ไลฟ์สไตล์

'แขนขาอ่อนแรง' อาจไม่ใช่ความเสียใจ หรือ เครียด แต่อาจเป็นสัญญาณจาก โรคร้าย

'แขนขาอ่อนแรง' อาจไม่ใช่ความเสียใจ หรือ เครียด แต่อาจเป็นสัญญาณจาก โรคร้าย

18 มี.ค. 2567

'แขนขาอ่อนแรง' ไม่ใช่แค่อาการจากความเสียใจหรือเครียด อาจเป็นสัญญาณเตือน 'โรคร้าย' และความผิดปกติของสุขภาพ

แขนขาอ่อนแรง เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยบางคนอาจเคยได้ยินคำว่า "เสียใจจนแขนขาอ่อนแรง" ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งมาจากความเครียด หรือเสียใจมากเพราะความผิดหวัง หรือสถานการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น เช่นถูกคนอื่นมานั่งเก้าอี้สุดหวงจนรู้สึกว่าแขนขาอ่อนแรง แต่รู้หรือไม่ว่าอาการ แขนขาอ่อนแรง เป็นสัญญาณบ่งบอกของบางโรคเช่นกัน

 

1. โรคหลอดเลือดสมอง 

 

ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้สมองบริเวณดังกล่าวเกิดการบาดเจ็บ หรือขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เซลล์สมองเสียหาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น ปากเบี้ยวหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก หรือเดินเซ เป็นต้น โดยสามารถเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป และพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมตามวัยและหลายปัจจัย

2. ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส 

 

ในผู้ป่วย ซิฟิลิสระยะที่ 3 หลังจากอยู่ในระยะโรคสงบหรือระยะแฝงนาน 2 ปีขึ้นไป หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา จะแสดงอาการของโรคในระยะท้าย มักเกิดในช่วง 12-40 ปีหลังจากติดเชื้อ ระยะนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคซิฟิลิสของระบบหัวใจและหลอดเลือด ในระยะสุดท้ายนี้สามารถเกิดโรคของซิฟิลิสของระบบประสาทร่วมได้ด้วยซึ่งจะมีความรุนแรงสามารถทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้

 

ลักษณะอาการ รอยโรคเป็นผื่นนูนสีแดงเข้ม ใต้ผิวหนัง ไม่เจ็บและไม่มีอาการคัน อาจพบแผลหรือฝีบริเวณรอยโรคได้ ตำแหน่งที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ศีรษะ ก้น กลางอก เหนือไหปลาร้า เชื้อจะเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมองและหลอดเลือดใหญ่ อย่างช้าๆ ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดเลือดใหญ่อักเสบ ความจำเสื่อม แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ลิ้นหัวใจรั่ว และเสียชีวิตในที่สุด

3. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการปวดหลัง หากเส้นประสาทเกิดการอักเสบจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขา ชาขา แต่ถ้าไปกดทับที่เส้นประสาทเลย จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงชัดเจน โดยปกติแล้วหลังจากที่เกิดการอักเสบที่เส้นประสาทจะทำให้ปวดมากในช่วงแรกๆ แต่อีกประมาณ 2 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นแต่จะยังเหลืออาการปวดตึงๆ อยู่

 

4. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง 

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ จากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาทำร้ายตัวเอง ส่งผลให้เส้นประสาทที่เคยทำงานปกติกลับทำงานผิดพลาด ไม่สามารถส่งสัญญาณได้ จึงเกิดอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อต่างๆ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเพศหญิง

 

5. ไทรอยด์เป็นพิษ 

 

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเหตุไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต้นแขน (ไหล่) ต้นขา (สะโพก) ลุกขึ้นยืนหยิบของบนชั้นสูงลำบาก เดินขึ้นบันไดหรือลุกขึ้นจากการนั่งยองๆลำบาก ร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ อาจมีอาการตะคริว หรือกล้ามเนื้อกระตุกได้ โดยพบร่วมกับภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (โรคไทรอยด์เป็นพิษ)

 

6. โพแทสเซียมต่ำ

 

โรคอัมพาตเหตุโพแทสเซียมต่ำ คือ โรคที่ก่อให้เกิดอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คล้ายอัม พาต เป็นๆ หายๆ โดยอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว รุนแรง จนเคลื่อนไหวแขนขาลำ บาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้

 

ต่อมาอาการก็หายได้เอง ถึงแม้จะไม่ได้รักษาใดๆ อาการอ่อนแรงนั้นจะเป็นลักษณะของแขนขา 2 ข้างอ่อนแรง โดยไม่มีอาการชา และไม่มีอาการปากเบี้ยว หรือหลับตาไม่สนิท เหมือนอาการของอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง

 

ทั้งนี้อาการมักเกิดภาย หลังทานอาหารมื้อใหญ่ เช่น งานเลี้ยง ทานอาหารรสเค็มจัด หรือการทำงานหนัก อาการมักเกิดขึ้นหลังตื่นนอนตอนเช้า จะลุกขึ้นไม่ได้ แต่เมื่อนอนพักประมาณ 12-24 ชั่วโมง อาการก็ค่อยๆดีขึ้น หายเป็นปกติได้เอง