รู้ทัน โรค 'หมอนรองกระดูก' ชะลอความเสื่อม หลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้
โรค 'หมอนรองกระดูก' ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังเด่นชัดนำมาก่อน แล้วตามด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยลักษณะอาการมักจะสัมพันธ์กับกิจกรรมและการใช้งานของหลัง
เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กระดูกสันหลัง จะเริ่มเสื่อมตามวัย บางรายเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาดจนทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาและอาจกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังเด่นชัดนำมาก่อน แล้วตามด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยลักษณะอาการมักจะสัมพันธ์กับกิจกรรมและการใช้งานของหลัง
นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า เนื้อของหมอนรองกระดูกสันหลังจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้ หมอนรองกระดูก มีความยืดหยุ่นที่ลดลงจนไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม ทำให้เกิดอาการปวดและมีอาการอื่นๆ ของโรคนี้ตามมา ภาวะการเสื่อมสภาพนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงอายุ 30-40 ปี จากนั้นอาการจะแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มักจะมีปัญหา หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ในขณะที่บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
โดยปกติ หมอนรองกระดูก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านนอกจะเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็ง ส่วนด้านในจะเป็นเจล คล้ายกับจารบี ส่วนที่รองรับน้ำหนักเมื่อ หมอนรองกระดูกเสื่อม ก็คือ ส่วนของด้านในที่แห้งและหายไป ซึ่งส่วนนี้เราไม่สามารถหาเติมได้ เหมือนกับการฉีดโบท็อกซ์ หรือฉีดสารเติมเต็มที่เรียกว่าฟิลเลอร์ เพราะในตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่ค่อนข้างลึก ดังนั้นเป็นไปได้ยากที่จะใส่สารเติมเต็มหรือสารที่มีลักษณะคล้ายกับตัวหมอนรองกระดูกกลับเข้าไป เนื่องจากอวัยวะของหมอนรองกระดูกไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงภายในตัวหมอนรองกระดูก เพราะฉะนั้นเมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดความเสื่อมสภาพ การรับประทานยาวิตามินเสริมเพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด และช่วยให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้นแต่ก็ยังไม่ใช่คำตอบของการรักษาเพื่อหมอนรองกระดูกกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม
ส่วนสาเหตุที่พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ได้แก่ การใช้งานและกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เช่น ยกของหนักผิดท่าบ่อยๆ การนั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การขับรถนานๆ น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน การเกิดอุบัติเหตุจน กระดูกสันหลัง ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ เพราะคนที่สูบบุหรี่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หมอนรองกระดูกสันหลังได้น้อยลง ทำให้ หมอนรองกระดูกเสื่อม และเคลื่อนได้เร็วขึ้น
สำหรับอาการของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะมีอาการปวดคอ หรือปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ แต่บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรัง หรือปวดแบบรุนแรงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ปวดหลังเรื้อรัง
- ปวดร้าวลงขา
- กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก
- ชา อ่อนแรง และเป็นเหน็บที่บริเวณ มือ แขน เท้า ขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินลำบาก ไม่สมดุล เหมือนจะหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได หรือก้าวขาขึ้นรถ เป็นต้น
นพ.ชุมพล ยังเผยว่า หมอนรองกระดูกเสื่อม หากเกิดความเสื่อมขึ้นแล้วจะเสื่อมเลย แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมนั้นได้ เช่น การปรับพฤติกรรมเพื่อเสริมกล้ามเนื้อหลัง ถ้าเราไม่อยากให้เกิดความเสื่อมไว ต้องไปเทรนการออกกำลังกาย ว่ายน้ำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของ หมอนรองกระดูก เช่น งดยกของหนักในท่าที่ผิด เลี่ยงการนั่งในท่าเดิมนานๆ ควรลุกขึ้นทุกๆ 2 ชม. ห้ามนั่งยองๆ หรือนั่งกับพื้นนานๆ จะสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกได้
ปัจจุบันโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ มีวิธีการรักษา โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ด้วยเทคนิค Minimally Invasive Spine Surgery หรือ MIS Spine แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก และได้ผลลัพธ์การรักษาเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิดแผล ปลอดภัยกว่าเดิม ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลงจนแทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด ค่ารักษาโดยรวมถูกกว่าเดิม ผู้ป่วยจากเดิมที่เคยนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องนอนนาน 1-2 เดือน แต่เมื่อรักษาด้วยวิธี MIS Spine ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น ปรึกษาโทร.0-2034-0808