ไลฟ์สไตล์

หัวฝักบัวที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์

18 ก.ย. 2567

หัวฝักบัวที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์ โดยเจ้าแบคทีเรียตัวร้ายจะเข้าไปโจมตีปอด อาจลุกลามไปสู่การเป็นปอดติดเชื้อเรื้อรังได้

 

หากมองแค่วัตถุประสงค์การใช้งานโถสุขภัณฑ์ย่อมที่จะมีความสกปรกมากกว่า แต่ในความเป็นจริงในกรณีปกติทั่วไปจากการศึกษาพบว่า ผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจกับการล้างทำความสะอาดหัวฝักบัว เพราะผู้คนส่วนใหญ่คิดว่า ฝักบัวดูไม่น่าที่จะมีสิ่งสกปรกได้ การที่หัวฝักบัวอาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์นั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ แม้ว่าเราจะทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์กันบ่อย แต่หัวฝักบัวที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีกลับกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียได้ง่ายกว่า

 

หัวฝักบัวที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์

 

 

หัวฝักบัวที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์

 

เพราะอะไรหัวฝักบัวถึงมีแบคทีเรียเยอะกว่า

1. น้ำขัง หัวฝักบัวมีโครงสร้างที่ทำให้เกิดน้ำขัง ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย


2. รูพรุน วัสดุที่ใช้ทำหัวฝักบัวบางชนิดมีรูพรุนเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียได้อย่างดี


3. ตะกรัน คราบตะกรันที่เกาะตามหัวฝักบัวเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรีย


4. ความชื้น สภาพแวดล้อมในห้องน้ำที่ชื้นตลอดเวลาเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ

 

หัวฝักบัวที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์

อันตรายจากแบคทีเรียในหัวฝักบัว ไบโอฟิล์ม หรือ กลุ่มของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่รวมกัน มีโครงสร้างจากสารพอลิเมอร์ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น และปล่อยออกมานอกเซลล์ ยึดเกาะที่ผิวเพื่อทำหน้าที่เป็นชั้นปกป้องแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายใน รวมทั้งสร้างสภาวะที่เหมาะสม สะสมมากบริเวณหัวฝักบัวแบบโลหะและพลาสติก ซึ่งขณะที่เรายกฝักบัวขึ้นอาบน้ำ อาจสูดหายใจเอาละอองแบคทีเรียเหล่านี้เข้าไป และอาจทำให้เกิดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในคนที่ชื่อว่า Nontuberculous Mycobacterial (NTM) เมื่อเราสูดดมมากๆ แบบไม่รู้ตัว แบคทีเรียเหล่านี้ก็จะเข้าไปโจมตีปอดจนทำให้เกิดการอักเสบและถ้าไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจลุกลามไปสู่การเป็นปอดติดเชื้อเรื้อรังได้ ซึ่งสังเกตได้จากอาการ

1. ไอมีเสมหะ
2. เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
3. หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก
4. มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น
5. คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
6. อ่อนเพลีย
7. ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
8. เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ
ซึ่งระดับความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละราย

 

หัวฝักบัวที่ไม่ได้ทำความสะอาด อาจมีแบคทีเรียมากกว่าโถสุขภัณฑ์

 

สำหรับวิธีทำความสะอาดหัวฝักบัว มีดังนี้


1. ประเภทถอดได้ ให้ถอดออกมาแช่ในน้ำส้มสายชู 1 คืน แต่ถ้าเป็นประเภททองเหลืองหรือนิกเกิลให้แช่ไว้เพียง 30 นาทีเท่านั้น ล้างน้ำสะอาดและสวมกลับเข้าที่เดิม เปิดน้ำไล่คราบตะกรันสักครู่หลังจากนั้นนำแปรงสีฟันที่ไม่ใช้ขัดทำความสะอาดอีกครั้ง


2. ประเภทถอดออกไม่ได้ ให้เทน้ำส้มสายชูลงในถุงพลาสติก และนำไปครอบหัวฝักบัวไว้โดยใช้หนังยางรัดให้แน่น แช่ไว้ในน้ำส้มสายชู 1 คืน แต่ถ้าเป็นประเภททองเหลืองหรือนิกเกิลให้แช่ไว้เพียง 30 นาทีเช่นกัน จากนั้นเปิดน้ำไล่คราบตะกรันสักครู่ แล้วนำแปรงสีฟันที่ไม่ใช้ขัดทำความสะอาดอีกครั้ง