ไลฟ์สไตล์

'กินถั่วแล้วท้องอืด' จริงหรือ? เปิด 7 อาหาร ที่กินแล้ว 'ท้องอืด'

'กินถั่วแล้วท้องอืด' จริงหรือ? เปิด 7 อาหาร ที่กินแล้ว 'ท้องอืด'

09 ก.ค. 2566

ไขข้อสงสัย 'กินถั่วแล้วท้องอืด' จริงหรือ? ทำไมกินแล้วถึง ผายลม จังเลย มีคำตอบ พร้อมเปิด 7 อาหาร ที่กินแล้ว 'ท้องอืด'

หากพูดถึง “ถั่ว” อาหารที่มีโปรตีนสูง และมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่า หากกินไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดอาการ ”ท้องอืด” ได้

 

 

 

 

 

แล้วทำไม “กินถั่วแล้วท้องอืด” อะไรคือสาเหตุที่ทำให้มีอาการท้องอืด และ ตด หลังจากกินถั่วไปในปริมาณหนึ่ง คมชัดลึก รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ “ถั่ว” และวิธีกินถั่วไม่ให้ท้องอืด พร้อมเปิดเมนู อาหาร 9 อย่าง ที่กินแล้ว “ท้องอืด”

 

ถั่ว

 

ทำไม “กินถั่วแล้วท้องอืด”

 

 

 

 

ถึงแม้ว่าถั่ว จะมีโปรตีนสูง แต่ก็เป็นอาหารที่ค่อนข้างย่อยยาก และทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ โดยสรุปสาเหตุที่ “กินถั่วแล้วท้องอืด” เมื่อกินถั่วไปปริมาณพอสมควร ก็เพราะว่า ถั่วอุดมไปด้วย Fiber ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยเองได้ เมื่อย่อยเองไม่ได้ ก็จะปล่อยแก๊สออกมา และถ้าหากแก๊สเหล่านี้ ไม่สามารถหาทางออกจากลำไส้ได้ ก็จะทำให้เกิด “ท้องอืด” ได้นั่นเอง

 

 

 

 

“กินถั่วแล้วท้องอืด” เปิดวิธีกินอย่างถูกวิธี

 

 

  1. กินพร้อมอาหารที่ช่วยลดก๊าซ หรืออาหารไขมันต่ำ เช่น Apple cider ไข่ ปลา ผักสลัด มะเขือเทศ เมลอน ข้าว
  2. กินถั่วเพาะงอก ช่วยลดอาการท้องอืดได้
  3. หากไม่ค่อยกินถั่ว ควรเริ่มจากวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ กินให้ช้า เคี้ยวให้ละเอียด
  4. นำถั่วไปแช่น้ำค้างคืน น้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ Oligosaccharide ลดลงถึง 58% โดยที่ให้ล้างและทิ้งน้ำที่ใช้แช่ไปเลย แล้วสามารถนำไปต้ม เพื่อปรุงอาหารได้ โดยลดความกังวลเรื่องท้องอืดไปได้
  5. กินในปริมาณที่น้อยๆ ก่อน อาหารที่มีไฟเบอร์สูงนั้น จำเป็นที่จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณการกิน ไม่สามารถกินเยอะๆ หากไม่เคยกินในปริมาณมากมาก่อน เพราะร่างกายอาจไม่สามารถย่อยได้ และจะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกร่วมด้วย
  6. ดื่มน้ำให้มากๆ ยิ่งกินอาหารไฟเบอร์สูง ปริมาณน้ำก็ยิ่งจำเป็นอย่างมาก ในการทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดี
  7. ใส่ baking soda ลงไปนิดหน่อย ขณะต้ม ก็ทำให้ลดปริมาณ oligosaccharides ลง และยังช่วยให้ถั่วสุกไวขึ้นอีกด้วย

 

นมถั่วเหลือง

อาหารกินแล้ว “ท้องอืด”

 

 

 

1. ผลิตภัณฑ์จากนม

 

น้ำตาลแลคโตสและโปรตีนเคซีน ถือเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดอาการท้องอืด และท้องผูกได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มสารอาหารที่ย่อยได้ยาก นอกจากจะย่อยได้ลำบากแล้ว ในบางรายที่มีการแพ้แลคโตส หรือย่อยแลคโตสไม่ได้ ก็จะมีอาการท้องเสียสลับกับท้องอืดได้ด้วย

 

ถั่ว

 

2. ถั่ว

 

นมถั่วเหลือง หรือน้ำเต้าหู้ ก็มีส่วนทำให้ท้องอืดและท้องผูกได้เช่นเดียวกัน ในบางรายที่ร่างกายย่อยอาหารประเภทถั่วไม่เก่ง หากกินอาหารที่ทำจากถั่วมากๆ เข้า ทั้งเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ หรือถั่วอบกรอบอื่นๆ ก็อาจจะมีการผายลม หรือเรอออกมาได้ หากมีอาการอย่างว่า ก็อาจจะต้องลดการกินอาหารจำพวกถั่วให้น้อยลง เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองท้องอืด

 

 

3. ธัญพืช

 

เช่นเดียวกับการกินถั่ว ธัญพืชตางๆ นั้น ก็ย่อยยากเช่นเดียวกัน รวมถึงธัญพืชบางประเภท ยังสามารถสร้างแก๊สในกระเพาะได้ ทำให้เรามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ด้วย

 

ผักและผลไม้

 

4. ผักและผลไม้

 

เราเคยรู้มาว่า ผักและผลไม้ที่มีใยอาหารนั้น ช่วยในการขับถ่าย แต่หากกินมากเกินไป ใยอาหารเหล่านี้ ก็ทำให้ท้องผูก และท้องอืดได้ เพราะใยอาหารที่มากเกิน จะเข้าไปอัดแน่นในท้องและลำไส้ ส่งผลให้ขับถ่ายลำบาก หากจะกินผักและผลไม้ เพื่อช่วยระบายนั้น ต้องกินแต่พอดีๆ จึงจะช่วยได้

 

 

5. ผักตระกูลกะหล่ำ

 

กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่ และกะหล่ำดาว เป็นพืชที่สามารถสร้างแก๊สในกระเพาะอาหารได้มากมาย โดยเฉพาะหากใครทานผักเหล่านี้แบบดิบ จะยิ่งมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ วิธีแก้ง่ายๆ คือทานผักเปล่านี้โดยปรุงให้สุก และอย่าทานมากเกินไป

 

เบเกอรี่

 

6. ขนมปังและเบเกอรี่ต่างๆ

 

อาหารประเภทขนมปัง โดนัทและเบเกอรี่ ที่มีแป้งสาลีเป็นส่วนประกอบ ก็สามารถทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เพราะในอาหารกลุ่มนี้มีกลูเตน ซึ่งในบางคนนั้นย่อยได้ยาก ทำให้เกิดอาการท้องอืดและท้องผูกได้จากการที่อาหารไม่ย่อย

 

อาหารทอด

 

7. ของทอด

 

อาหารประเภททอด รวมถึงอาหารมันต่างๆ อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีไขมันสูง เมื่อร่างกายกินไขมันเข้าไปมากๆ ก็จะเกิดอาการท้องอืดและท้องผูกได้ เพราะร่างกายย่อยอาหารเหล่านี้ได้ลำบาก ทำให้มีอาหารตกค้างในกระเพาะอยู่เยอะ และส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารด้วย