ไลฟ์สไตล์

คนคิดมาก คิดเยอะเสี่ยงเป็น "โรคเครียดลงกระเพาะ" ปัญหาสุขภาพจากความคิด

คนคิดมาก คิดเยอะเสี่ยงเป็น "โรคเครียดลงกระเพาะ" มาทำความเข้าใจโรคนี้ให้มากขึ้น แม้ไม่รุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และยังส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย

โรคเครียดลงกระเพาะ มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อาจจะมีความเครียดมาก ความเครียดที่สะสมในแต่ละวัน ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อคิดมาก คิดเยอะจนเกินรับไหว อาจส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร หรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ ตัวการที่ไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะกำเริบ และส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย รวมถึงหากมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอาการอาจแย่ลงได้

 

 

คนคิดมาก คิดเยอะเสี่ยงเป็น \"โรคเครียดลงกระเพาะ\" ปัญหาสุขภาพจากความคิด

 

 

 

เครียดลงกระเพาะคืออะไร

เครียดลงกระเพาะ คือ ความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากความเครียด ส่งผลให้สมดุลของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไป กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น การเคลื่อนตัวของลำไส้ลดลง จนเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา

 

ทำไมเครียดแล้วลงกระเพาะ?

ระบบประสาทอัตโนมัติไปกระตุ้นต่อมหมวกไต ให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้นอนไม่หลับและหิว ความเครียดทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้หยุดชะงักลง

 

เครียดลงกระเพาะเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุหลักของเครียดลงกระเพาะเกิดจากความเครียดเข้าไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของทางเดินอาหารและลำไส้ ทำให้สมดุลของเชื้อแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลงไป เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ความเครียดยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อหลอดอาหารหด เกร็งตัว บิดตัวเพิ่มขึ้น เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้มีกรดเกินในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสียได้

 

 

คนคิดมาก คิดเยอะเสี่ยงเป็น \"โรคเครียดลงกระเพาะ\" ปัญหาสุขภาพจากความคิด

 

 

เครียดลงกระเพาะ รักษาได้ไหม?

โรคกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ยังมีอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

วิธีป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะ

  • ทานอาหารให้ตรงเวลา
  • ไม่ทานอาหารรสจัด
  • เลี่ยงของมัน ของทอด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดแอลกอฮอล์
  • ไม่เครียด

 

คนคิดมาก คิดเยอะเสี่ยงเป็น \"โรคเครียดลงกระเพาะ\" ปัญหาสุขภาพจากความคิด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม