ไลฟ์สไตล์

เบื่อมากไม่อยากทำอะไร! แต่มันไม่ได้นะสิ! ลองใช้วิธีนี้รับรองเลิกเบื่อแน่

แม้ว่าความเบื่อหน่ายเป็นความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากจมอยู่กับความเบื่อหน่ายเป็นเวลานาน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียดออกมาเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด หรืออาจนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยได้ เปิดวิธีแก้เบื่อให้ได้ผล

ความเบื่อมักทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ากว่าปกติ และรู้สึกไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำอยู่ ความเบื่ออาจแสดงให้เห็นผ่านอาการทางกาย นำไปสู่ความเครีดยและเพิ่มโรคต่างๆ แม้ว่า ความเบื่อหน่ายมักเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและอาจหายได้เอง แต่บางครั้งหลายคนก็ต้องสรรหาสารพัดวิธีแก้เบื่อเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ส่วนใหญ่ ความเบื่อมักเกิดจากกิจกรรมที่ทำอยู่ไม่น่าสนใจ ไม่มีกิจกรรมให้ทำ หรือไม่ได้ใช้ความสามารถในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเกิดขึ้นเมื่อเราขาดแรงกระตุ้น เป้าหมาย และความท้าทายในชีวิต ซึ่งวิธีการแก้เบื่อที่เหมาะสมจึงควรเริ่มจากเข้าใจที่มาของความรู้สึกเบื่อนั่นเอง 

 

เบื่อมากไม่อยากทำอะไร! แต่มันไม่ได้นะสิ! ลองใช้วิธีนี้รับรองเลิกเบื่อแน่

ความเบื่อหน่ายเกิดจากอะไร?

ลักษณะและสาเหตุของความเบื่อหน่ายอาจแตกต่างกันไปตามความรู้สึกหรือสิ่งที่แต่ละคนพบเจอ ซึ่งการศึกษาชิ้นหนึ่งได้แบ่งลักษณะของคนเราเมื่อเกิดความเบื่อหน่าย นอกจากความรู้สึกของแต่ละคนแล้ว การแสดงออกถึงความเบื่อหน่ายอาจขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Cognitive Components) อาการทางกาย (Bodily Symptoms) และแนวโน้มของการกระทำ (Action Tendencies)

ในด้านการรับรู้ ความเบื่อมักทำให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ากว่าปกติ และรู้สึกไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำอยู่ ความเบื่ออาจแสดงให้เห็นผ่านอาการทางกายโดยไม่รู้ตัว เช่น พิงศีรษะไปด้านหลัง เอนตัวลงนอน หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่าปกติ และมักมีแนวโน้มด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น เหม่อลอย รู้สึกง่วงนอน นอนง่ายกว่าปกติ และหลีกหนีจากความเบื่อหน่ายด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรม หรือการหากิจกรรมอย่างอื่นที่น่าสนใจทำเพื่อแก้เบื่อ

สมองของคนเราเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่หลากหลายและซับซ้อน โดยธรรมชาติของสมองจะมีหน้าที่ส่วนหนึ่งที่คอยกระตุ้นให้เราทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และมีกลไกการให้รางวัล เราจึงรู้สึกดีใจและมีความสุขเมื่อทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ แต่หากไม่ได้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ กลไกของสมองอาจทำให้เราเกิดความรู้สึกในทางตรงกันข้าม เช่น รู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย

นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคสมองเสื่อม หรือโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเสี่ยงต่อการเกิดความเบื่อหน่ายและความเครียดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

 

เบื่อมากไม่อยากทำอะไร! แต่มันไม่ได้นะสิ! ลองใช้วิธีนี้รับรองเลิกเบื่อแน่

 

แก้เบื่ออย่างไรให้ได้ผล?

 

1. ยอมรับว่าตัวเองรู้สึกเบื่อ

คนส่วนมากมักแก้เบื่อด้วยการทำกิจกรรมอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและหลีกหนีจากความรู้สึกเบื่อหน่าย เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังเพลง หรือเล่นอินเทอร์เน็ต แต่วิธีการเหล่านี้อาจช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะสิ่งสำคัญสำหรับการแก้เบื่อคือการเข้าใจและยอมรับว่าตัวเองรู้สึกเบื่อเสียก่อน เพราะการเผชิญหน้าและไม่หลบเลี่ยงความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของความเบื่อหน่าย ซึ่งอาจช่วยให้เราหาวิธีแก้เบื่อได้อย่างเหมาะสม

 

2. ทำตามกิจวัตรประจำวันที่วางไว้

แม้จะฟังดูน่าเบื่อหน่ายและจำเจ แต่การทำตามกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองและจัดการกับสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันได้อย่างครบถ้วน ซึ่งการปรับเปลี่ยนมุมมองเพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำกิจวัตรประจำวันอาจช่วยให้เราหายเบื่อได้เร็วขึ้น 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตั้งเวลาตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลาทุกวัน 
  • ใส่ใจกับอาหารที่รับประทาน โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสร้างความแข็งแรงและช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
  • ผ่อนคลายความเครียดด้วยการฝึกสมาธิ (Mindfulness)
  • ใช้เวลานอกเหนือจากเวลาเรียนหรือทำงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคนในครอบครัว เช่น ทำงานบ้าน ทำสวน หรือนัดพบปะกับเพื่อนในช่วงวันหยุด

 

3. ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ

หากรู้สึกเบื่อ อาจลองหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่สนใจ หรือทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากเดิมเพื่อให้ไม่รู้สึกเบื่อ โดยอาจทำกิจกรรมที่สามารถทำได้ที่บ้าน เช่น การอ่านหนังสือ การวาดภาพ หรือการเล่นเกมฝึกสมอง อย่างการต่อจิ๊กซอว์ และครอสเวิร์ด (Crossword) หรืออาจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น การลงเรียนคอร์สทำอาหาร หรือเรียนภาษา ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้เบื่อได้ดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ให้กับคุณด้วย

 

4. สังเกตและบันทึกความรู้สึกในแต่ละวัน

การสังเกตและจดบันทึกความรู้สึกของตัวเองเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียดหรือเบื่อ เพราะจะช่วยให้เข้าใจถึงสาเหตุของความรู้สึกนั้น ๆ ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อน โดยจดบันทึกวัน เวลา สถานที่ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือกิจกรรมที่อาจทำให้รู้สึกเบื่อ และหากิจกรรมอื่นทำทดแทน

 

5. พูดคุยกับคนอื่นๆ

หากรู้สึกเบื่อ การพูดคุยกับคนที่รู้สึกสบายใจ อย่างคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท อาจช่วยให้คุณได้บอกเล่าและระบายความรู้สึกในใจได้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยทางโทรศัพท์ วิดีโอคอล หรือส่งข้อความผ่านโปรแกรมแชทออนไลน์ เพื่อสื่อสารและชวนกันทำกิจกรรมที่สนใจ ถือเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการเบื่อได้ดี

 

6. ปรึกษาแพทย์

หากพบว่าความเบื่อหน่ายเกิดจากภาวะความผิดปกติหรือโรคประจำตัวเรื้อรัง อย่างโรคซึมเศร้า ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการของโรคที่เป็นอยู่อย่างเหมาะสม เพราะอาจช่วยลดการเกิดอาการเบื่อ เครียด หรือวิตกกังวลได้

 

ที่มา www.pobpad.com 

ข่าวยอดนิยม