ไลฟ์สไตล์

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย

11 ส.ค. 2567

อาการ มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน บางทีอาจป่วยเป็นโรคหลงตัวเองแบบไม่รู้ตัว มาทำความเข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนที่เรียกว่าเป็นผู้ป่วย

Narcissistic Personality Disorder: NPD คิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น คนอื่นจึงควรหมุนรอบตัวเขา ไม่ใช่เขาไปหมุนรอบตัวคนอื่น  มาทำความเข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนที่เรียกว่าเป็นผู้ป่วย 

 

 

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย

 

ภาวะสุขภาพจิตที่คนเราเห็นถึงความสำคัญของตัวเองสูงเกินไป ต้องการและเรียกร้องความสนใจ และต้องการให้ผู้คนชื่นชมมากจนเกินไป โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder: NPD) เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักจะมีลักษณะนิสัยที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง อยากให้คนอื่นยกย่องชมเชยและเห็นความสำคัญของตนเองมากจนเกินไป หลายคนอาจสงสัยว่าอาการแบบไหนเข้าข่ายโรคหลงตัวเองกันบ้าง เพราะบางพฤติกรรมเหล่านี้อาจแยกได้ยาก  

 

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย

 

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลงตัวเองจะแตกต่างจากบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะหากไม่ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษก็มักจะไม่มีความสุขหรือรู้สึกผิดหวัง โดยในระยะยาวมักส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว คู่รัก คนรอบข้าง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งตนเอง 

 

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย

 

คนที่มีพฤติกรรมนี้จะขาดความสามารถในการเข้าใจ หรือใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่น แต่ภายใต้หน้ากากแห่งความมั่นใจสุดขีดนี้ พวกเขาไม่มั่นใจในคุณค่าของตนเอง และรู้สึกไม่พอใจกับคำวิพากษ์วิจารณ์แม้จะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองทำให้เกิดปัญหาในชีวิตหลายด้าน เช่น ความสัมพันธ์ การงาน การเรียน หรือเรื่องการเงิน โดยทั่วไปแล้วคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองมักจะไม่มีความสุข และผิดหวังเมื่อพวกเขาไม่ได้รับสิทธิพิเศษ หรือความชื่นชมที่พวกเขาเชื่อว่าสมควรได้รับ

 

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย

ลักษณะ พฤติกรรมโรคหลงตัวเอง 

  • บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ต้องการเป็นคนสำคัญตลอดเวลา อยากเป็นที่สนใจจากคนอื่น
  • สนใจคนที่เปลือกนอก คนที่สำคัญ มีชื่อเสียง มีฐานะ ทำตัวน่าคบกับคนบางคน
  • ต้องการได้รับการยกย่อง ชื่นชมแบบมากจนเกินไป
  • รู้สึกว่าตัวเองสมควรได้รับสิทธิพิเศษ และการดูแลเป็นพิเศษ
  • คาดหวังที่จะได้รับการยอมรับว่าเหนือกว่าคนอื่นแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม
  • หมกมุ่นอยู่กับจินตนาการเกี่ยวกับความสำเร็จ อำนาจ ความฉลาดหลักแหลม ความสวย ความงาม ชื่อเสียง หรือ การมีคู่ครองที่สมบูรณ์แบบ
  • เชื่อว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น และเลือกคบคนในระดับเดียวกันเท่านั้น
  • วิพากษ์วิจารณ์ และดูถูกคนที่ตัวเองรู้สึกว่าไม่สำคัญ
  • คาดหวังความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และคาดหวังให้ผู้อื่นทำสิ่งที่ตัวเองต้องการโดยห้ามตั้งคำถาม ห้ามวิพากษ์วิจารณ์
  • อ่อนไหวกับคำวิพากษ์วิจารณ์ รับ Feedback จากคนอื่นไม่ได้
  • ใช้ประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
  • เข้มงวด ไม่รู้จักยืดหยุ่น
  • ไม่เต็มใจที่จะรับรู้ความต้องการ และความรู้สึกของผู้อื่น
  • อิจฉาคนอื่นและเชื่อว่าคนอื่นอิจฉาตัวเอง
  • มีพฤติกรรมหยิ่งผยอง อวดดี
  • เติมเต็มความรู้สึกขาดด้วยวัตถุ สิ่งของราคาแพง เช่น รถสปอร์ตหรูหรา ของใช้แบรนด์เนม ฯลฯ

 

ภายในที่แท้จริงของบุคลิกภาพ “หลงตัวเอง”

คนที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง แม้จะคิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ แต่ลึก ๆ แล้ว เป็นคนที่เห็นคุณค่าตัวเองในระดับต่ำ เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กว่าคนจะรักหรือจะมีเพื่อนได้ต้องมีเปลือก วัตถุ การพยายามเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นไปเพื่อรักษาภาพลวงตาที่ตนได้สร้างเอาไว้ แท้ที่จริงว่างเปล่า ไม่มีความสุข เศร้า สร้างเปลือกของความสุข พยายามเติมเต็มความรู้สึกขาดด้วยวัตถุ และการกด เหยียด ดูถูกคนอื่น

 

 

มั่นเกิน - คลั่งเกิน - วีนเกิน เข้าใจโรคหลงตัวเอง อาการแบบไหนเรียกป่วย