ไลฟ์สไตล์

รับมือ 'สังคมผู้สูงอายุ' เชิงรุกด้วยสุขภาพที่ยั่งยืน

รับมือ 'สังคมผู้สูงอายุ' เชิงรุกด้วยสุขภาพที่ยั่งยืน

25 เม.ย. 2566

เนื่องจากสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่ 'สังคมผู้สูงอายุ' ในปี 2568 ตามสถิติต่างๆ จะเป็นไปได้ที่เราคนไทยจะต้องเตรียมการรับมือในสถานการณ์ดังต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน

จากคำนิยามเราเข้าใจว่า ‘สังคมผู้สูงอายุ’ คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง อย่างสิงคโปร์มีสัดส่วนของผู้สูงอายุใกล้เคียงกับไทย และเป็นสังคมผู้สูงอายุ เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ญี่ปุ่นมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด

 

จากสถิติข้อมูลในปี 2019 จำนวนประชากรโลก 7,713 ล้านคน พบว่า ประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงถึง 1,016 ล้านคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติยังได้คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลก

 

รับมือ \'สังคมผู้สูงอายุ\' เชิงรุกด้วยสุขภาพที่ยั่งยืน

 

สำหรับประเทศไทยช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในวัยนี้ให้มากขึ้น คาดว่าในปี 2576 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

 

ข้อมูลของ United Nations World Population Ageing กล่าวว่า ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ที่ไม่สามารถใช้แรงงานตนเองเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตัว ซึ่งก็คือเด็กและผู้สูงอายุ มีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงานไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

 

  • สังคมผู้สูงอายุ จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป
  • สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ขึ้นไป

 

 

รับมือ \'สังคมผู้สูงอายุ\' เชิงรุกด้วยสุขภาพที่ยั่งยืน

 

จึงเป็นเหตุผลที่คนไทยอย่างเราจะต้องตระหนักและรับรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์นี้ เนื่องจากสังคมไทยกำลังจะเข้าสังคมผู้สูงอายุในปี 2568 หรืออีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าแล้ว ตามสถิติต่างๆ จะเป็นไปได้ที่เราคนไทยจะต้องเตรียมการรับมือในสถานการณ์ดังต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน

 

  • อายุของคนไทยจะยืนยาวขึ้นปัจจุบันมีการเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 75 ปี แต่ในปี 2568 อายุของคนไทยโดยประมาณจะอยู่ที่ 85 ปี ยิ่งอายุยาวนานขึ้น ทำให้ยิ่งต้องเตรียมเงินเยอะขึ้น
  • ค่าครองชีพทำให้ของแพงขึ้น ด้วยเงินเฟ้อในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 4% ปัจจุบันข้าวจานละ 40 บาท อีก 20 ปีข้างหน้าเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงจานละ 90 บาท ทุกอย่างแพงขึ้น 2 เท่า เงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้น ทำให้ค่าเงินในอนาคตลดลงด้วย
  • ค่ารักษาพยาบาลมีแต่แพงขึ้นปีละ 5-8% ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเบียดเบียนเงินเก็บสำหรับผู้สูงวัยมากที่สุด ผู้สูงอายุเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลต่อการเข้าโรงพยาบาลหนึ่งครึ่ง อยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท และจะสูงกว่าคนไม่สูงอายุอยู่ประมาณหมื่นกว่าบาท
  • โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง ยิ่งครอบครัวยุคใหม่มีลูกคนเดียวมากขึ้น จำนวนประชากรวัยทำงานก็มีน้อยลง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง ทำให้เศรษฐกิจก็จะโตช้าลงด้วย
  • เงินเก็บหลักเกษียณไม่เพียงพออีกต่อไป ปัญหานี้อาจจะน่ากลัวที่สุด ลองคิดแบบง่ายๆ ถ้าเราอายุ 40 ปี ต้องการเงินใช้หลังเกษียณปีละ 240,000 บาท แต่มูลค่าเงินในปัจจุบัน ต้องการเกษียณอายุ 60 ปี หรือ อีก 20 ปี จากเงิน 240,000 บาทที่จะต้องมี จะกลายเป็นเงิน 530,000 บาทเนื่องจากเงินเฟ้อ 4% ต้องการมีเงินใช้ไปจนสิ้นอายุไข 80 ปี หรือ อีก 20 ปี ทำให้อาจจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 10 ล้านบาท
  • สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก อันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ใน ASEAN และอีกไม่ถึง15 ปีข้างหน้า ไทยจะแซงสิงคโปร์
  • เกิดโรคสุดฮิตในผู้สูงอายุ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 ได้ระบุว่า ทุกๆ 4 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากมะเร็ง อยู่ 1 คน, ทุกๆ 6 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจ อยู่ 1 คน และทุกๆ 6 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดในสมองแตก อยู่ 1 คน และคนที่มีอายุมากกว่า 90 ปี จะมีโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ถึง 30% โดยโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ของผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า

 

สุขภาพของผู้สูงวัย ปัจจุบันนอกจากฝากความคุ้มครองชีวิตไว้กับประกันชาติ ทั้ง 30 บาทรักษาทุกโรค ประกันสังคม หรือลามไปถึงเบี้ยสูงอายุ ก็คงไม่อาจคุ้มครองได้ในระดับที่ครอบคลุมความช่วยเหลือ และรวดเร็ว

 

รับมือ \'สังคมผู้สูงอายุ\' เชิงรุกด้วยสุขภาพที่ยั่งยืน

 

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะวิจัย Operation BIM ให้ความเห็นว่า ต้นตอของความชรา คือโครโมโซมส่วนที่เรียกว่า Telomere (ส่วนปลายของโครโมโซมที่ยิ่งยาวขึ้น ก็จะทำให้มีการย้อนวัย/ชะลอวัย และอายุยืนขึ้น) ซึ่งจากการผสมผสานความรู้วิทยาศาสตร์ เข้ากับวิทยาการภูมิคุ้มกัน คณะนักวิจัยฯ พบสูตรที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความยาวของ Telomere มากขึ้นอีก สามารถเสริมสร้างความยาวของเทโลเมียร์ ทำให้ย้อนวัย เป็นหนุ่มเป็นสาว คงสุขภาพให้แข็งแรง

 

นอกจากนี้เมื่อเทโลเมียร์ยาวขึ้นยังส่งผลช่วยให้ผิวพรรณสดใส อ่อนกว่าวัย ลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตก ลดการเสื่อมของตับและไต ลดอาการสมองเสื่อม ลดอาการแพ้ภูมิตัวเอง ลดภาวะกระดูกพรุน ลดอาการรูมาตอยด์ และลดอาการอักเสบเรื้อรัง

 

ดังนั้นการหาตัวช่วยด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจากธรรมชาติ ที่ปลอดภัย และครอบคลุมปัญหาสุขภาพต่างๆ นั้นสำคัญ ถือเป็นการช่วยผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข ถ้ามีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ ก็สามารถมีส่วนร่วมกับครอบครัว และสังคมได้อย่างยั่งยืน