ไลฟ์สไตล์

รู้ให้ลึก "โรคลมแดด" คืออะไร? เกิดได้กับทุกคน เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด

รู้ให้ลึก "โรคลมแดด" คืออะไร? เกิดได้กับทุกคน เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด

19 มิ.ย. 2567

จากกรณีที่มีนักแสวงบุญเสียชีวิตในพิธีฮัจญ์ไปแล้วอย่างน้อย 550 ราย สาเหตุหลักเกิดจากอากาศที่ร้อนจัด มารู้ให้ลึกเกี่ยวกับ "โรคลมแดด" ที่เกิดได้กับทุกคน และวิธีป้องกันดูแลตัวเอง และมีกลุ่มเสี่ยงกลุ่มไหนบ้างที่จะเกิดอาการโรคลมแดด 

 

จากกรณีที่มีการรายงาน จากสำนักข่าวเอเอฟพี อ้างข้อมูลจากพวกเจ้าหน้าที่ทูต ระบุในวันอังคาร (18 มิ.ย.)ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตในพิธีฮัจญ์ไปแล้วอย่างน้อย 550 ราย ในนั้น 323 รายเป็นชาวอียิปต์ และเกือบทั้งหมดเสียชีวิตสืบเนื่องจากอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับความร้อน  โดยคาดปีนี้มีผู้ร่วมงานมากกว่า 1.8 ล้านคน เนื่องจากมีคนเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก โดยสภาพอากาศร้อนจัดในปี 2024 อุณหภูมิที่ทะลุ 40 และสูงไปถึง 50  องศาเซลเซียส ทำให้ผู้แสวงบุญหลายคนเป็นลมระหว่างเดินเท้า ทั้งนี้เมื่อปีที่ 2023 ข้อมูลจากหลายประเทศชี้ว่า มีผู้เสียชีวิตระหว่างประกอบพิธีฮัจย์อย่างน้อย 240 คน 

 

ซึ่งเวลานี้ซาอุดีอาระเบียกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนจัด เหตุจาก สภาวะโลกร้อนในปัจจุบันส่งผลให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายประเทศทั่วโลก มีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส หากร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ จนทำให้มีความร้อนสะสมสูงจนเกินไป อาจทำให้เป็นโรคที่มาจากความร้อนชนิดต่างๆ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke)  


 

รู้ให้ลึก \"โรคลมแดด\" คืออะไร? เกิดได้กับทุกคน เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด

 

 

ซึ่งอาการที่เกิดกับนักแสวงบุญอย่างน้อยหลายร้อยราย ต้องจบชีวีตลงอย่างน่าเศร้า ระหว่างร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ในนครเมกกะ ท่ามกลางสภาพอากาศอันร้อนระอุ จะมีอาการดังนี้  คือ อุณหภูมิร่างกายจะสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ได้แก่ ลุกลี้ลุกลน พูดช้า สับสน ชัก เพ้อ หมดสติ ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ ตัวอย่างเช่น การอยู่ในสถานที่ร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังและหน้าเปลี่ยนเป็นสีออกแดง เหนื่อย หายใจเร็ว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ รวมถึงมีอาการปวดศีรษะ บางรายมีปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ โรคลมแดดหากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการโดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้มากกว่า 2 ชั่วโมง จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่ออวัยวะภายใน อาทิ หัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ โดยหากได้รับการรักษาล่าช้าก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

 

 

รู้ให้ลึก \"โรคลมแดด\" คืออะไร? เกิดได้กับทุกคน เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด

 

 

ช่วงสภาพอากาศที่ร้อนจัดแบบนี้ แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อสุขภาพของเราทั้งภายในและภายนอก ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายร่างกาย อารมณ์แปรปวนหงุดหงิดง่าย ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่น และสามารถก่อให้เกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) โดยเฉพาะคนที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน หากร่างกายมีอุณหภูมิสะสมสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส จะส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลวจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคลมแดด (Heat Stroke) สามารถแบ่งตามสาเหตุทีเกิดได้ 2 ประเภท คือ

 

  • โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (Classic Heat Stroke or Non–exertional Heat Stroke) เกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงนานเกินไป ส่วนมากมักพบในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำ (Dehydration) ได้ รวมถึงผู้ที่มีการใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่ เช่น ยากลุ่มกระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด (Vasoconstrictors) ยาลดความดันหรือรักษาโรคหัวใจ (Beta – Blockers) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) และยาทางจิตเวชบางกลุ่ม (Antidepressants, Antipsychotics และ Psychostimulants) หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
  • โรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (Exertional Heat Stroke) เกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจากการทำงานหรือการออกกำลังกายอย่างหนักในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง มักเกิดกับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน รวมถึงการสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาและมากเกินไป จนเหงื่อระเหยและระบายความร้อนได้ยาก มักเกิดร่วมกับสภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

รู้ให้ลึก \"โรคลมแดด\" คืออะไร? เกิดได้กับทุกคน เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่มักเกิดอาการโรคลมแดด (Heat Stroke) เมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ช้า ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว และเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำได้ง่าย

 

  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินค่ามาตรฐานหรือมีภาวะเป็นโรคอ้วน

 

  • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬา  เกษตรกร เป็นต้น

 

  • ผู้ที่ทำงานออฟฟิศที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศได้ทัน

 

  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนปกติ และในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้

 

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ โดยจะมีความเสี่ยงและมีโอกาสเกิดอาการเป็นลมแดดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป หากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัด จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูง ทำให้ร่างกายขับเหงื่อมากกว่าปกติ จนเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดข้น และกระตุ้นให้การหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดได้

 

 

รู้ให้ลึก \"โรคลมแดด\" คืออะไร? เกิดได้กับทุกคน เมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนจัด

 

 

ส่วนวิธีดูแลตนเองเมื่อต้องอยู่สภาวะอากาศที่ร้อนจัด เพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดด สามารถปฏิบัติดังนี้

  • ดื่มน้ำหรือจิบน้ำในระหว่างวันให้มากๆ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้รู้สึกกระหาย เพื่อชดเชยเหงื่อที่ถูกขับออกมาตามผิวหนัง ช่วยในการระบายความร้อนให้กับร่างกาย และป้องกันการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ

 

  • ลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการอาบน้ำที่อุณภูมิปกติ (ประมาณ 32 องศาเซลเซียส) เนื่องจากน้ำเป็นตัวกลางนำความร้อนที่ดีในการช่วยลดความร้อนให้กับร่างกาย โดยสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ (Essential oil) เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย (Aromatherapy)

 

  • ระหว่างวันสามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นที่ผสมน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ (Essential Oil) หรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมพ่นละอองน้ำ เพื่อช่วยระบายความร้อน

 

  • หากรู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือต้องการความสดชื่นในระหว่างวัน สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการให้ความสดชื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ (Essential Oil) ได้

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้น้ำในร่างกายถูกขจัดออกได้มากกว่าปกติ แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ผสมน้ำตาลแทน เพราะน้ำผลไม้ไม่เพียงช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย แต่ยังให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ในระหว่างที่ร่างกายเสียเหงื่อได้ด้วย

 

  • สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ อาทิ ผ้าลินินหรือผ้าฝ้าย ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีดำ เพราะสีดำจะดูดความร้อนได้มากกว่าสีอื่นๆ รวมถึงไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เพราะทำให้การระบายเหงื่อได้ไม่ดี”