ไลฟ์สไตล์

แพทย์แนะ วิธีเพิ่ม 'แคลเซียม' เลี่ยง 'โรคกระดูกพรุน' ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

แพทย์แนะ วิธีเพิ่ม 'แคลเซียม' เลี่ยง 'โรคกระดูกพรุน' ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

02 ต.ค. 2566

แพทย์แนะนำ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อ 'โรคกระดูกพรุน' พร้อมทางเลือกในการเพิ่ม 'แคลเซียม' ให้แก่ร่างกาย ด้วยเครื่องดื่มวิตามินแคลเซียมในรูปแบบน้ำ

ภาวะกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะพบได้มากในผู้สูงอายุ และสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบัน ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนมีแนวโน้มพบว่าอายุเฉลี่ยของผู้เป็นโรคกระดูกพรุนลดลงทุกปี ที่สำคัญร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นหรือมีความเสี่ยงต่อโรค ถือเป็นภัยเงียบที่คนไทยส่วนใหญ่มองข้าม สาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน การบริโภค แคลเซียม ในคนไทยเฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ 400 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น ในขณะที่คนเราต้องการปริมาณแคลเซียมโดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน

 

ทั้งนี้ หากร่างกายมีอาการขาด แคลเซียม ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะก่อให้เกิด โรคกระดูกพรุน กระดูกบางเปราะและแตกได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณที่สำคัญอย่างสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เช่น วิงเวียน เหนื่อยง่าย เล็บบางและรุนแรงไปจนถึงกระดูกแตกง่าย เป็นต้น

 

นพ.สุชาติ เลาหบริพัทธ์

 

นพ.สุชาติ เลาหบริพัทธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในทุกวัย รวมถึงวัยทำงาน ด้วยการเลือกทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ในแต่ละวัน ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม อาทิ

 

  • การออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  • นอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • พยายามหลีกเลี่ยงการโหมงานหนักจนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การนั่งอยู่กับหน้าจอคอมเป็นระยะเวลานาน
  • ลดหรือเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ ชา หรือ กาแฟ ที่เป็นพฤติกรรมอันตรายที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

 

 

ทั้งนี้อาหารเสริมหรือแคลเซียมเสริม ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนในวัยทำงานควรใส่ใจเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายเราได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมาะกับประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละวัน คุณหมอแนะนำให้ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อความแน่ใจว่ามวลกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติตามอายุ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

 

นพ.สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา

 

ด้าน นพ.สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด แนะวิธีการเลือกเสริมแคลเซียมให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนทำงาน ด้วยเครื่องดื่มวิตามินแคลเซียมในรูปแบบน้ำที่นอกจากจะได้ แคลเซียม ถึง 200 มิลลิกรัม ดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย แล้วยังได้เติมความสดชื่นระหว่างวัน สามารถดื่มทดแทนน้ำเปล่าได้ ทั้งยังพบว่าสามารถในการละลายที่ดีมากทั้งในกระเพาะอาหารและในลำไส้เล็ก เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นแบบ Chelate’s complex structure ซึ่งมีความแข็งแรงและช่วยให้แคลเซียมไม่แตกตัวในกระเพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรดและสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กที่มีสภาพเป็นด่างได้จนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพราะ แคลเซียม ในรูปแบบอื่นๆ นั้นมักจะเกิดการแตกตัวในกระเพาะอาหารและจะตกตะกอนในลำไส้เล็กทำให้เกิดการดูดซึมที่น้อยกว่า และยังสามารถถูกดูดซึมเข้ากระดูกได้ดี เนื่องจากสัดส่วนของแคลเซียม เท่ากับ 1:3 ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับในกระดูก

 

 

ฉะนั้น การดื่ม แคลเซียม วอเตอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้าง แคลเซียม และแร่ธาตุสำคัญๆ ให้กับร่างกายจึงมีส่วนช่วยให้โอกาสในการเกิด โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบางก่อนวัยอันควรลดลง การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนอกจากช่วยเสริมสร้างกระดูกแล้ว ยังช่วยในการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท แคลเซียมที่อยู่ในกระแสเลือดและในเซลล์มีหน้าที่ควบคุมการส่งกระแสประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของเซลล์โดยมีฮอร์โมนสองชนิดทำหน้าที่ปรับสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด