ไลฟ์สไตล์

ภัย หน้าฝน 'ชิคุนกุนยา' โรคร้ายจาก ยุงลาย เทียบชัดต่างจาก ไข้เลือดออก อย่างไร

ภัย หน้าฝน 'ชิคุนกุนยา' โรคร้ายจาก ยุงลาย เทียบชัดต่างจาก ไข้เลือดออก อย่างไร

18 ส.ค. 2566

ทำความรู้จัก โรค 'ชิคุนกุนยา' หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย พร้อมเทียบชัดๆ ว่ามีความเหมือนหรือต่างจาก 'ไข้เลือดออก' อย่างไร

ช่วง หน้าฝน แบบนี้ โรคภัยไข้เจ็บที่ต้องระวัง ส่วนมากจะเป็นโรคที่มาพร้อมกับ ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค ซึ่งนอกจาก ไข้เลือดออก ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว อีกหนึ่งโรคที่ระบาดอย่างมากในช่วงหน้าฝน ได้แก่ โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เริ่มป็นที่รู้จักตั้งแต่ ค.ศ.1952 ชิคุนกุนยา เป็นภาษาชนผ่าในประเทศแทนซาเนีย แปลว่า โค้งงอ (ปวดจนตัวงอ) เกิดจากเชื้อไวรัส Chikungunya virus เป็นไวรัสคนละกลุ่มกับไข้เลือดออก และไข้ไวรัสซิก้า มียุงลายเป็นพาหะ ได้แก่ ยุงลายบ้าน และยุงลายสวน

 

อาการของ โรคชิคุนกุนยา

 

  • เจ็บปวดตามข้อทั้งข้อขนาดเล็ก เช่น นิ้วมือ และ ข้อขนาดใหญ่ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
  • มีไข้
  • ตาแดง
  • มีผื่นขึ้นทั่วตัว
  • บางรายอาจมีอาการปวดข้ออยู่ได้นานเป็นเดือนส่วนใหญ่จะหายกลับเป็นปกติระยะฟักตัว 3-7 วัน

 

การรักษา โรคชิคุนกุนยา

  • รักษาตามอาการของโรคแพทย์อาจให้ยาแก้ปวด หรือยาในกลุ่มต้านอักเสบในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ

 

 

หลายคนมองว่า โรคไข้เลือกออก กับ โรคชิคุนกุนยา มีอาการใกล้เคียงกัน วันนี้จะเทียบให้เห็นชัดๆ ว่า ทั้ง 2 โรคนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

ไข้เลือดออก โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของ ยุงลาย ตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา

 

อาการ : ไข้สูงลอย, ผื่นแดงจำนวนมาก, ปวดเมื่อยน้อยกว่า, เกล็ดเลือดต่ำ-มีเลือดออก, ควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการ

 

ชิคุนกุนยา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มี ยุงลาย เป็นพาหะ โดยผู้ป่วยมักมีไข้และปวดข้อต่อ ซึ่งอาการของโรคนี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง

 

อาการ : ไข้สูงอย่างเฉียบพลัน, ตาแดง มีผื่นแดงขึ้นทั่วตัว, ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำจนเลือดออก, รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ

 

ภัย หน้าฝน \'ชิคุนกุนยา\' โรคร้ายจาก ยุงลาย เทียบชัดต่างจาก ไข้เลือดออก อย่างไร

 

ช่วง หน้าฝน ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็น โรคไข้เลือดออก และ โรคชิคุนกุนยา ได้ทั้งนั้น ดังนั้นควรระวังและป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดด้วยการกำจัดแหล่งน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทาโลชั่นกันยุง สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังและป้องกันลูกน้อยจาก ยุงลาย

 

 

ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลศิครินทร์