ไลฟ์สไตล์

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร ปัญหายอดฮิตที่แก้ยากแต่แก้ได้

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร ปัญหายอดฮิตที่แก้ยากแต่แก้ได้

31 ก.ค. 2566

'กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง' ปัญหายอดฮิตที่แก้ยากแต่แก้ได้ และถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการมองเห็น จนเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ยังส่งผลให้บุคลิกภาพของเจ้าของสายตาอีกด้วย

เพราะ "ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ" ยิ่งดวงตาเปิดกว้างมากเท่าไหร่ก็รับรู้ถึงจิตใจของเจ้าของดวงตามากเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าดวงตาถูกบดบังด้วยชั้นตาที่อ่อนแรง นอกจากจะทำให้ดวงตาไม่สดใส ขณะเดียวกันยังพาเสียบุคลิกภาพคล้ายคนที่มีอาการง่วงนอน เหนื่อยเพลียอยู่ตลอดเวลา การแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถแก้ไขได้ด้วยการทำตาสองชั้น แล้วภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร? สามารถแก้หรือรักษาได้หรือไม่? บทความนี้มีคำตอบ 
 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร และเกิดจากอะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือภาวะหนังตาตก (Ptosis) มีลักษณะที่ขอบตาบนตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ ไม่สามารถลืมตาจนสุดได้ อาจเป็นได้ทั้งดวงตาทั้งสองข้างที่ทำให้ใบหน้าแลดูง่วงนอน เหนื่อยเพลียตลอดเวลา หรืออาจมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้มองเห็นชัดว่ารูปทรงดวงตามีขนาดไม่เท่ากัน สำหรับภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อการมองเห็นจนเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของเจ้าของดวงตาอีกด้วย

 

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีกี่แบบ

 


โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีหลักๆ คือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด และภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด
    ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นมาแต่กำเนิดนั้นอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีการไม่พัฒนาของกล้ามเนื้อในวัยทารก ขณะเดียวกันอาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้ขอบตาบนมีลักษณะตกลงมาปิดดวงตามากกว่าปกติ หรือลืมตาได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้หากเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิดและไม่ได้รับการรักษาให้เป็นปกติ จะส่งผลทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ และปัญหาตาเอียงร่วมด้วยในอนาคตได้ 
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นในภายหลัง 

สำหรับภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นในภายหลังมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • โรคหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ (Myasthenia Gravis) ทำให้กล้ามเนื้อยกเปลือกตาเกิดอาการอ่อนแรง 
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตามีความเหี่ยวหย่อนคล้อยลงมาบดบังดวงตา 
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่มีการใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น เล่นโทรศัพท์ จ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้าส่งผลให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในที่สุด 
  • การขยี้ตาบ่อย ๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ เมื่อขยี้ตาบ่อย ๆ ทำให้กล้ามเนื้อตายืดออก และมีอาการหย่อนคล้อยมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ชั้นตามีหลายชั้น เปลือกตามีรอยพับเห็นชัดได้
  • เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากอุบัติเหตุที่กระทบกับเส้นประสาทที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อตาโดยตรง 
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจากความผิดพลาดในการศัลยกรรมตาสองชั้นเนื่องจากแพทย์มีความชำนาญไม่มากพอ 

 


กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีอาการอย่างไรบ้าง
แน่นอนว่าอาการของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นก็ตรงตามชื่อ คือ เปลือกตา หรือหนังตาตกลงมาทับตาดำมากกว่าปกติ แต่ถ้าไม่มั่นใจว่าเรามีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจริงหรือไม่ สามารถพิจารณาจากอาการเหล่านี้ร่วมด้วยได้ ไม่ว่าจะเป็น

 

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีอาการอย่างไรบ้าง

 

  • อาการหนังตาตก หางตาตก จนบดบังการมองเห็น อาจเกิดขึ้นกับดวงตาทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง ร่วมกับการมีปัญหาชั้นตาไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่ชัดเจน
  • อาการลืมตาไม่เต็มที่ เนื่องจากเปลือกตาหย่อนตัวลงมาปิดขอบตาดำข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้ข้างที่มีปัญหาลืมตาได้ไม่เต็มที่ หรือไม่โตเท่าข้างที่ปกติ 
  • สังเกตเห็นลักษณะเบ้าตาที่ลึกเห็นชัดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่จะมีร่องลึกอยู่เหนือเปลือกตา เนื่องจากไขมันบริเวณนั้นสูญหายไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และทำให้หรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหย่อนคล้อยลงมาปิดชั้นตาในที่สุด 
  • การเลิกหน้าผากบ่อยเกินไป เนื่องจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและตกลงมาบดบังการมองเห็น ทำให้ต้องมีพฤติกรรมเลิกหน้าผาก หรือยกหน้าผากขึ้นอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งการเลิกหน้าผากบ่อย ๆ ยังทำให้หน้าผากเป็นรอยย่น ร่องลึก และทำให้ใบหน้าโดยรวมมีอายุมากขึ้นได้

 


วิธีรักษาปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ทำให้วิธีการรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีหลากหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รวมไปถึงการผ่าตัดควบคู่กับการศัลยกรรมตาสองชั้นเพื่อปรับรูปทรงดวงตาให้สวยงาม และห่างไกลจากปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง  

 

 

วิธีรักษาปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 


วิธีรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการผ่าตัด
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดยกกล้ามเนื้อตาให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยแพทย์อาจทำการรื้อโครงสร้างกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตาใหม่ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนและมีความละเอียด ต้องอาศัยความชำนาญการเป็นอย่างมาก แพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องมีประสบการณ์เป็นอย่างสูง
 

 


วิธีรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 

 

การผ่าตัดรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมกับการศัลยกรรมตาสองชั้น 
การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นสามารถทำร่วมกับการศัลยกรรมตาสองชั้นได้ ในกรณีที่ต้องการปรับรูปทรงตา หรือชั้นตาให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยแพทย์จะเริ่มจากการผ่าตัดเพื่อยกกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงให้กลับมาแข็งแรงก่อน จากนั้นจึงมีการกรีดชั้นตา หรือตกแต่งชั้นตาให้สวยงาม อาจมีการอาศัยเทคนิคศัลยกรรมตาสองชั้นที่หลากหลายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งไขมันบริเวณเปลือกตา ตัดหนังตา เปิดหัวตา หรือแม้แต่เย็บแผลเพื่อให้หางตายกสูง ให้ดวงตาเปิดกว้างสดใสอีกครั้ง
 

 

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 

รักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือทำตาสองชั้นที่ไหนดี? 
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงค่อนข้างละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความชำนาญและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง ที่สำคัญแพทย์จะต้องมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน


หากกำลังมองหาอยู่ว่าจะทำตาสองชั้นที่ไหนดี แนะนำที่ธีระธรฌ์คลินิก คลินิกเสริมความงามครบวงจรที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ นำทีมการรักษาโดย นายแพทย์รัฐรุจน์ บารมีไชยภัสร์ (หมอกัน) และทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คุณหมอกันมีประสบการณ์ในการทำตาสองชั้นมานานกว่า 20 ปี ผ่านเคสทำตาสองชั้น แก้ตาสองชั้นมาหลากหลายรูปแบบ มีเทคนิคการรักษาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ คือ "EyesLock บล็อกทุกสายตา" นอกจากนั้นธีระธรฌ์คลินิกยังเป็นคลินิกเสริมความงามอันดับต้นๆ ที่ได้รับความไว้วางใจจากดาราคนดัง นางงาม นางแบบ และนักธุรกิจระดับประเทศมาอย่างยาวนาน

 

เว็บไซต์ : https://ykjmedical.com/double-eyelid-surgery-clinic/
Line : https://line.me/R/ti/p/%40pcb4304h 
โทร :  082-392-3692 , 085-663-6615 , 02-692-5499