เปิด 5 สัญญาณเตือน! หากขาดสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย สุขภาพเราจะเป็นอย่างไร?
อย่ามองข้าม! ลองตรวจเช็กสำรวจร่างกายของคุณให้ดีหากมี 5 อาการเหล่านี้ คุณอาจจะตกอยู่ในสภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายก็เป็นได้ และถ้าร่างกายขาดเกลือแร่สุขภาพของเราจะเป็นอย่างไร? สาเหตุการขาดเกิดแร่เกิดจากอะไรและควรป้องกันและแก้ไขอย่างไร?
เกลือแร่คืออะไร? คือแร่ธาตุที่ช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุต่างๆ มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มพลังงาน แร่ธาตุและน้ำในร่างกาย โดยในแต่ละวันร่างกายต้องการเกลือแร่ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างเป็นปกติ
ชนิดของเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีอะไรบ้าง?
- 1. เกลือแร่หลัก (Macro minerals) กลุ่มของแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมขึ้นไแคลเซียม(Calcium),ฟอสฟอรัส(Phosphorus), โพแทสเซียม(Potassium),แมกนีเซียม(Magnesium), โซเดียม (Sodium),กำมะถัน (Sulphur)และคลอไรด์ (Chloride)
- 2. เกลือแร่รอง (Trace minerals) กลุ่มของแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม แต่แร่ธาตุกลุ่มนี้ก็ยังคงมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เหล็ก(Iron),สังกะสี(Zinc),ซีลีเนียม(Selenium),ทองแดง (Copper),ไอโอดีน (Iodine),โคบอลท์ (Cobalt),ฟลูออไรด์ (Fluoride)
แล้วอะไรคือภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย?
เป็นภาวะที่อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุล (Electrolyte Imbalance)ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณของอิเล็กโทรไลต์ที่มากหรือน้อยจนเกินไป อิเล็กโทรไลต์เป็นชื่อที่ใช้เรียกแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับของเหลวในร่างกาย และช่วยให้ระบบที่สำคัญอื่น ๆ ทำงานได้อย่างปกติ เมื่ออิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุลจะส่งผลต่อร่างกายเราอย่างชัดเจน
เกิดอะไรขึ้น...หากขาดสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย?
การขาดสมดุลเกลือแร่สามารถพบได้ในคนที่สูญเสียน้ำในร่างกายมาก เช่น เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย อาเจียนหรือท้องเสีย เป็นต้น หากร่างกายเสียสมดุลเกลือแร่ในปริมาณมาก อาจมีอาการแสดงเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงจนก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ตัวอย่างอาการแสดงต่างๆ ได้แก่
- -รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- -เกิดอาการชักเกรง
- - ปากแห้ง ปากซีด ผิวแห้ง
- - ปัสสาวะน้อยผิดปกติ
- -หัวใจเต้นผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อนของ Electrolyte Imbalance
ภาวะไม่สมดุลของแร่ธาตุอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ นอกเหนือจากภาวะและอาการของ Electrolyte Imbalance ได้ อย่างภาวะขาดน้ำ ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง กล้ามเนื้อหดตัว เป็นตะคริว ไตวายหรือบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน และอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและการทำงานของหัวใจอีกด้วย
สาเหตุของ Electrolyte Imbalance
ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยมักเกิดจากการได้รับแร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์น้อยหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งภาวะของแร่ธาตุไม่สมดุลที่อาจทำให้เกิด Electrolyte Imbalance อาจมีดังนี้
- ภาวะโซเดียมในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะคลอไรด์ในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะเลือดเป็นกรดหรือด่าง (Acidosis)
โดยภาวะเหล่านี้อาจเกิดจากโรค หรือการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อระดับของเหลวในร่างกาย เช่น ท้องร่วง อาเจียน โรคมะเร็ง โรคไต โรคเบาหวาน โรคพิษสุรา กลุ่มโรคการกินผิดปกติ ภาวะตับแข็ง หัวใจวาย บาดเจ็บจากแผลไหม้อย่างรุนแรง การใช้ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ หรือยาเคมีบำบัด รวมถึงการทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมากจนเกินไป เป็นต้น
การรักษาและป้องกันภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย
การรับประทานเกลือแร่หรืออาหารเสริม หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ และไม่ควรซื้ออาหารเสริมมารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ส่วนการป้องกันภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ทำได้โดย ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีอิเล็กโทรไลต์และคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบเมื่อเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ใช้เวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป โดยการดื่มน้ำเปล่ากับเครื่องดื่มเกลือแร่ในเวลาใกล้เคียงกันอาจทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องดื่มลดลงดื่มหรือจิบน้ำทุก ๆ 20 นาทีในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอต่อวันปัสสาวะสีเหลืองคล้ายสีของฟางแบบจาง ๆ และใส อาจบ่งบอกว่าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ผู้ที่มีอาการท้องร่วงหรืออาเจียน ควรดื่มน้ำเพื่อชดเชยของเหลวที่สูญเสียไป และหากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องผู้ที่ใช้ยาที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อปรับชนิดหรือปริมาณ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของยาหากน้ำหนักลดหรือเพิ่มหลังออกกำลังมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ควรไปพบแพทย์หากมีอาการคล้ายกับภาวะ Electrolyte Imbalance ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย
ข้อมูลที่มา bumrungrad / pobpad /bangpakok1 /vinmec