ไลฟ์สไตล์

รู้จัก 'ไซโคพาธ' โรคขาดความยับยั้งชั่งใจ รุนแรงถึงขั้นก่ออาชญากรรม

รู้จัก 'ไซโคพาธ' โรคขาดความยับยั้งชั่งใจ รุนแรงถึงขั้นก่ออาชญากรรม

30 เม.ย. 2566

กรมสุขภาพจิตชี้ว่าพฤติกรรม ของ "แอม ไซยาไนด์" เข้าข่ายกลุ่มโรค 'ไซโคพาธ' มีลักษณะ ขาดความสำนึก ขาดความเห็นใจผู้อื่น ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง อาจรุนแรงถึงขั้นก่ออาชญากรรม

เป็นข่าวดังที่สังคมให้ความสนใจกันอย่างมาก สำหรับคดีของ "แอม ไซยาไนด์" หรือ นางสรารัตน์ รังสิวุฒาพรณ์ ผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และข้อหาลักทรัพย์ ด้วยการวางยา ก้อย สาวเท้าแชร์วัย 32 ปี และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของบุคคลที่รู้จักกับแอมอีกจำนวนมาก ซึ่งน่าจะเสียชีวิตในลักษณะเดียวกันกับ ก้อย จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมของผู้ต้องหาที่เป็นการฆาตกรรมต่อเนื่อง มีความเหี้ยมโหด ไร้สำนึกผิดชอบ โดยกรมสุขภาพจิตชี้ว่าพฤติกรรม ของ "แอม ไซยาไนด์" เข้าข่ายกลุ่มโรคไซโคพาธ (Psychopaths) 

 

 

กลุ่มโรคไซโคพาธ (Psychopaths) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม มีลักษณะ ขาดความสำนึก ขาดความเห็นใจผู้อื่น ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

 

สาเหตุ

 

  • ด้านทางกาย ได้แก่ มีความผิดปกติของสมองโดยเฉพาะส่วนหน้าและส่วนอะมิกดะลา ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง พันธุกรรม
  • ด้านจิตใจและสังคม ได้แก่ การถูกกระทำทารุณกรรมในวัยเด็ก การถูกเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย อาชญากรรมในครอบครัว ความแตกแยกในครอบครัว สภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย

 

อาการแสดง

 

  • มีลักษณะจิตใจที่แข็งกระด้าง
  • มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตนเองโดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม
  • มีความผิดปกติทางอารมณ์และความคิดโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม
  • มักทำความรุนแรงซ้ำๆ และก่อให้เกิดอาชญากรรม

 

การรักษา

 

  • การรักษาด้วยยา มีประโยชน์ในการรักษาโรคทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับไซโคพาธ
  • การปรับพฤติกรรม เน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี
  • การลงโทษ มักไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์

 

อย่างไรก็ตาม ไซโคพาธ (Psychopaths) เป็นหนึ่งภาวะที่รักษาได้ยากและมักมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มักไม่ร่วมมือกับการทำจิตบำบัดจึงได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย