ไลฟ์สไตล์

ทันตแพทย์ ตอบชัด 'เจลซ่อมฟัน' อันตรายถึงชีวิต ห้ามใช้เด็ดขาด

ทันตแพทย์ ตอบชัด 'เจลซ่อมฟัน' อันตรายถึงชีวิต ห้ามใช้เด็ดขาด

05 พ.ย. 2566

ทันตแพทย์ ตอบชัด 'เจลซ่อมฟัน' ซึ่งกำลังเป็นกระแส มีการซื้อขายอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ในตอนนี้ ใช้แล้วจะเกิดโทษอย่างไร และอันตรายร้ายแรงแค่ไหน

การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฟันมีหน้าที่สำคัญในการบดเคี้ยวอาหารส่งต่อไปยังอวัยวะภายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และในด้านความสวยงามหากมีสุขภาพฟันที่ดีก็จะช่วยเสริมต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพฟันให้ดีอยู่เสมอ ทั้งนี้ ทพญ.วรนันต์ วนานันต์ ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ ศูนย์ทันตกรรม (Dental Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้มาตอบข้อสังสัยเกี่ยวกับเรื่อง เจลซ่อมฟัน ซึ่งกำลังเป็นกระแส มีการซื้อขายอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ในตอนนี้

 

ทพญ.วรนันต์ วนานันต์

 

 

  • เจลซ่อมฟัน อุดชั่วคราว คืออะไร?

ลักษณะเป็นเม็ดขาวขุ่น เมื่อผ่านความร้อน หรือน้ำร้อน จะละลายกลายเป็นเจลใส สามารถปั้นแต่งเป็นก้อนได้ อย่างไรก็ตาม วัสดุดังกล่าว ไม่ผ่านการรับรองทางการแพทย์ และไม่ควรนำมาใช้ในช่องปากเป็นอย่างยิ่ง

 

  • ใช้ เจลซ่อมฟัน แล้วจะเกิดโทษอย่างไรและอันตรายร้ายแรงแค่ไหน?

จากที่ทางคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการส่งตัวอย่างเม็ดอุดฟันไปตรวจส่วนประกอบ พบว่า มีส่วนผสมของโลหะหนัก ตะกั่ว สังกะสีและสารหนู และที่อุณหภูมิ 60 องศา เช่น หากรับประทานอาหารร้อน จะมีการปลดปล่อยสารโลหะหนักออกมาสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย อาจทำให้เกิด อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ภูมิแพ้ หอบหืด หายใจติดขัด ท้องเสีย คลื่นไส้

 

การติดเจลซ่อมฟันในปาก โดยไม่สามารถถอดออกได้ เป็นระยะเวลานานทำให้เหงือกอักเสบ ฟันผุบริเวณฟันข้างเคียง นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงที่เจลอุดฟันเหล่านี้จะหลุดลงคอ หลอดลม ติดขัดทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

 

ทันตแพทย์ ตอบชัด \'เจลซ่อมฟัน\' อันตรายถึงชีวิต ห้ามใช้เด็ดขาด

 

  • การรักษาโรคเกี่ยวกับฟันที่ถูกต้อง

การรักษาโรคในช่องปากและฟันมีได้หลายวิธีขึ้นอยู่อาการของโรค ซึ่งควรต้องพบทันตแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง เพื่อการรักษาที่ถูกวิธี ในบางกรณีจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสี หากทันตแพทย์ประเมินว่าสามารถทำการรักษาโดยการอุดฟัน จะมีการกำจัดฟันส่วนที่ผุ และอุดฟันด้วยวัสดุที่ปลอดภัยสามารถใช้ได้ในช่องปาก ในกรณีที่ฟันไม่สามารถบูรณะได้ ต้องถอนฟันออกไป ก็ควรได้รับการใส่ฟันปลอมทดแทน ที่ทำขึ้นโดยทันตแพทย์

 

ทันตแพทย์ ตอบชัด \'เจลซ่อมฟัน\' อันตรายถึงชีวิต ห้ามใช้เด็ดขาด

 

  • คำแนะนำในการรักษาฟัน

ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับฟันและช่องปากควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย รักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อ และไม่ควรซื้อวัสดุต่างๆ ตามท้องตลาดมารักษาฟันด้วยตัวเองอย่างยิ่ง การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเอง เริ่มต้นที่รักษาความสะอาดในช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธีด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นประจำทุกวันร่วมกับใช้ไหมขัดฟัน  หมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน -1 ปี เพื่อตรวจเช็คฟัน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันหรือช่องปาก สามารถสอบโทร.0-2483-9999 I Line: @navavej