ไลฟ์สไตล์

"ภาวะลำไส้รั่ว" ภัยเงียบทำป่วยหลายโรค เช็คสัญญาณเตือนก่อนป่วยหนัก

"ภาวะลำไส้รั่ว" ภัยเงียบทำป่วยหลายโรค เช็คสัญญาณเตือนก่อนป่วยหนัก

30 ก.ย. 2565

รู้จัก "ภาวะลำไส้รั่ว" ภัยเงียบทำป่วยซ้ำซ้อนหลายโรค เช็คอาการเบื้องต้น สัญญาเตือน และวิธีดูแลตัวเองก่อนป่วยหนักแบบไม่รู้ตัว

"ภาวะลำไส้รั่ว" (Leaky Gut Syndrome) หรือ ภาวะการดูดซึมของ ลำไส้ ผิดปกติ มีสาเหตุมาจากเยื่อบุผนังลำไส้ทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะเรียงติดกัน เพื่อป้องกัน คัดกรอง และควบคุมสารพิษ รวมทั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่กระแสเลือดหากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้อักเสบ แต่ "ภาวะลำใส้รั่ว" จะเกิดการปล่อยให้อาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์และของอันตรายอย่างสารพิษผ่านไป แต่เยื่อบุลำไส้ของคนที่มี อาการลำไส้รั่ว จะไม่เรียงอักเสบเสียหายและมีรูอยู่ระหว่างเซลล์ผนังลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี
 

อาการของ "ภาวะลำไส้รั่ว" เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ด้วยตาว่าร่างกายกำลังเผชิญกับ "ภาวะลำไส้รั่ว" หากไม่ทำการตรวจวินิจฉัย เอ็กซเรย์อย่างละเอียด แต่หากเรากังเป็นภาวะดังกล่าว จึงสามารถสั่งเกต อาการลำไส้รั่ว ได้ดังนี้ 
 

  • ปวดศีรษะหรือปวดตามข้อต่าง ๆ
  • มีแก๊สในอวัยวะระบบทางเดินอาหารมากผิดปกติ
  • ไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
  • แพ้อาหารแฝง
  • ปวดท้องบ่อยๆ
  • ท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องผูก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป
  • ท้องอืดอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ
  • เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียแม้ว่าจะแพ้ได้รับการผ่อนอย่างเพียงพอ
  • มีผื่นคัน
  • น้ำหนักขึ้นผิดปกติ
  • มือและเท้าเย็น

ผลข้างเคียงจาก "ภาวะลำไส้รั่ว" คือร่างกายจะได้รับสารอาหารได้น้อยลง ในผู้ป่วยบางรายเริ่มขาดสารอาหาร ร่างกายยังเกิดการอักเสบมากขึ้น เพราะได้รับสารพิษและสารก่อความอักเสบสะสม หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะเกิดความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมา หรืออาจเกิดโรค ทั้งนี้ "ภาวะลำไส้รั่ว" อาจเป็นต้นเหตุของอาการต่อไปนี้

  • ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
  • ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ระบบเผาผลาญเสียหาย น้ำหนักขึ้นได้ง่าย เสี่ยงโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • สิวอักเสบเรื้อรัง
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดตามตัวและข้อ
  • ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรคเซลิแอค
  • อาการแพ้อาหาร
  • ภาวะขาดสารอาหาร

 

การรักษา "ภาวะลำไส้รั่ว" สามารถรักษาให้หายได้ทั้งการพบแพทย์ และดูแลตัวเอง โดยเฉพาะการปรับรูปแบบการรับประทานอาหาร งดอาหารบางประเภท เพื่อรักษาสมดุลของ ลำไส้ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
 

  • ลดการรับประทานแป้ง และน้ำตาลขัดขาว
  • เลือกรับประทานข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท และน้ำตาลทรายแดง
  • รับประทานอาหารให้หลากหลายขึ้น เพื่อลดการได้รับสารเคมีชนิดเดียวนานๆ
  • เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

ขอบคุณข้อมูล : petcharavejhospita,Bluzone

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w