เตรียมท้อง แต่อยากผิวสวย ‘ครูก้อย’ เผยวิธีเลือกกินคอลลาเจน
เตรียมท้อง แต่อยากผิวสวย “ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก จะมาเผยวิธีเลือกกินคอลลาเจนอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ทั้งผิวและระบบเจริญพันธุ์
อาหารเสริมคอลลาเจนได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในท้องตลาดและมีมากมายหลายยี่ห้อ แต่จะเลือกทานคอลลาเจนอย่างไร เพื่อช่วยแก้ปัญหาผิวพรรณได้อย่างตรงจุด ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์จากภายในสู่ภายนอก และส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ ควรเลือกทานคอลลาเจนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการเตรียมตั้งครรภ์
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th ให้ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับคอลลาเจนและภาวะเจริญพันธุ์ว่า คอลลาเจน (Collagen) เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีมากที่สุดในร่างกาย มีสัดส่วนประมาณ 30% ของโปรตีนทั้งหมด โดยมีหน่วยกรดอะมิโนที่สำคัญ คือ ไกลซีน (Glycine) , โพรลีน (Proline) และไฮดรอกซีโพรลีน(Hydroxyproline)
คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลักของผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่นๆ ของร่างกายนอกจากนี้ยังพบในอวัยวะ หลอดเลือด เยื่อบุลำไส้ และในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งคอลลาเจนส่งผลดีต่อระบบเจริญพันธุ์ ช่วยป้องกันเซลล์ไข่แก่จากอนุมูลอิสระ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งส่งผลดีต่อรอบการตกไข่ของผู้หญิง
อ้างอิงรายงานวิจัย เรื่อง Review on The Role of Glutathione on Oxidative Stress and Infertility ที่ตีพิมพ์ในวารสาร JBRA Assisted Reproduction ปี 2018 พบว่า ไกลซีน (Glycine) ช่วยในการสร้างกลูตาไธโอนที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในเพศหญิง โดยกลูตาไธโอนจะช่วยในการป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระ การขาดกลูตาไธโอนอาจจะทำให้รังไข่แก่ก่อนวัย
นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัย เรื่อง Intracellular Ca21 and Antioxidant Values Induced Positive Effect on Fertilization Ratio and Oocyte Quality of Granulosa Cells in Patients Undergoing in Vitro Fertilization ที่ตีพิมพ์ ในวารสาร Reproduction, Fertility and Development ปี 2013 พบว่าผู้หญิงที่ทำ IVF มีระดับของกลูตาไธโอนที่สูงขึ้นในเยื่อหุ้มเซลล์ไข่ (Follicle) ซึ่งจะสัมพันธ์กับอัตราการปฏิสนธิ โดยการเสริมคอลลาเจนจะช่วยเพิ่มปริมาณไกลซีนในร่างกาย เมื่อมีไกลซีนมากพอ กลูตาไธโอนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คอลลาเจนยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเซลล์ไข่อีกด้วย และไกลซีนในคอลลาเจนยังส่งผลดีต่อการหลั่งอินซูลินฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเมื่อเตรียมตั้งครรภ์เนื่องจากหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลต่อวงจรการตกไข่ของผู้หญิง ภาวะ PCOS หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
สำหรับ โพรลีน (Proline) เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างผิว ผลิตคอลลาเจน ลดการสูญเสียคอลลาเจน บำรุงและป้องกันการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน และเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด
ส่วน ไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) พบเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุลของคอลลาเจนและเจลาติน ซึ่งการสังเคราะห์ไฮดรอกซีโพรลีนขึ้นอยู่กับวิตามินซี ดังนั้นการขาดวิตามีนซีจะทำให้เส้นใยคอลลาเจนอ่อนแอ ทำให้เกิดแผลได้ง่าย
แม้ว่าคอลลาเจนตามธรรมชาติในร่างกายจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ ผิวแห้ง มีริ้วรอยรอบดวงตา ความยืดหยุ่นน้อยลง มีอาการปวดข้อ หรือข้อเสื่อม อาหารเสริมคอลลาเจนจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดย “ครูก้อย นัชชา” ได้แนะนำหลักในการเลือกรับประทานคอลลาเจน โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ หรือ กลุ่มผู้มีบุตรยากซึ่งส่วนมากจะมีอายุเกิน35ปีขึ้น หากต้องการทานอาหารเสริมคอลลาเจนควรเลือกคอลลาเจนที่ปลอดภัยต่อกระบวนการเตรียมตั้งครรภ์ด้วย โดยมีวิธีการเลือกทานอาหารเสริมคอลลาเจนดังนี้
1.เลือกกินคอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen type I) และ คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen type III) เพื่อผิวสวยและระบบเจริญพันธุ์ดี
คอลลาเจนชนิดที่ 1 (type I) คอลลาเจนประเภทนี้มีส่วนประกอบถึง 90% ของคอลลาเจนในร่างกาย มีลักษณะหนาแน่นมีความเหนียวและแข็งแรงมากที่สุด ใช้สร้างโครงสร้างให้กับผิวหนัง กระดูก ผนังหลอดเลือด เอ็น และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และสมานแผลบนผิวหนังได้ดี มีรายงานศึกษาวิจัยเรื่อง Collagen of The Umbilical Cord and Its Alteration in EPH-gestosis ตีพิมพ์ในวารสาร Indian Academy of Sciences ปี 1999 ได้ทำการศึกษาคอลลาเจนของสายสะดือ จากการศึกษาพบว่า คอลลาเจนในบริเวณหลอดเลือดแดงของสายสะดือ มีคอลลาเจนไทป์ 1 และ ไทป์ 3 มากที่สุดคิดเป็น 63.5 % และ 25.5 % ตามลำดับ ของคอลลาเจนทั้งหมด
คอลลาเจนชนิดที่ 2 (type II) พบมากในกระดูกอ่อน กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง และกระดูกซี่โครง ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงแก่ข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว
คอลลาเจนชนิดที่ 3 (type III) มักพบร่วมกับประเภทที่ 1 แต่พบน้อยกว่าประมาณ 10 % คือ พบในผิวหนัง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกาย ผนังหลอดเลือด ในบุโพรงมดลูก และปากมดลูก จากงานวิจัยเรื่อง Type III collagen (COL3A1) : Gene and Protein Structure, Tissue Distribution and Associated Diseases ตีพิมพ์ในวารสาร Gene ปี2019 พบว่า คอลลาเจนไทป์ 3 จะพบมากในอวัยวะประเภทที่มีช่องด้านใน หรือ อวัยวะกลวง เช่น หลอดเลือดขนาดใหญ่ มดลูก ลำไส้ และเนื้อเยื่อที่ใช้ยึดโครงสร้าง ซึ่งสามารถพบคอลลาเจนไทป์ 1 บริเวณนี้ ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเรื่อง การลดลงของคอลลาเจนไทป์ 3 ที่แสดงออกในปากมดลูกต่ออาการมดลูกหย่อน(Decreased Type III Collagen Expression in Human Uterine Cervix of Prolapse Uteri) ตีพิมพ์ในวารสารExperimental and Therapeutic Medicine ปี 2011 โดยได้ทำการศึกษา ตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก จากการศึกษาพบว่า สัดส่วนของคอลลาเจนไทป์ 3 และไทป์ 1 ในกลุ่มผู้หญิงที่มีปัญหามดลูกหย่อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีมดลูกปกติ โดยสรุปได้ว่าคอลลาเจนไทป์ 3 ที่ลดลงมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสรีระวิทยาของบริเวณปากมดลูก ทำให้มดลูกหย่อนคล้อย
2. เลือกทานคอลลาเจน ที่มีกรดอะมิโนโมเลกุลขนาดเล็กช่วยให้ดูดซึมได้เร็ว
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารเสริมคอลลาเจน คือ ขนาดของกรดอะมิโน ยิ่งมีโมเลกุลขนาดเล็กจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย ซึ่งสามารถแบ่งขนาดโมเลกุลของคอลลาเจนได้ดังนี้
1. คอลลาเจนเปปไทด์ (Collagen Peptide) ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายช้าที่สุด เพราะมีขนาดโมเลกุลใหญ่เฉลี่ยถึง 3,000-10,000 ดอลตัน
2. คอลลาเจนไตรเปปไทด์ (Collagen Tripeptide) เป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนย่อยจนเหลือกรดอะมิโน 3 ตัวเรียงกัน มีขนาดโมเลกุลเฉลี่ย 500-1000 ดาลตัน มีความสามารถในการดูดซึมได้ในระดับปานกลาง
3. คอลลาเจนไดเปปไทด์ (Collagen Dipeptide) เป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนการย่อยโดยเอนไซม์ จนเหลือกรดอะมิโน 2 ตัวเรียงกัน มีโมเลกุลขนาดเล็กเพียง 200 ดาลตัล จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการดูดซึมได้อย่างรวดเร็วและมากกว่าคอลลาเจนทั้ง 2 ชนิดแรกหลายเท่าตัว และสามารถนำไปใช้ได้ทันที
4. ไฮโดรไลซ์ คอลลาเจน (Hydrolyzed Collagen) เป็นคอลลาเจนที่ผ่านการย่อยด้วยกรดจนได้ขนาดอนุภาคที่เล็กที่สุด ที่ยังคงแสดงคุณสมบัติของความเป็นคอลลาเจน ซึ่งขนาดยิ่งเล็กเท่าใดจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการดูดซึมที่ดียิ่งขึ้น ดูดซึมได้ดีกว่าคอลลาเจนทั่วไป 3-4 เท่า
3.เลือกทานคอลลาเจนที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ และวิตามินที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของคอลลาเจน อาทิ
1.Ceravite คือ Oryza Ceramide Complex ที่สกัดจากรำข้าว และจมูกข้าวของข้าวกล้องที่มีประโยชน์ต่อผิว เป็นตัวเชื่อมให้เคราตินของผิวชั้นบนเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ ช่วยเสริมความแข็งแรงและสร้างปราการของผิวเพื่อเป็นด่านป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง ลดการสูญเสียน้ำของผิว ช่วยให้ผิวสามารถเก็บกักความชุ่มชื้นได้ดี ทำให้ผิวชุ่มชื้นเปล่งปลั่ง และช่วยลดการสังเคราะห์เม็ดสีผิว มีรายงานวิจัยจาก Changes in The Ceramide Profile of Atopic Dermatitis Patients ที่ตีพิมพ์ใน Journal of Investigative Dermatology ปี 2010 ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกักเก็บความชุ่มชิ่นให้แก่ผิวของ Ceramide จากพืชต่างชนิด ได้แก่ สารสกัดจากข้าวกล้อง (Oryza Ceramide Complex) สารสกัดจากบุกญี่ปุ่น (Konjac Ceramide) สารสกัดจากข้าวสาลี (Wheat Ceramide) พบว่าสามารถสกัดจากข้าวกล้อง สามารถช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวได้ดีที่สุด
2.เดลฟินิดิน (Delphinidin) สารต้านอนุมูลอิสระที่พบสูงมากใน “มากิเบอร์รี่ (Maqui berry)” )” มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอการหดสั้นของ เทโลเมียร์ (Telomere) โดยมีรายงานวิจัยจาก วารสาร Science News of Anklam Extrakt GmbH เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า สารสกัด “เดลฟินิดิน (Delphinidin)” ใน มากิเบอร์รี่ (Maqui berry) ช่วยลดอัตราการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ หลังทาน 8 สัปดาห์ ภายใต้สภาวะที่มีอนุมูลอิสระได้มากถึง 51 % จึงทำให้สารสกัดจากมากิเบอร์รี่ได้รับความนิยมนำมาทำเป็นสารสกัดสำคัญในอาหารเสริมคอลลาเจน เพื่อช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ บำรุงผิวพรรณให้ ผิวยืดหยุ่น ผิวลื่นและชุ่มชื่นขึ้น
จากการศึกษางานวิจัยพบว่าเทโลเมียร์มีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ โดยมีรายงานวิจัยจาก Fertility and Sterility ปี 2013 ทำการศึกษา ผลของการหดสั้นลงของเทโลเมียร์มีความสัมพันธ์กับภาวะเสื่อมถอยของวัยเจริญพันธุ์ในเพศหญิงในหนู พบว่า เพิ่มการแตกหักเสียหายของตัวอ่อน วงจรการตกไข่ลดลง เซลล์ทำลายตัวเอง เกิดความผิดปกติของโครโมโซม อีกทั้งเทโลเมียร์ในเซลล์ไข่ (Oocyte) ที่สั้นลง ยังส่งผลต่อการแบ่งเซลล์ในระยะเอ็มบริโอ เกิดการแบ่งโครโมโซมที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการฝังตัวอ่อนไม่สำเร็จ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย
และมีรายงานวิจัยจากวารสาร The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism เมื่อปี 2008 ได้ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีประวัติการแท้งซ้ำจะมีความยาวของเทโลเมียร์สั้นกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งเกิดจากความเครียดในระดับเซลล์จากภาวะ oxidative stress
ยังมีรายงานวิจัยเรื่องเทโลเมียร์และความผิดปกติในการแบ่งตัวแบบไมโอติกในเพศหญิง จากวารสาร Cellular and Molecular Life Sciences ปี 2007 เผยถึงการศึกษาพบการแบ่งตัวแบบ Meiotic คือการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์ที่มีความซับซ้อนและมีขั้นตอนมากกว่าการแบ่งแบบไมโทซิส ผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น ไข่ที่ตกจากผู้หญิงอายุมาก เซลล์ไข่แบ่งตัวช้าถึงระยะบลาสต์โตซิสช้าพลังงานไม่เพียงพอ เทโลเมียร์หดสั้นลงเกิดจากปฏิกิริยาReactive oxygen ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ช่วงระหว่างการสร้างเซลล์ไข่ในทารก และการตกไข่ในทุกๆรอบเดือน
3.วิตามินซี ช่วยกระตุ้นให้ผิวผลิตคอลลาเจนออกมาได้เยอะขึ้น และช่วยลดการผลิตเม็ดสีเมลานินในชั้นผิวได้และยังมีส่วนกระตุ้นให้กลูต้าไธโอนและวิตามินอีผลิตขึ้นเพิ่มขึ้นด้วย จึงมีส่วนช่วยให้ผิวดูสุขภาพดีมีความกระจ่างใสขึ้น
4.วิตามินบี 5 , DL-Panthenal หรือ Pro-Vitamin B5 เป็นกรดวิตามินชนิดหนึ่ง มีความสำคัญมากสำหรับสุขภาพผิวและผม เนื่องจากจะเข้าไปมีส่วนในเรื่องการลดการผลิตน้ำมันบนใบหน้า ช่วยให้กักเก็บความชุ่มชื้น เป็นเกราะป้องกันให้กับผิว ลดการอักเสบ ลดรอยแดง ลดอาการแพ้คัน ช่วยสมานแผล และเร่งการสร้างเนื้อเยื่อชั้นผิวใหม่ สามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการรักษาผิวและกักเก็บความชุ่มชื้นได้อย่างรวดเร็ว นอกจากช่วยเรื่องผิวแล้ว ยังให้ความชุ่มชื่นแก่เส้นผม และให้ผมแข็งแรงเงางามอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป หากต้องการเลือกอาหารเสริมคอลลาเจนเพื่อช่วยบำรุงทั้งผิวพรรณและระบบเจริญพันธุ์ดี ควรเลือกทานคอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen type I) และ คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen type III) และควรเลือกคอลลาเจนที่มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ได้แก่ คอลลาเจนไดเปปไทด์ หรือ ไฮโดรไลซ์คอลลาเจน ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที โดยในแต่ละวันสามารถทานอาหารเสริมคอลลาเจนได้ 5-10 กรัมต่อวัน ตามที่ อย.กำหนด และควรเลือกอาหารเสริมคอลลาเจนที่มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติมีงานวิจัยรองรับ ไม่มีสารกันบูด ไม่มีสารแต่งสี ไม่แต่งกลิ่น ไม่แต่งรสชาติ หรือสารเพิ่มความขาว ที่สำคัญต้องได้รับมาตรฐานการผลิตและผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย โดยผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์สามารถศึกษาความรู้เกี่ยวกับคอลลาเจนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/all-products/colla-telo-by-krukoy เมื่อตั้งครรภ์ไปแล้ว การทานอาหารเสริมทุกชนิดควรพักไปก่อน หรืออยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ ครูก้อยนัชชา กล่าว .