะตอมที่มีอิเล็กตรอนอยู่เป็นจำนวนคู่ การขาดคู่ทำให้อนุมูลอิสระเกิดความไม่เสถียรและไวต่อการเกิดปฏิกิริยาอย่างมาก
รู้หรือไม่ "อนุมูลอิสระ" อันตรายกับร่างกายอย่างไรบ้าง
สารอนุมูลอิสระ เกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน นอกจากจำทำให้ร่างกายดูแก่ลงแล้ว เจ้า "อนุมูลอิสระ" ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายในส่วนอื่น ๆ ด้วย
- ปัจจัยภายใน เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ กระบวนการเผาผลาญสารอาหารและสร้างพลังงานภายในเซลล์ การปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร เป็นต้น
- ปัจจัยภายนอก เช่น การเผชิญแสงแดด มลพิษ ฝุ่นควัน ควันบุหรี่ สารเคมีจากอุตสาหกรรม สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ก๊าซโอโซนที่ถูกนำมาใช้ทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ในบ้าน ยารักษาโรคบางชนิด เครื่องสำอาง อาหารที่ทอดหรือปิ้งย่างจนไหม้เกรียม การดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด เป็นต้น โดยร่างกายอาจได้รับสารที่ประกอบด้วยอนุมูลอิสระจำนวนมาก หรือสารดังกล่าวอาจไปกระตุ้นให้เซลล์ของร่างกายผลิตอนุมูลอิสระมากขึ้นได้
สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายมีสาร "อนุมูลอิสระ" คือการ สารต้านอนุมูลอิสระ
โดย สารต้านอนุมูลอิสระ สารที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ หากเราได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอ สารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปป้องกันหรือแย่งที่จับกับอนุมูลอิสระ และนำอนุมูลอิสระเหล่านั้นออกไปทิ้งนอกเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่ถูกทำลาย
สารอาหารที่เป็นแหล่งสารต้าน "อนุมูลอิสระ" สูงได้แก่
- วิตามินซี พบมากในผลไม้จำพวกส้ม ฝรั่ง
- วิตามินอี พบได้ในอาหาร เช่น ถั่ว ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ไข่ ขนมปังโฮลวีท ซีเรียลชนิดโฮลเกรน
- แอนโธไซยานิดิน พบมากในผลไม้ในกลุ่มเบอร์รี
- เบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ พบมากในผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอ ผักคะน้า ผักตำลึง
- ไลโคปีน พบมากในผลไม้ที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม โค
- เอนไซม์คิวเท็น สารประกอบโฟลีฟีนอลต่างๆ
- ฟลาโวนอยด์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ขาเขียว เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูล : Bluzone
ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote ได้ที่นี่