ไลฟ์สไตล์

'หมอ' ยกเคส คนไข้อัมพาตอายุน้อยสุด พบปัจจัย 'นอนน้อย' จนเป็นโรคร้ายชนิดนี้

'หมอ' ยกเคส คนไข้อัมพาตอายุน้อยสุด พบปัจจัย 'นอนน้อย' จนเป็นโรคร้ายชนิดนี้

10 ก.ค. 2566

'นพ.สมรส' ยกเคส คนไข้อัมพาต อายุน้อยที่สุด ที่หมอฟื้นฟูสมองให้ พบปัจจัยหนึ่งมาจาก 'นอนน้อย' จนกลายเป็นโรคร้ายชนิดนี้

'นอนน้อย แต่นอนนะ' คำยอดฮิตที่หลายคนมักนำมาพูดกัน ซึ่งมักถูกพูดในกลุ่มผู้ที่นอนดึก 'นอนน้อย' อย่างคนที่ทำงานกะดึก มีกิจกรรมทำให้นอนดึก หรือพวกกลุ่มที่อยู่ในวัยเรียนอย่างมหาวิทยาลัย ที่ต้องเร่งทำงานส่งอาจารย์

 

 

ล่าสุด นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Somros MD Phonglamai ได้โพสต์ข้อมูลล่าสุด พบว่า คนไข้อัมพาตอายุน้อยสุดที่หมอฟื้นฟูสมองให้ อายุ 17 ปี ปัจจัยหนึ่งที่พบได้บ่อยในยุคนี้คือ "นอนดึก นอนน้อย" 

 

โดย นพ.สมรส เปิดเผยสาเหตุที่คนไข้รายนี้เกิดการอัมพาตทั้งที่อายุน้อย พบว่ามาจากการเกิด stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง วึ่งปัจจัยหนึ่งที่พบมาจาก การนอนดึก 'นอนน้อย' 

 

 

นพ.สมรส ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สามารตรวจเบื้องต้นได้ประมาณ 80-90% ไม่มีอะไร 100% ใน medicine รพ.เอกชน จะมีโปรแกรมตรวจ stroke screening เช่น MRI MRA Brain, US carotid, EEG ตรวจเลือดต่างๆ ฯลฯ แต่ต้องจ่ายเงินเอง เท่าที่เห็น < 20,000 บาท เหมาะกับคนที่จ่ายเองได้

 

 

นพ.สมรส พงศ์ละไม

 

 

นอกจากนี้ยังจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การนอนดึกตื่นสาย ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ส่วน วัคซีนโควิด ที่มีกระแสว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนั้น ยังไม่สามารถระบุได้ชัด ไม่มีใครฟันธงได้ แต่ก็เป็นปัจจัยที่น่าสนใจ เพราะเจอหลายเคสเช่นกัน

 

การนอนดึก เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของเด็กเล็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ ที่อาจทำให้เหนื่อยล้าหรือง่วงระหว่างวัน คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการนอนดึกนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ และไม่ทราบถึงภัยอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทั้งที่จริงแล้ว การนอนดึกเป็นประจำอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน บางคน นอนดึก เพราะเป็นผลข้างเคียงจากโรคหรืออาการบางอย่าง ในขณะที่บางคนนอนดึกเพราะทำกิจกรรมจนเลยเวลา ทั้งนี้ ทุกสาเหตุล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม ก่อนที่จะเสียสุขภาพมากไปกว่าเดิม

 

นอนน้อย

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร

 

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันหรือมีเลือดออกในสมอง หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น

 

 

ลักษณะอาการ

 

การสังเกตลักษณะอาการมีความสำคัญมาก ดังนั้นควรสังเกตและตรวจเช็คอาการ หากตัวผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองได้

 

  • พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น
  • ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน มึนงง พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด
  • อาการอ่อนแรง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา
  • ผู้ป่วยจะเกิดอาการอ่อนแรงหรือชาอย่างเฉียบพลัน บริเวณ หน้า แขนหรือขา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะเกิดกับร่างกายแค่ด้านเดียว ร่วมกับอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
  • ปัญหาด้านการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • ผู้ป่วยจะเกิดอาการตามัวแบบเฉียบพลัน หรือเห็นภาพซ้อน
  • เวียนศรีษะ/ปวดศรีษะ
  • อาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน มักจะพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปัญหาด้านการเดินเซ การทรงตัวผิดปกติ หรือซึมลง (Altered Consciousness) มึนศีรษะ อาการคลื่นไส้อาเจียน

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง

 

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

 

  • โรคอ้วน ทานอาหารที่มีไขมันมาก รสเค็ม
  • สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ต่อเนื่อง
  • ดื่มสุราในปริมาณมาก
  • ใช้สารเสพติด

 

 

โรคประจำตัวและความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง

 

  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ไขมันคลอเรสเตอรอลสูง
  • เบาหวาน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation, ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ (infective endocarditis)
  • โรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ (severe carotid or vertebral stenosis)
  • ภาวะเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ (Polycythemia vera or Essential thrombocytosis)
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombophilia)
  • โรคหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรค Moyamoya, Cerebral autosomal dominant and subcortical leukoencephalopathy (CADASIL)
  • มีการเซาะตัวของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (carotid or vertebral artery dissection)

 

 

ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง

 

  • อายุ - ผู้สูงวัยอายุ 55 หรือมากกว่า มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรค มากกว่าคนหนุ่มสาว
  • เชื้อชาติ - กลุ่มคนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
  • เพศ - เพศชายมีความเสี่ยงสูงมากกว่าเพศหญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เพศหญิงมักจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุมากขึ้น และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • การใช้ฮอร์โมน - การใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนบำบัด ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

 

 

ข้อมูล : Pobpad / โรงพยาบาล MedPark