ไลฟ์สไตล์

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

01 ก.ย. 2567

ทุกคนรู้หรือไม่ว่า ในชีวิตประจำวันของเรามีพฤติกรรมบางอย่างที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิด "มะเร็งกระเพาะอาหาร"  โดยที่เราไม่รู้ตัว แม้ว่าโรคนี้จะฟังดูไกลตัว แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) มีอุบัติการณ์เป็นอันดับที่ 5 ของโรคมะเร็ง ทั้งหมด และถือเป็น สาเหตุการตายอันดับที่ 3 จากการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทย มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 6 ในผู้ชาย และอันดับที่ 9 ในผู้หญิง โดยมีอุบัติการณ์ที่ 5 รายในประชากร 100,000 คน ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อย ในคนไทยแต่ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทย มักพบในระยะท้ายของโรค และมีการ พยากรณ์โรคที่ไม่ดี

 

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้น อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะ เมื่อมะเร็งมีขนาด ใหญ่ขึ้น จะเกิดการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด และรังไข่ได้

 

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในระยะแรกของโรคอาจไม่มีอาการแสดงที่เฉพาะและอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่ รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือ รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร คลื่นไส้เล็กน้อย ไม่อยากรับประทานอาหาร มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง มีเลือดปนในอุจจาระ อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้ ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ น้ำหนักตัวลดลง ปวดท้องหรืออาเจียน เป็นอาหารที่กินเข้าไป เนื่องจากมีการอุดตันของกระเพาะอาหาร กลืนติด หรือทานอาหารได้ลดลง อ่อนเพลีย

 

 

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรค

  • อายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุ 50–60 ปีขึ้นไป 
  • เป็นเพศชาย มีความเสี่ยงกว่าเพศหญิง
  • เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หรือเคยเป็นโรคกรดไหลย้อน
  • มีอาชีพหรือใช้ชีวิตประจำวันที่สัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิด

พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

1. ติดกินเค็ม ชอบอาหารแปรรูป  

กินเค็มไม่ใช่แค่ไตพัง ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารโดยไม่รู้ ลดระดับโพแทสเซียมในร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานลดลงตามไปด้วย 

ตัวอย่างอาหารรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูง 

  • อาหารหมักดอง อาหารที่ใส่สารดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง เนื้อเค็มตากแห้ง ปลาเค็ม ผักดอง 
  • อาหารที่ใส่ผงชูรสปริมาณมาก 
  • ขนมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น มันฝรั่งทอด มาม่า โจ๊กซองหรือโจ๊กถ้วย  
  • ซอสและเครื่องปรุงรส เช่น ซอสปรุงรส ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ ซอสหอยนางรม น้ำปลาร้า
  • อาหารจานด่วน และอาหารฟาสต์ฟู๊ด
  • อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง

 

2. ชอบกินปิ้งย่าง เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยความร้อนสูง

อาหารประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน หรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านความร้อนสูง ๆ อาจทำให้เราได้รับสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่า สารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon หรือ PAHs)  สารตัวนี้เกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ ทำให้เกิดเป็นควันที่เป็นพิษ แล้วลอยกลับขึ้นมาติดที่เนื้อสัตว์บนเตา พอกินมาก ๆ เข้าเป็นปริมาณมากจะสะสมในร่างกาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย 

 

 

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 

3. สายปาร์ตี้ ชอบดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด   

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีสารเอทานอล (Ethanol) พอเข้าสู่ร่างกายแล้วจะย่อยสลายกลายเป็นสารพิษทำลายเซลล์ มีชื่อว่า อะเซทแอลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะคนที่ดื่มหนักเกินกว่า 3 ดื่มมาตรฐานต่อวันขึ้นไป ความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหารจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

4. ไม่ชอบกินผักและผลไม้

การกินผักและผลไม้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด และมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย เพราะนอกจากจะมีใยอาหารแล้ว ยังมีสารต้านมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะผักผลไม้หลากสี  แต่ละวันควรเพิ่มการกินผักและผลไม้สดหลากสีให้มากขึ้น โดยพยายามกินให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ 

ตัวอย่างสารสีต่างๆ ในผักและผลไม้ 

  • สารสีแดง ในมะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ไลโคปีน (Lycopene) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด 
  • สารสีเหลืองหรือส้ม ในฟักทอง แครอท มีเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระ และอุดมไปด้วยวิตามินที่ต้านการเกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย 
  • สารสีเขียว ในคะน้า กวางตุ้ง ตำลึง บรอกโคลี หรือผักบุ้ง มีวิตามินซีและวิตามินเอ    
  • สารสีม่วง ในกะหล่ำสีม่วง มะเขือม่วง ชมภู่มะเหมี่ยว มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง       
  • สารสีขาว ในมะเขือขาวเปราะ ดอกแค ผักกาดขาว มีเบต้าแคโรทีนสูงเช่นเดียวกับสีเหลืองหรือส้ม 

 

5. ปล่อยให้น้ำหนักเกิน มีภาวะอ้วน

น้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์หรือภาวะอ้วน ทำให้เกิดกรดไหลย้อนเรื้อรังที่ส่วนบนของหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารอักเสบ ถ้าปล่อยให้อักเสบนานวันเข้าจะเพิ่มโอกาสให้กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในอนาคต โดยเฉพาะมะเร็งบริเวณส่วนต้นของกระเพาะอาหาร (Cardia)

 

เช็กเลย! มีพฤติกรรมแบบนี้หรือเปล่า เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

ที่มา hdmall.co.th  / nonthavej.co.th