ไลฟ์สไตล์

กรมควบคุมโรคห่วง! น้ำท่วม ไข้ฉี่หนูพุ่งสูง คาดพีคสุดเดือน ต.ค.

กรมควบคุมโรคห่วง! น้ำท่วม ไข้ฉี่หนูพุ่งสูง คาดพีคสุดเดือน ต.ค.

12 ก.ย. 2567

กรมควบคุมโรคห่วง! สถานการณ์น้ำท่วม พบผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส หรือ ไข้ฉี่หนูพุ่งสูง คาดพีคสุดเดือน ต.ค. โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงสูง 17 จังหวัด

กรมควบคุมโรค เปิดเผยสถานการณ์น้ำท่วมเกิดในประเทศไทย ห่วงเรื่องสุขภาพพบผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส หรือไข้ฉี่หนูพุ่งสูงขึ้นปีนี้พบป่วยสะสมแล้ว 2,600 ราย เสียชีวิต 28 รายโดยมีผู้เสียชีวิตทุกเดือน เป็นช่วงขาขึ้นและคาดจะถึงจุดพีคเดือนต.ค. จึงต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงสูง 17 จังหวัด ภาคเหนือ ได้แก่ ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ เลย สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี ภาคใต้ได้แก่ ระนอง พังงา นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา พัทลุง กระบี่ สงขลา สุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ เชียงราย 

 

 

กรมควบคุมโรคห่วง! น้ำท่วม ไข้ฉี่หนูพุ่งสูง คาดพีคสุดเดือน ต.ค.

 

รวมถึงโรคเมลิออยด์หรือไข้ดิน พบผู้ป่วยสะสม 2,399 ราย เสียชีวิต 68 ราย พื้นที่ระบาดมากอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนะนำหลีกเลี่ยงเดินลุยน้ำย้ำโคลนหรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง ทานอาหารปรุงสุก หากมีไข้สูงต่อเนื่อง 3 วันและมีประวัติสัมผัสดินและน้ำให้รีบพบแพทย์ โดยเฉพาะเกษตรกรและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

กรมควบคุมโรคห่วง! น้ำท่วม ไข้ฉี่หนูพุ่งสูง คาดพีคสุดเดือน ต.ค.

รู้จักโรคฉี่หนู

โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์พาหะอย่างหนู สุนัข สุกร ม้า เป็นต้น ซึ่งจะปนเปื้อนในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง โดยเข้ามาสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีบาดแผล หรือรอยขีดข่วนหากต้องลุยน้ำหรือแช่ในน้ำนาน รวมถึงอาจเข้ามาทางเยื่อบุตา จมูก ปากได้เช่นกัน หากไม่รีบรักษาอาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้  โรคฉี่หนูคืออาการมักจะคล้ายโรคหวัด ผู้ป่วยจึงมักซื้อมายามารับประทานเองแทนที่จะรีบไปพบแพทย์ ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากมีอาการแนะนำให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์จะตรวจวินิจฉัยจากการซักประวัติ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ รวมถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ ตามความเหมาะสม อย่างการเอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจและนำไปสู่การรักษาโรคได้อย่างถูกวิธี

 

กรมควบคุมโรคห่วง! น้ำท่วม ไข้ฉี่หนูพุ่งสูง คาดพีคสุดเดือน ต.ค.