ไขข้อสงสัย ใช้ "มือถือ" เป็นเวลานาน เสี่ยงโรค "มะเร็งสมอง" จริงหรือไม่
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่งานวิจัยล่าสุด ใช้มือถือเป็นเวลานาน ไม่มีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยง "มะเร็งสมอง"
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่งานวิจัยล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2567 ผลการศึกษาล่าสุด ของ ผลกระทบจาก มือถือ ต่อสุขภาพในระยะยาว จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเชิงคาดการณ์นี้บ่งชี้ว่า ผู้ที่ใช้เวลากับโทรศัพท์ (มือถือ) มากที่สุด ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิด มะเร็งสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง สูงกว่าผู้ที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือเพียงเล็กน้อย
โครงการ Cohort Study of Mobile Phone Use and Health (COSMOS) ได้ทำการศึกษาในผู้ที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ที่มีอายุ 30 ปี ครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 250,000 ราย ผู้เข้าร่วมจะตอบคำถามโดยละเอียดเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือของตน จากนั้นจึงติดตามผลผ่านทะเบียนมะเร็งเป็นเวลาเฉลี่ยมากกว่า 7 ปี เพื่อบันทึกเนื้องอกในสมองที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย
ประเมินผลกระทบจากคลื่นความถี่วิทยุ ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ อุปกรณ์เฝ้าดูเด็กอ่อน และเรดาร์ ต่อการเกิดมะเร็งสมอง รวมถึงมะเร็งต่อมใต้สมอง ต่อมน้ำลาย และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในเด็กและผู้ใหญ่
มาร์ค เอลวู้ด ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาโรคมะเร็ง จาก University of Auckland ที่นิวซีแลนด์ บอกกับรอยเตอร์ว่า ในการศึกษาไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ
การเกิดเนื้องอกในสมอง มะเร็งในสมอง ในกลุ่มผู้เข้าร่วม 10% ที่มีจำนวนชั่วโมงการใช้โทรศัพท์มือถือสูงสุดในชีวิตนั้นไม่แตกต่างจากการเกิดในกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ใช้โทรศัพท์มือถือน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้โทรศัพท์มือถือไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งในสมอง
ก่อนหน้านี้ อนามัยโลกและหน่วยงานสาธารณสุขระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้ระบุว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากคลื่นที่เกิดขึ้นจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ได้เรียกร้องให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์การอนามัยโลก ระบุให้อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้อยู่ในหมวด “สิ่งที่อาจให้ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมนุษย์” ตั้งแต่ปี 2011 และได้เรียกร้องให้ปรับปรุงการจัดประเภทของโทรศัพท์มือถือใหม่ทันทีที่ข้อมูลล่าสุดนี้ออกมา ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025
อ้างอิง : WHO