ไลฟ์สไตล์

4  สัญญาณเตือน 'โรคข้อเข่าเสื่อม' ใน 'ผู้สูงอายุ' ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

4 สัญญาณเตือน 'โรคข้อเข่าเสื่อม' ใน 'ผู้สูงอายุ' ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

21 มี.ค. 2567

ลุกก็โอย นั่งก็โอย อาจเป็นสัญญาณเตือนของ 'โรคข้อเข่าเสื่อม' ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากใน 'ผู้สูงอายุ' ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง

รศ.พ.ท.นพ.บุระ สินธุภากร ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า ซึ่งปกติแล้วผิวกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าเรียบลื่น ไม่ติดขัด และทำหน้าที่เป็นส่วนรองรับน้ำหนักของร่างกาย เพราะฉะนั้น หากข้อเข่าเริ่มเสื่อมจะก่อให้เกิดอาการข้อฝืด รู้สึกติดขัดในตอนเช้าหรือตื่นมาแล้วขยับเข่าได้ไม่ดี มีอาการปวด ข้อเข่าบวม และมีเสียงกร๊อบแกร๊บรู้สึกอ่อนแรง

 

รศ.พ.ท.นพ.บุระ สินธุภากร

 

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการ ข้อเข่าเสื่อม แบ่งเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่

 

  • อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งเสี่ยงเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม มากขึ้น
  • เพศ พบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็น ข้อเข่าเสื่อม มากกว่าเพศชาย
  • การใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ
  • โรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น เช่น รูมาตอยด์

 

การรักษา โรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะพิจารณาถึงอาการและความรุนแรงที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า โดยการรักษามีหลายวิธี ตั้งแต่การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินอาหารเสริมบำรุงข้อเข่า การรักษาด้วยยาเพื่อลดอาการอักเสบของข้อเข่า การทำกายภาพร่วมกับการกินยา การฉีดยาที่ข้อเข่าซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น ฉีดน้ำเลี้ยงขข้อเข่า ฉีดเกร็ดเลือด เป็นต้น และวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ข้อเข่าเสื่อม รุนแรง

 

เดิมทีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะใช้วิธีเปิดแผลใหญ่ ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร โดยศัลยแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและกำหนดตำแหน่งในการใส่ผิวข้อเทียม ซึ่งจากลักษณะการผ่าตัด พบว่ายังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น การตัดสินใจของศัลยแพทย์ รวมถึงการเปิดแผลใหญ่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดหลังผ่าตัดและฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า

 

4  สัญญาณเตือน \'โรคข้อเข่าเสื่อม\' ใน \'ผู้สูงอายุ\' ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

 

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Rosa Knee ซึ่งประกอบไปด้วยแขนกล 2 แขน คอยควบคุมและกำหนดตำแหน่งในการตัดแต่งเตรียมผิวข้อเข่า ช่วยวัดอุปกรณ์และขนาดของข้อเข่าเทียม รวมถึงมีซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนและจำลองการผ่าตัดล่วงหน้า ทำให้การผ่าตัดมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่เหมือนเมื่อก่อน และไม่จำเป็นต้องรุกล้ำภายในช่องกระดูก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดและเสียเลือดมาก ดังนั้น สิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ ได้แก่

 

  • ความแม่นยำสูง : แขนกลหุ่นยนต์ช่วยให้แพทย์ผ่าตัดได้แม่นยำ ลดโอกาสผิดพลาด
  • แผลผ่าตัดเล็ก : แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
  • เลือดออกน้อย : เลือดออกน้อยกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
  • เจ็บปวดน้อย : ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง
  • ฟื้นตัวเร็ว : ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ใช้เวลาพักฟื้นสั้นลง สามารถลุก ยืน เดินได้ภายใน 12 ชั่วโมง
  • การเคลื่อนไหวดีขึ้น : ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม แพทย์แนะวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ ข้อเข่าเสื่อม เร็วขึ้น เช่น ควบคุมน้ำหนัก เพราะน้ำหนักมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่าทุกๆ 1 กิโลกกรัมที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักจะไปอยู่ที่ข้อเข่าประมาณ 4%, หลีกเลี่ยงการใช้งานผิดประเภท เช่น หิ้วของหนักๆ แล้วเดินไกล นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบเป็นเวลานาน, และระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น ข้อเข่าบิดหรือพลิกจากการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย เป็นต้น