ไลฟ์สไตล์

เฝ้าระวัง “ฝีดาษลิง” หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศฉุกเฉินสาธารณสุขระดับโลก

เฝ้าระวัง “ฝีดาษลิง” หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศฉุกเฉินสาธารณสุขระดับโลก

16 ส.ค. 2567

ไทยเข้มเฝ้าระวัง “ฝีดาษลิง” กลุ่มแอฟริกา โดยเฉพาะดีอาร์ คองโก หลังระบาดหนักจน องค์การอนามัยโลก ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” แต่ไม่กักคนเดินทาง เพราะขณะนี้สธ.ไม่ได้ประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม  ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 กรณีกรณีองค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคฝีดาษวานร (MPox) ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกามีสถานะเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ ยังไม่มีมาตรการห้ามการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด แต่สำหรับผู้ที่เดินทางไปมากับประเทศที่เกี่ยวข้องนั้น นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่า จะต้องระมัดระวังและมีมาตรการดูแลควบคุม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่สุด

“สถานการณ์ของโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยสะสม 738 คน สำหรับปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567 ถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสม 140 คน เสียชีวิต 3 คน โดยผู้เสียชีวิตจะเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเอชไอวี ซึ่งภูมิคุ้มกันต่ำ กรณีที่เป็นผู้ป่วยทั่วไปสามารถหายเองได้ ทั้งนี้กรมควบคุมโรคมียา เวชภัณฑ์ เตรียมพร้อมทั้งหมด” นายสมศักดิ์ กล่าว

 

เฝ้าระวัง “ฝีดาษลิง” หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศฉุกเฉินสาธารณสุขระดับโลก

 

กรณีกรณีองค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคฝีดาษวานร (MPox) ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกามีสถานะเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ ยังไม่มีมาตรการห้ามการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด แต่สำหรับผู้ที่เดินทางไปมากับประเทศที่เกี่ยวข้องนั้น  จะต้องระมัดระวังและมีมาตรการดูแลควบคุม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่สุด “สถานการณ์ของโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยสะสม 738 คน สำหรับปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567 ถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสม 140 คน เสียชีวิต 3 คน โดยผู้เสียชีวิตจะเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเอชไอวี ซึ่งภูมิคุ้มกันต่ำ กรณีที่เป็นผู้ป่วยทั่วไปสามารถหายเองได้ ทั้งนี้กรมควบคุมโรคมียา เวชภัณฑ์ เตรียมพร้อมทั้งหมด” 

 

เฝ้าระวัง “ฝีดาษลิง” หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศฉุกเฉินสาธารณสุขระดับโลก

ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในสนามบินทุกแห่ง ด่านทางบก ทางน้ำ ทั้ง 69 ด่าน ถ้าใครเดินทางเข้ามาจากกลุ่มประเทศแอฟริกา โดยเฉพาะ ดีอาร์ คองโก ที่มีการระบาดของฝีดาษวานรตามที่องค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศ ก็จะมีการตรวจสอบด้วยการให้มารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ด่านฯ เพื่อช่วยดูแลว่ามีตุ่มหนอง มีอาการหรือไม่  และยังไม่จำเป็นต้องกักตัว เพราะประเทศไทยไม่ได้ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย หากผ่านด่านแล้วมีอาการ จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนเฝ้าระวัง

“ไม่ใช่ใครที่มาจากแอฟริกาแล้วต้องกักตัวทั้งหมด ยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ เพียงแต่เข้มงวดขึ้นในกลุ่มประเทศที่องค์การอนามัยโลกประกาศ ส่วนผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีการระบาดของmpoxเข้ามายังประเทศไทยก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ขอให้สังเกตตัวเอง หากมีอาการเข้าข่าย ให้รีบเข้ารับการรักษา ที่สำคัญ ขอให้แจ้งประวัติการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงกับแพทย์ด้วย”

 เชื้อที่ทำให้เกิดผู้ป่วยฝีดาษวานรในประเทศไทยตอนนี้ เป็นคนละตัวกับทางองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสายพันธุ์เคลด 1b ส่วนในไทยเป็นสายพันธุ์เคลด 2 อย่างไรก็ตาม ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของไทยมีศักยภาพสามารถตรวจแยกได้ทั้ง 2 สายพันธุ์ ขณะนี้หากพบผู้ป่วยยืนยันmpox ก็จะสุ่มตรวจสายพันธุ์ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่พบเคลด1ในไทย  อัตราการเสียชีวิตจากmpox สายพันธุ์เคลด 1b ที่องค์การอนามัยโลกประกาศอยู่ที่ราว 5 % แต่ในไทยที่เป็นสายพันธุ์เคลด 2 อยู่ที่ราว 1.3 % แต่ไม่ใช่ว่าคนปกติจะมีอัตราการเสียชีวิตนี้ เนื่องจากผู้เสียชีวิตในสะสม 11 รายนั้น 100 % เป็นผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ

 

เฝ้าระวัง “ฝีดาษลิง” หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศฉุกเฉินสาธารณสุขระดับโลก