ไลฟ์สไตล์

ผลสำรวจชี้ "วัยแรงงาน" เผชิญความเครียด วิตกกังวล มีปัญหาสุขภาพจิต 42.7%

เปิดข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323  วัยแรงงานอายุ 20-59 ปี โทรปรึกษาความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน สูงอันดับ 1 ด้านผลสำรวจพบ! พนักงานมีปัญหาสุขภาพจิต 42.7%

จากข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 พบวัยแรงงานอายุ 20-59 ปี ขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน สูงอันดับ 1 รวมกว่า 6,337 สาย จากทั้งหมด 8,528 สาย สะท้อนความต้องการวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต

 

ผลสำรวจชี้ \"วัยแรงงาน\" เผชิญความเครียด วิตกกังวล  มีปัญหาสุขภาพจิต 42.7%

โดยการสำรวจสุขภาวะของคนทำงาน และปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร ปี 2566 พบพนักงานมีปัญหาสุขภาพจิต 42.7% ในจำนวนนี้มีภาวการณ์ฝืนทำงานแม้มีปัญหาสุขภาพจิต 27.5% ส่วนใหญ่เกิดจาก 5 สาเหตุ 

1.คิดว่าไม่มีใครทำงานแทนได้ 

2.มีงานด่วน 

3.กลัวผลกระทบกับผลการประเมิน 

4.ความจำเป็นด้านการเงิน 

5.รู้สึกว่ายังทำไหวไม่จำเป็นต้องหยุดทำงาน 

 

 

ผลสำรวจชี้ \"วัยแรงงาน\" เผชิญความเครียด วิตกกังวล  มีปัญหาสุขภาพจิต 42.7%

 

ที่สำคัญพบว่า พนักงานต้องการนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีในการทำงาน 6 เรื่อง 1.เพิ่มสวัสดิการด้านการรักษาสุขภาพกายและใจ 41.7% 2.อบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ 6.7% 3.เพิ่มสวัสดิการการลา 13.1% 4.ส่งเสริมการพูดคุยสื่อสารและรับฟังปัญหา 11.3% 5.สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร 10.1% 6.เพิ่มสวัสดิการทางการเงิน (ค่าตอบแทน อาหาร โบนัส) 6%

 

ผลสำรวจชี้ \"วัยแรงงาน\" เผชิญความเครียด วิตกกังวล  มีปัญหาสุขภาพจิต 42.7%

 

ส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญ คือ การดูแลพนักงานที่ดี ไม่เพียงเฉพาะแค่สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ (Physical environment) เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องดูแลสิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ (Psychological environment) ของพนักงานควบคู่ไปด้วย สิ่งสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดี ต้องครอบคลุมมิติทั้ง 5 ด้าน ที่เรียกว่า “GRACE” ประกอบไปด้วย 

 

  • G : Growth & Development การสนับสนุนด้านการเติบโตและพัฒนาการ 
  • R : Recognition การแสดงออกและการรับรู้ความสามารถและความสำเร็จ 
  • A : All for inclusion การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม 
  • C : Care for health & safety การดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย 
  • E : work-life Enrichment การมีนโยบายด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 

 

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจ ความรู้สึกถึงความสำเร็จ พนักงานรู้สึกว่าสามารถเติบโตได้ ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่เสริมสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดีให้แก่พนักงานได้

 

ผลสำรวจชี้ \"วัยแรงงาน\" เผชิญความเครียด วิตกกังวล  มีปัญหาสุขภาพจิต 42.7%

 

ข้อมูลที่มา- hfocus.org